การออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (CU BEMS) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2020.17

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์พลังงานในสำนักงาน, เว็บแอปพลิเคชัน, การใช้เทคโนโลยีเพื่อโน้มน้าวใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงานระหว่างข้อมูลภาพ และข้อมูลรูปแบบแผนภูมิเชิงสถิติและเพื่อประเมินรูปแบบการสื่อสารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ และความต้องการใช้งานของผู้ใช้อาคาร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานภายในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 40 คน มีวิธีดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามวัดระดับแรงจูงใจ 5 ระดับ เพื่อประเมินแรงจูงใจต่อการลดพลังงานในอาคารสำนักงานจากการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันทั้ง 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบภาพเสมือนสัตว์เลี้ยง 2) รูปแบบภาพเสมือนระบบนิเวศในฟาร์ม 3) รูปแบบข้อมูลเชิงสถิติ โดยให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้รูปแบบละ 1 สัปดาห์รวมระยะเวลาในการทำวิจัยทั้งหมด 3 สัปดาห์

ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสารข้อมูลพลังงงานในสำนักงานควรประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนการให้ความรู้และคำแนะนำในการลดใช้พลังงาน 2) ส่วนการตรวจสอบ และติดตามผลพลังงาน 3) ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลพลังงาน 4) ส่วนการให้รางวัล 5) ส่วนแนะนำการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน 6) ส่วนการแจ้งเตือน เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าใช้เว็บแอปพลิเคชันติดตามผลการใช้พลังงาน ในสำนักงาน โดยเว็บแอปพลิเคชันทั้ง 3 รูปแบบ ส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เว็บแอปพลิเคชันรูปแบบภาพเสมือนสัตว์เลี้ยงมีผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงานมากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบภาพเสมือนระบบนิเวศในฟาร์ม และรูปแบบข้อมูลเชิงสถิติตามลำดับ ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าเว็บแอปพลิเคชันรูปแบบภาพเสมือนสัตว์เลี้ยงส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจมากที่สุด เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างสามารถเลือกประเภทของสัตว์เลี้ยงที่ตรงตามความชอบของตนเองได้จึงส่งผลต่อการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกได้ดีที่สุดโดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันรูปแบบผสมผสานระหว่างภาพและข้อมูลเชิงสถิติและวิเคราะห์ผลการใช้พลังงานจริงก่อนและหลังการทดลองใช้เว็บแอปพลิเคชันในการวิจัยครั้งต่อไป

References

Chao, H.F., Chang, J.H., & Wang, H.L. Information framing affects proenvironment decisions.Society for Personality and Social Phychology, 1(2010), 28-30.

Chen, H.M., Lin, C.W., Hsien, S.H., Chao, H.F., Chen, C.S., Shiu, R.S., YE, S.R., &Deng, Y.C. Persuasive feedback model for inducing energy conservation behaviors of building users based on interaction with virtual object. Energy & Building, 45 (2012), 106-115. doi: https://doi.org/10.1016/j.enbuild.2011.10.029

Downey, L. Group Usability Testing: Evolution in Usability Techniques. Journal of Usability Studies 2(2007), 133-144.

Escanillan-Galera. Evaluating on user experience and user interface (UX/UI) of EnerTrApp a mobile web energy monitoring system. Procedia Computer Science, 161 (2019), 1225-1232. doi: https://doi.org/10.1016/j.procs.2019.11.236

Fogg, B.J. Persuasive technology: using computers to change what we think and do. Elsevier Science & Technology, 1 (2003), 5-312. doi: https://doi.org/10.1145/274644.274677

Geller, E.S. The challenge of increasing proenvironmental behavior. Handbook of Environmental Psychology, 1 (2002), 525-540.

Global Gfk Survey. (2016). Pet ownership. Retrieved from https://cdn2.hubspot.net/hubfs/2405078/cms-pdfs/fileadmin/user_upload/country_one_pager/nl/documents/global-gfk-survey_pet-ownership_2016.pdf

Koop, S.H.A., Van Dorssen, A.J. & Brouwer, S. Enhacing domestic water conservation behavior:A review of empirical studies on influencing tactics. Journal of Environmental Management, 247 (2019), 867-876. doi: https://doi.org/10.1016/j.jenvman.2019.06.126

Yun, R., Scupelli, P., Aziz, A., & Loftness, V. Sustainability in the Workplace: Nine Intervention Techniques for Behavior Change. Persuasive, 7822 (2013), 253-265.

จุมพล ทุมมาวัด. (2555). แบบจำลองเว็บแอปพลิเคชั่นสำหรับการใช้งานมิเตอร์อัจฉริยะในโครงสร้างพื้นฐานระบบมิเตอร์ขั้นสูงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2558). โครงการลดใช้พลังงานในภาครัฐปีงบประมาณ 2558. จาก http://www.e-report.energy.go.th/KPI58M_files/EUIBook58.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-14

How to Cite

สินสมบูรณ์ชัย พ., & อิงคโรจน์ฤทธิ์ ว. (2020). การออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (CU BEMS) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 19(3), 97–116. https://doi.org/10.14456/bei.2020.17