การพัฒนาพื้นที่ย่านกาดหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สรวิศ เกียรติภัทราภรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤตพร ห้าวเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.8

คำสำคัญ:

การพัฒนาพื้นที่, ย่านกาดหลวง, ระบบกิจกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของพื้นที่ย่านกาดหลวงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และทำการวิเคราะห์ระบบกิจกรรมที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของคน กิจกรรม และพื้นที่ นำมาสู่เสนอแนะแนวการทางการพัฒนาพื้นที่ย่านกาดหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยอาศัยการเก็บข้อมูลจากการลงสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญและบุคคลทั่วไป รวมถึงสืบค้นข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการวิจัยพบว่าย่านกาดหลวงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลา โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของย่านจะมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ จากเดิมย่านกาดหลวงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญทางน้ำของเมืองเชียงใหม่ และด้วยสภาพที่ตั้งที่ติดอยู่กับริมแม่น้ำปิงจึงเอื้อต่อการติดต่อค้าขายทางเรือ ทำให้ในยุคเริ่มต้นย่านกลายเป็นแหล่งท่าเรือที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นจุดดึงดูดทำให้กลุ่มผู้คนที่หลากหลายเชื้อชาติเข้ามาในพื้นที่ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทั้งในด้านการค้าขาย หรือการเข้ามาปักหลักถิ่นฐาน ภายหลังย่านกาดหลวงได้ประสบเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่และได้รับการฟื้นฟู ส่งผลให้พื้นที่เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเฉพาะด้านกายภาพ เช่น รูปแบบสถาปัตยกรรม การสร้างสะพานรถไฟ การตัดถนน การสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างฝั่งแม่น้ำปิงตะวันตกและฝั่งแม่น้ำปิงตะวันออกเข้าด้วยกัน ทำให้การขนส่งสินค้า หรือการเดินทางเข้ามาค้าขายเป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จนปัจจุบันย่านได้กลายเป็นแหล่งกระจุกตัวของร้านค้า และสินค้าหลากหลายประเภท อีกทั้งมีกิจกรรมการค้าที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน จากพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ย่านกาดหลวงไม่มีช่วงเวลาสำหรับการซ่อมแซมหรือปรับปรุงพื้นที่อย่างเป็นระบบ เกิดปัญหาการรุกล้ำทางเดินเท้าจากหาบเร่แผงลอย การจราจรติดขัด ความขัดแย้งของกิจกรรมต่อการ ใช้พื้นที่ เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่าง ๆ และความเสื่อมโทรมของย่าน นำมาสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ย่านในครั้งนี้ คือ การวางจัดแผนผังจัดระเบียบร้านค้า การปรับปรุงการสัญจรและการขนส่งภายในพื้นที่ให้มีการเชื่อมต่อระหว่างย่านเข้าด้วยกัน ส่งเสริมทางเดินเท้าให้มีความสะดวกและปลอดภัย และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมภายในย่านเพื่อที่จะทำให้ย่านกาดหลวงกลายเป็นย่านการค้าที่เหมาะสม รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการต่อคนในพื้นที่และผู้ที่เข้ามาใช้บริการ

References

กอบชัย รักพันธุ์ และระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2557). การดำรงอยู่ของย่านตลาดในพลวัตความเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่.
วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 10(2)
เกียรติ จีวะกุล และคณะ. (2525). ตลาดในกรุงเทพมหานคร: การขยายตัวและพัฒนาการ. รายงานผลการวิจัยเงินทุนเพื่อเพิ่มพูน
และพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ ผ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี:
ไม่ระบุแหล่งพิมพ์.
ฉัตรชัย พงษ์ประยูร. (2536). การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. (2525). การดำเนินงานร้านขายปลีก. กรุงเทพมหานคร: หนึ่งเจ็ดการพิมพ์.
สุภาพรณ์ อาภาวัชรุตม์ และเพื่อน. (2551). เรื่องเล่าจาวกาด เล่ม ๓ อาคารเก่าของจาวกาด. เชียงใหม่: มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง. สุภาพรณ์ อาภาวัชรุตม์ และเพื่อน. (2553). เรื่องเล่าจาวกาด เล่ม ๖ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของจาวกาด. เชียงใหม่: มูลนิธิ
สถาบันพัฒนาเมือง.
Chapin, Stuart F. (1965). Urban Growth Dynamics: in a Regional Cluster of city. New York Wiley.
Harris and Ullman. (1945). The Nature of Cities (Multiple Nuclei Model). London.
Rapoport, Amos. (1994). A Spatial organization and the built environment. In T. Ingold (ed.). Companion
encyclopedia of anthropology: Humanity culture and social life. London: Routledge.

เชียงใหม่นิวส์. (2560). แอ่วกาดหลวง สีสันของชีวิตพื้นบ้านชาวล้านนา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563 จาก
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/621315/
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). ภาพล้านนาในอดีต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563 จาก lannainfo.library.cmu.ac.th
เสรินทร์ จิรคุปต์. (2556). ประวัติความเป็นมาในอดีต ของตลาดต้นลำไย กาดหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพนธ์ 2563 จาก http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=9337

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25

How to Cite

เกียรติภัทราภรณ์ ส., & ห้าวเจริญ ก. (2022). การพัฒนาพื้นที่ย่านกาดหลวง จังหวัดเชียงใหม่. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(1), 119–134. https://doi.org/10.14456/bei.2022.8