การประเมินความพึงพอใจการใช้พื้นที่บริการนักท่องเที่ยว และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เปรมสมิทธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.16

คำสำคัญ:

การประเมินความพึงพอใจ, แหล่งท่องเที่ยว, อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้พื้นที่บริการนักท่องเที่ยวและเส้นทางศึกษาธรรมชาติ: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและสภาพปัญหาของพื้นที่เขตบริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการพื้นที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จุดบริการนักท่องเที่ยวน้ำตกเหวนรกและน้ำตกเหวสุวัต (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาทางกายภาพรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยวิธีการสำรวจพื้นที่ลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรมการใช้งานและองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว เพื่อกำหนดขั้นตอนการวิจัย ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ประชากรกลุ่มตัวอย่างจากข้อมูลทางสถิติจำนวนทั้งสิ้น 360 คน                                                                                                                                                                             ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ (1) ด้านบรรยากาศ แสดงให้เห็นว่า บริเวณพื้นที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่า รวมทั้งมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสกับธรรมชาติซึ่งทำให้รู้สึกผ่อนคลาย รองลงมาคือ (2) ด้านนันทนาการ แสดงให้เห็นว่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีกิจกรรมที่หลากหลาย นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการเป็นกลุ่มครอบครัว เพื่อน และหมู่คณะเข้ามาใช้บริการ เพื่อเที่ยวชมธรรมชาติและสามารถทำกิจกรรมได้ทุกเพศทุกวัย ในขณะที่ (3) ด้านความปลอดภัย การดูแลความปลอดภัยในพื้นที่เขตบริการของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีมาตรการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวน้อยที่สุดคือ (4) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งมีปัจจัยร่วมกันคือ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวลที่ถูกออกแบบโดยไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานของผู้พิการและผู้สูงอายุ

References

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2548). อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักอุทยาน

แห่งชาติกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวอุยานแห่งชาติปี2557-2561. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561 จาก https://www.dnp.go.th/statistics/2561/stat2561.asp.

ชุมเขต แสวงเจริญ ดรรชนี เอมพันธุ์ และกำธร กุลชล. (2560). แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคน

ทั้งมวลในอุทยานแห่งชาติ. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI

ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (2017) : กรกฎาคม - ธันวาคม 2560

ธนภัทร ทองสอน. (2564). สภาพปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการภายในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2564 จาก https://researchcafe.org/khao-yai-national-park

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริศรีคำภา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

พันทิพา โฉมประดิษฐ์. (2530). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแผนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อุบลรัตน์ทิวงษา ดรรชนีเอมพันธุ์และดำรงค์ศรีพระราม. (2553). การจัดการระบบการสัญจรในอุทยานแห่งชาติ

เขาใหญ่.วารสารวนศาสตร์ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 หน้า 83-92

Yamane, Taro. (1973). Statistics, an Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row

Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-12

How to Cite

เปรมสมิทธ์ ศ., & ด่านกิตติกุล ช. (2022). การประเมินความพึงพอใจการใช้พื้นที่บริการนักท่องเที่ยว และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(2), 91–108. https://doi.org/10.14456/bei.2022.16