อ่านและถอดรหัส “สัปปายะสภาสถาน” จากสื่อนำเสนอ แบบประกวดอาคารรัฐสภาไทย พ.ศ.2552 (รอบสุดท้าย)
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2022.12คำสำคัญ:
ความเป็นไทย, ประชาธิปไตย(ไทย), อาคารรัฐสภา, สัญวิทยา, ปรากฏการณ์วิทยาบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแบบประกวดอาคารรัฐสภาไทย พ.ศ. 2552 ผ่านการ “อ่าน”และ“ถอดรหัส” สัปปายะสภาสถานเพื่อหาความหมายตรง ความหมายแฝงและปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคม โดยกรอบแนวคิดแห่ง สัญวิทยา (Semiology) และปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) พบว่า การเกิดขึ้นของความหมายหรือการให้คุณค่าต่อพื้นที่มีทั้งถูกผลิตซ้ำ (reproduced) และถูกสร้างใหม่ (reinvented) ในหลากหลายรูปแบบ จากการตีโจทย์ที่แตกต่างกันต่อการอ่านความคิดและอุดมการณ์ชนชั้นปกครอง ซึ่งการใช้ภาษาทางสถาปัตยกรรมผ่านสัญญะที่เลือกใช้ทั้งที่ผู้ออกแบบจงใจหรือไม่จงใจก็ตาม ได้สำแดงค่านิยม โลกทัศน์ ภายใต้อุดมการณ์ทางสังคมและการเมือง อำนาจของภาษาผ่านวาทกรรมกับมายาคติต่างๆ ที่ดำรงอยู่อย่างแนบเนียนในชีวิตประจำวัน ทำให้พื้นที่ในสังคมมิได้ว่างเปล่าและมีความเป็นกลาง ด้วยความหมายของพื้นที่กับสรรพสิ่งมิได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นผลผลิตทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มเพื่อครอบงำและกำหนดให้ใคร รับรู้อะไร และอย่างไร โดยไม่คิดตั้งคำถามว่าความเป็นจริงเหล่านั้นถูกทำให้เป็นจริงได้อย่างไร ดังเช่น “ความเป็นไทย” และ “ประชาธิปไตย”(ไทย) ที่ครอบครองพื้นที่ความหมายหลักอาคารรัฐสภาแห่งใหม่นี้
References
กองบรรณาธิการ. (2553). “แบบประกวด 5 ทีมสุดท้าย”. วารสารอาษา. ฉบับที่ 04-05, หน้า 84-95.
คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร. (2548). รายงานเรื่องการเลือกพื้นที่เพื่อเป็นที่ก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่. (กันยายน). เผยแพร่ใน www.parliament.go.th
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2545). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำผังเบื้องต้นศูนย์ราชการรัฐสภาแห่งใหม่. (กันยายน) เผยแพร่ใน www.parliament.go.th
ชมชน ฟูสินไพบูลย์ และ ฮิโรชิ ทาเกยามา. (2554). “พัฒนาการแนวความคิดเรื่องเอกลักษณ์ของชาติในงานสถาปัตยกรรม: การประกวดแบบรัฐสภาแห่งใหม่ พ.ศ. 2552.” วารสารหน้าจั่วว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, ฉบับที่ 7 กันยายน 2553 - สิงหาคม 2554, 309-339.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2553). “ประชาธิปไตยที่ตีนเขา (พระสุเมรุ): ว่าด้วยอำนาจของภาษาสถาปัตยกรรมในอาคารรัฐสภาใหม่” วารสาร “อ่าน”. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (มกราคม-มีนาคม 2553), 1-27.
“เมื่อรัฐสภาใหม่ไทยเป็นเขาพระสุเมรุ มุสลิมเราจะมีจุดยืนอย่างไร.” มุสลิมดอทคอม. สืบค้นจากhttp://www.muslimthai. com/mnet/content.php?bNo=เมื่อรัฐสภาใหม่ไทยเป็นเขาพระสุเมรุ มุสลิมเราจะมีจุดยืนอย่าไร&qNo=3896.
ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์. (2554). “ภาพตัวแทน ความหมาย และความเป็นการเมือง: บทวิเคราะห์เชิง Lefebvrian สู่สถาปัตยกรรม” Journal of Architecture/Planning Research and Studies. 8(2), 75-87.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจ และวีระ อินพันทัง (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการสร้างสรรค์เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ : พื้นฐานเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ : จี บี พี เซ็นเตอร์.
วิญญู อาจรักษา. (2557). “เขาพระสุเมรุ” กับอาคารรัฐสภาใหม่ไทย: “สภาวะแห่งการยกเว้น” ในฐานะกระบวนทัศน์การสร้างงานสถาปัตยกรรม. วารสารหน้าจั่ว. ฉบับที่ 10, 102-129.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2561). โครงการ “นักวิชาการไทยกับการต่อสู้ช่วงชิงความหมาย “ประชาธิปไตย” ในภาวะวิกฤตทางการเมือง (พ.ศ.2548-2557).” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
“สัมภาษณ์ชาตรี ประกิตนนทการ: แบบรัฐสภาใหม่ ความหมายเดิมๆ” ประชาไท (online). 13 ธันวาคม 2552. สืบค้นจาก http://www.prachatai.com/ journal/2009/12/26979.
“สัปปะยะสภาสถาน ถอดรหัสรัฐสภาแห่งศีลธรรม.” กรุงเทพธุรกิจ. (online). 3 ธันวาคม 2552. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/20091203/89277/สัปปายะสภาสถาน-ถอดรหัสรัฐสภาแห่งศีลธรรม.html.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2553). รัฐสภาแห่งใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การจ้างออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่และอาคารประกอบ โดยวิธีพิเศษ. ตามประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2552.
“อภิสิทธัตถะ-สัปปายะสภาสถาน: ศิลปวัตถุแห่งราชาชาตินิยม พ.ศ.2553”. ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน โพสต์ไว้เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2553 เผยแพร่ใน http://prachatai.com/journal/2010/08/30655.
Koompong Noobanjong, “The National Assembly: An Ironic Reflection of Thai Democracy” 10th International Conference on Thai Studies. The Thai Kradi Research Institute (Bangkok: Thammasat University, Jan 9-44, 2008)
สื่อออนไลน์
https://anyflip.com/drbeo/rhfr/basic/451-500
https://www.facebook.com/museumsiamfan/photos/pcb.10165643199100215/10165643198780215
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt /parliament_parcy/main.php?filename=history_newsapa
https://www. parliament.go.th/ratpiti/rattapite.htm
https://www.sac.or.th/databases/ anthropology-concepts/glossary/90
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ