ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะภายในเมืองขอนแก่น
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2022.14คำสำคัญ:
เมืองขอนแก่น, ระบบขนส่งสาธารณะ, พฤติกรรมการเดินทางบทคัดย่อ
จากปรากฏการณ์การพึ่งพาระบบขนส่งส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายเมืองของประเทศไทย นำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองและคุณภาพชีวิตคนเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากประเด็นดังกล่าวส่งผลให้เมืองจำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายในการวางแผนจัดการการขนส่งเมือง โดยการศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองภายใต้แนวคิดการจัดการความต้องการในการเดินทาง (Transportation Demand Management: TDM) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะภายในเมืองขอนแก่น โดยเน้นศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ขนส่งสาธารณะเมืองประเภทรถซิตี้บัส การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้เดินทางในเมืองขอนแก่น จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความปลอดภัยในการใช้บริการ (Safety) ความสะดวกในการใช้บริการ (Convenience) ความน่าเชื่อถือของการให้บริการ (Reliability) ค่าใช้จ่าย (Cost) และผลกระทบต่อการจราจรและสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) มีอิทธิพลต่อการใช้ขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่นประเภทรถซิตี้บัสที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายผลได้ถึงร้อยละ 83.9 ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ด้านข้างต้นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นักวางแผนการขนส่งเมืองไม่ควรมองข้ามในการพิจารณาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่น เพื่อดึงดูดใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของคนเมืองให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะภายในเมืองยิ่งขึ้น
References
เอกสารอ้างอิง
จารุวรรณ ประวัณเน. (2563). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ธวัชชัย เหล่าศิริหงส์ทอง. (2533). การพยากรณ์ความต้องการการเดินทางโดยวิธีดีสแอกกรีเกตสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนกฤษณ คลังบุญครอง. (2561). การวางแผนการขนส่งในเขตเมืองอย่างยั่งยืน: หลักการและปฏิบัติการ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2561). การวางแผนเมืองและพัฒนาระบบขนส่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉรา ตันติวิทยาพิทักษ์. (2540). การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในพื้นที่เขตสาธร (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนนต์ศรี วงษ์ชัยสุวรรณ. (2552). รูปแบบการเดินทางของนักเรียนที่โรงเรียนตั้งอยู่บนถนนสามเสน (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Black, W. (1998). Human Factors in Intelligent transportation system. Prentice-Hall.
Bowman, J. L. and Ben-Akiva, M. (2001). Activity-Based Disaggregate Travel Demand Model System with Activity Schedules. Transportation Research Part A Policy and Practice, 35(1), 1-28.
Bruton, M. J. (1975). Introduction to Transportation Planning. London: Hutchinson.
Hulin, C. et al., (2001). Can a Reliability Coefficient Be Too High? Journal of Consumer Psychology, 10(1), 55-58.
Joewono, T. et al., (2005). The characteristics of paratransit and non-motorized transport in Bandung, Indonesia. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 6(1), 262-277.
Joewono, T and Santoso, D. S. (2015). Service Quality attributes for Public Transportation in Indonesian Cities, Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies,11, 1064-1081.
Loo, B.P.Y. (2007). The role of Paratransit: some reflections based on the experience of residents’ coach services in Hong Kong, Transportation, 34(1), 471-486.
Luthra, A. (2006). Para Transit System in Medium Sized Cities Problem or Panacea. ITPI Journal, 3(2), 55-61.
Masahiro, S. et al., (2003). The Future of Urban Transport Policy. Tokyo: Seibundo.
Meyer, M.D. and Miller, E.J. (1974). Urban Transportation Planning: a decision-oriented approach. New York: McGraw-Hill.
Ortuzar, J. D. and Willumsen, L. G. (2011). Modelling Transport. (4th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.
Saadatian, O. et al., (2012). A Methodology for Adapting Sustainability Tools. Advances in Fluid Mechanics and Heat & Mass Transfer, 54-65.
Shimazaki, T. and Rahman, Md. M. (1996). Physical characteristics of paratransit in developing
countries of Asia: Transportation in Asia-Pacific countries. Journal of Advanced Transportation, 30(2), 5-24.
Susilo, Y. O. et al., (2010). An Exploration of Public Transport Users' Attitudes and Preferences towards Various Policies in Indonesia: Some Preliminary Results. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 8, 1230-1244.
Tangphaisankun, A. (2010). A study in integrating paratransit as a feeder into mass transit systems in developing countries: a study in Bangkok (PhD. Thesis). Yokohama National University.
Vuchic, V. R. (2007). Urban Transit: Operations, Planning, and Economics. New Jersey: John Wiley & Sons.
Wongwiriya, P. et al., (2017). User Perception of Paratransit in Thailand: Case study of Journey to Work in Khon Kaen City. Asia-Pacific Journal of Science and Technology, 22(02).
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
เกษม ชูจารุกุล. (2551). Mobility Management. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จากhttp://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=ปัญหาการจราจร
เทศบาลนครขอนแก่น. (2561). จำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2561, จาก http://www.kkmuni.go.th/
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2559). โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2563, จาก
Bullen, P. B. (2018). How to choose a sample size. [Online]. Retrieved December 17, 2018, from https://tools4dev.org/resources/how-to-choose-a-sample-size/
Mazikana, A. P. (2019). The Effect of Incentives on the Achievement of Organizational Goals. [Online]. Retrieved September 20, 2021, from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3417544
Metropolitan Planning Council. (2021). The study of The Metropolitan Planning Council’s Moving
at the Speed of Congestion. [Online]. Retrieved September 11, 2021, from https://www.
metroplanning.org/work/projects.html
The Global Development Research Center. (2008). Key issues in sustainable transportation.
[Online]. Retrieved December 27, 2021, from http://www.gdrc.org/uem/sustran/
key-issues.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ