ตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) พัฒนาตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครู 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมครูให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดประเมินค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อถือ 0.969 จากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 830 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิงโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และโปรแกรมลิสเรล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพครูประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 15 ตัวบ่งชี้ โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไค- สแควร์ (c2) เท่ากับ 24.26 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 26 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.56 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.00 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 และแนวทางการส่งเสริมครูให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูที่สำคัญ ได้แก่ 1) การสร้างเจตคติที่ดี ความตระหนักและเข้าใจในวิธีการปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพและการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครู 2) การเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้ครูรู้และเข้าใจข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพมาตรฐานการปฏิบัติตน และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3) การฝึกปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพครู
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
ประชิด สกุณะพัฒน์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2549). วันสำคัญ. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.
ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล และณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์. (2552,8 พฤศจิกายน). วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย บนเส้นทางปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี, มติชนรายวัน, 32, 11565.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2556). จรรยาบรรณวิชาชีพครู[ข้อมูลออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.edu.chula.ac.th/knowledge/rule/adm-rule.htm.
พฤทธ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2546). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน การปฎิรูปการผลิตและการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
รพีพรรณ เอกสุภาพันธ์. (2552). การพัฒนายุทธศาสตร์การเสริมสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต). สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง.(2544). การปฎิวัติการศึกษาไทย.กรุงเทพฯ: มติชน.
ราชกิจจานุเบกษา. (2548). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 76 ง, 5 กันยายน 2548 หน้า 39-46. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง, 4 ตุลาคม 2556. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา.
ลัดดาวัลย์ สืบจิต. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
เลขา ปิยะอัจริยะ. (2550). การเสวนาเรื่องยุทธศาสตร์และการจัดการความรู้พื้นฐานเพื่อพัฒนาครู.เข้าถึงจาก www.manager.co.th/Daily/Viewnews.apx?.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์.(2543). สาระสำคัญของนโยบายการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551).รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สกค.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2557). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2539). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2541). เกณฑ์มาตรฐานครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
Airasian, P.W., and Gullickson, A.R. (1994). Examination of teacher self-assessment. Journal of Personnel Evaluation in Education, 8, 195-203.
Almeida, A.B. (2005). Social Philosophy 2 : Including General and Professional Ethics for Teachers. Manila : Rex Book Store.
ASEAN. (2005). Statement of the Ministers Responsible for Education. Jakarta: The ASEAN Secretariat.
Association of American Education. (2014). AAE Code of Ethics. For Educators. [Data file]. Retrieved From http//: aaeteachers.org/images/pdfs/ aaecodeofethicsforeducators.pdf.
Australian Capital Territory. (2008). Teachers’ Code of Professional Practice. Canberra: Publishing Services for the Department of Education and training.
Bailey, J.S.,& Burch, M.R.(2001). Ethics for Behavior Analysts.2nd ed. New York: Routledge.
Blank, R.K. (1993). Developing a System of Education Indicators: Selecting, Implementing, and Reporting Indicators. Education Evaluation and Policy Analysis, 15 (1), 65-80.
Bottani, N., Walberg, H.J. (1994). Internationl Edcaional Indicators,The International Encyclopedia of Education. United Kingdom: Emeraid Group Publishing Limited.
Burstein, L. Oakes. J., & Guiton, G. (1992). Education indicators. In M.C. Alkin (Ed.), Encyclopedia of Educational research (5th ed.,pp.409-418). New York: Mac Millan.
Dressel, P.L. (1976). Handbook of Academic Evaluation. San Francisco: Jossey-Bass.
Florida Department of Education. (2014). Code of Ethics and Principles of Professional Conduct for the Education Profession in Florida[Data file]. Retrieved from https://www. Fldoe.org/edstandards/code of ethics.asp.
Jacop, S. Decker, D.M. and Hartshorm, T.S. (2011). Ethics and Law for School Psychologists. 6th ed. New Jersey: John Wiley & Sons.
Johnston. (1981). Indicators of Education System. London: UNESCO.
Ministry of Education and Employment. (2012). The Council for the Teaching Profession in Malta : Teachers’ Code of Ethics and Practice. Valletta: Ministry of Education and Employment.
New Zealand Teachers Council. (2014). Code of Ethics for Registered Teachers[Data file]. Retrieved from www.teachescouncil.govt.nz/content/code-ethics-registered-teachers-o.
North Carolina State Board of Education. (2014). The purpose of this Code of Ethics is to define standards of professional conduct [Data file]. Retrieved from https://www.ncpublicschools.org/docs/effectiveness-model/ncss/standards/code-of-ehics.pdf.
Oliva, M.S., and Aspinwall, E.M. (1996). A Framework for the Dimensions of Quality in Higher Education. Quality Assurance in Education 4 (2), 12-20.
Reimers, E. V. (2003). Teacher Professional Development: An International Review of the Literature. Paris: CHEMS.
The National Education Association (NEA). (2014). Code of Ethics [Data file]. Retrieved from https://www.nea.org/home/30442.htm.
The Teaching Council. (2012). Code of Professional Conduct for Teachers[Data file]. Retrieved from https://www.teachingcouncil.ie/_fileupload/Professional%20Standards/code_of_conduct_2012wed%2019June2012.pdf.