ความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีต่อผู้สอน วิธีการสอน และการวัดและประเมินผลวิชาสัมมนาการบริหารงานตำรวจในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่เรียนวิชาสัมมนาการบริหารงานตำรวจ และ (2) ความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยตำรวจที่มีต่อผู้สอน วิธีการสอน และการวัดและประเมินผลในวิชาสัมมนาการบริหารงานตำรวจ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 2 วิธี แนวทางเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจำนวน 58 ราย จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา แนวทางเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลนักเรียนนายร้อยตำรวจจำนวน 8 ราย ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม และบันทึกความจำ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนนายร้อยตำรวจที่เรียนวิชาสัมมนาการบริหารงานตำรวจประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย เลือกเรียนวิชาด้วยตนเอง เหตุที่เลือกเรียนวิชานี้เพราะเห็นว่าสำคัญต่อการทำงานอนาคต มีความคาดหวังในความรู้และผลการเรียนระดับปานกลาง ซึ่งความรู้ที่ได้และผลการเรียนที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจ (2) ความคิดเห็นของนักเรียนนายร้อยตำรวจส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนการสอนวิชาสัมมนาการบริหารงานตำรวจที่ควรต้องปรับปรุงคือ 1) ผู้สอนควรให้ความเอาใจใส่พร้อมกับให้คำปรึกษาที่ถูกต้องต่อนักเรียนนายร้อยตำรวจที่เข้ารับคำปรึกษา 2) ผู้สอนควรจัดกิจกรรมศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก และ 3) ผู้สอนควรแจ้งให้นักเรียนนายร้อยตำรวจทราบทุกครั้งก่อนจะทำการทดสอบวัดความรู้
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาฉบับปรับปรุงแก้ไขพุทธศักราช 2556. เข้าถึงจาก https://eduserv.ku.ac.th/index.php?method=manual_kn.
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. (2556). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจหลักสูตรปรับปรุงพ.ศ.2556. เข้าถึงจาก https://drive.google.com/file/d/0B6Ci1OHDJ4lDT1d6dkRCblViRnZxUUhibDdPVUF3clBfbFE4/edit?resourcekey=0-PTCIpRWVCgefqDLAVWdb1A.
สารานุกรมเสรี. (2560). สัมมนา. เข้าถึงจาก https://th.wikiedia.org/wiki/สัมมนา.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการใช้ระบบการให้คำปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. เข้าถึงจาก http://backoffice.on ec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdP lan60-79.pdf.
สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. เข้าถึงจาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf.
Bonnycastle, M.M. (2016). Engaging with qualitative data analysis: The metaphor of looking at data landscape to explored. Qualitative report, 20 (1), 84-86.
Caspar, R. (2016). Cross-cultural survey guideline: Pretesting. Retrieved from
https://www.academia.edu/33445046/CrossCultural_Survey_Guidelines_Pretesting.
Creswell, J.W. (2014).Research and design: Qualitative, quantitative & mixed methods approaches. (4thed.).
New Delhi: Thousand Oaks Press.
Friese, S. (2013). Qualitative research methods: Why, when, and how to conduct interviews and focus groups in pharmacy research. Qualitative Research, 13(3), 382-384.
Fusch, P.l., & Ness, L.R. (2015). Are we there yet? Data saturation in qualitative research. The Qualitative Report, 20(9), 1408-1416.
Hopf, T. (1998). The promise of constructivism in international relations theory. International Security, 23(1), 171-200.
Orbanic, N.D., Dimec, D.S., & Cencic, M. (2016). The effectiveness of a constructivist teaching model on students’ understanding of photosynthesis. Journal of Baltic Science Education, 15(5), 575-587.
Palinkas, L.A., Horwitz, S.M., Green, C.A., Wisdom, J.P., Duan, N., & Hoagwood, K. (2015). Purposeful sampling for qualitative data collection and analysis in mixed method implementation research. Adm Policy Ment Health, 42(5), 533–544.
Resch, J., Driscoll, A., McCaffrey, N., Brown, C., Ferrara, M.S., & Macciocchi, S. (2013). ImPact test-retest reliability: Reliably unreliable?. Journal of Athletic Training, 48(4), 506-511.
Sheppard, G. (2015). What is counselling? A search for a definition. Retrieved from
Tan, C., & Abbas, D.B. (2009). The teach less, learn more initiative in Singapore: New pedagogies for islamic religious schools?. KJEP, 6(1), 25-39.