การส่งเสริมความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ระบบนิเวศจำลองร่วมกับ การกระตุ้นด้วยการประเมิน

Main Article Content

สันติชัย อนุวรชัย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ระบบนิเวศจำลองร่วมกับการกระตุ้นด้วยการประเมิน กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความสมดุลของระบบนิเวศ และ (2) แบบวัดความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละผลการวิจัยพบว่า หลังเรียนนักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์จำแนกตามตัวบ่งชี้ 5 ประการ อยู่ในระดับดีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ และอยู่ในระดับพอใช้จำนวน 4 ตัวบ่งชี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทนา คชเสนี. (2548). คู่มือปฏิบัติการนิเวศวิทยา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2560). สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริม

การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุนีย์ คล้ายนิล ปรีชาญ เดชศรี และ อัมพลิกา ประโมจนีย์. (2550). การวัดผลประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้และตัวอย่าง

ข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: บริษัท เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

Ayala, C. C., Shavelson, R. J., Ruiz-Primo, M. A., Brandon, P. R., Yin, Y., Furtak, E. M., and Young, D. B. (2008).

From Formal Embedded Assessments to Reflective Lessons: The Development of Formative

Assessment Studies. Applied Measurement in Education, 21, 315–334.

Driver, R., Leach, J., Millar, R., & Scott, P. (1996). Young people’s image of science. Buckingham,

UK: Open University.

Furtak, E. M. and Ruiz-Primo, M. A. (2008). Making Students’ Thinking Explicit in Writing and Discussion:

An Analysis of Formative Assessment Prompts. Science Education, 92, 799-824.

Jeong, H., Songer, N.B., and Lee, S.Y. (2007). Evidentairy Competencies: Sixth Graders, Understanding for

Gathering and Interpreting Evidence in Scientific Investigations. Research Science Education, 37,

-97.

Kuhn, L. and Reiser, B. (2004). Students Constructing and Defending Evidence-based Scientific

Explanations. Paper presented at NARST., Dallas Texas.

McNeill, K. L. and Krajcik, J. S. (2008). Scientific Explanations: Characterizing and Evaluating the Effects of

Teachers’ Instructional Practices on Student Learning. Journal of Research in Science Teaching,

(1), 55-78.

Organization for Economic Co-operation and Development. (2012). PISA 2015 Item Submission Guidelines:

Scientific Literacy. Retrieved from https://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/Submission-Guidelines-

Science.pdf.

Yin, Y., Shavelson, R. J., Ayala, C.C., Ruiz-Primo, M. A., Brandon, P. R., Furtak, E. M., Tomita, M. K. and

Young, D. B. (2008). On the Impact of Formative Assessment on Student Motivation, Achievement,

and Conceptual Change. Applied Measurement in Education, 21, 335–359