กลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ

Main Article Content

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์
พลอยไพลิน รูปะวิเชตร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษาของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือ คือ 1. ผู้สูงอายุที่มาเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัย เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 200 คน     2. ผู้ดำเนินการโรงเรียนผู้สูงอายุ ฯ 3 คน  3. นักวิชาการ นักฝึกอบรม บุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการสัมภาษณ์ จำนวน 14 คน มีการวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย นำเสนอผลวิจัยด้วยค่าสถิติ ร้อยละ และรูปของตารางประกอบการอธิบายและการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าสภาพการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเกิดจากความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเชิงดอย โดยผู้สูงอายุมาเรียนด้วยแรงจูงใจของตนเองร้อยละ 73.50 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฟังธรรมะจากพระสงฆ์ นันทนาการ รักษาสุขภาพ อาชีพ ศิลปวัฒนธรรมระดับมากร้อยละ 89.00, 66.00, 82.50, 72.50, 72.50 ตามลำดับ การจัดการของโรงเรียนระดับมากร้อยละ 97.50 ประโยชน์ที่ได้รับจากการมาเรียนระดับมากร้อยละ 98.50 การจัดกิจกรรมของภาควิชาอาชีวศึกษาและการส่งเสริมสุขภาวะระดับมากร้อยละ 100 ปัญหาในการศึกษาของผู้สูงอายุคือการเดินทางมาเรียนและการนำความรู้ไปปรับใช้ร้อยละ 38.00,  44.50 ความต้องการในการศึกษาของผู้สูงอายุคือหัวข้อเรื่องการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ ร้อยละ 42.00  ส่วนผู้จัดการโรงเรียนผู้สูงอายุฯ มีปัญหาการใช้งบประมาณที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้จ่าย ปัญหาการเดินทางของผู้สูงอายุและสถานที่เรียน เทศบาลฯ มีความต้องการในการจัดต่อไปและต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งงบประมาณและวิทยากร ส่วนกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาพฤฒิพลังในผู้สูงอายุพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุฯ ต้องเร่งสร้างผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำร่วมในการดำเนินการโรงเรียน สร้างวิทยากรเพิ่ม เพิ่มหลักสูตรวิชาศิลปะ เช่นการวาดรูป การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้จัดการศึกษากันเองกลุ่มเล็ก ๆ ที่ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). รายงานผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ปี 2552. กรุงเทพฯ: รังสีการพิมพ์.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์, จิราพร ชมพิกุล, พลอยไพลิน รูปะวิเชตร์ และศรีจันทร์ ฟูใจ. (2561). การจัดการสังคมผู้สูงอายุของพื้นที่หุบเขาเมืองชิมานโตะ จังหวัดโคชิ ประเทศญี่ปุ่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(1), 22-43.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. Journal of Nursing and Education, 9(2), 25-39.

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2554). “การจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง”. รวมบทความทางวิชาการเรื่องความเป็นผู้นำทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันทนา ปทุมอนันต์, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, และ ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเพื่อเสริมสร้าง การบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 857-870.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2544). จิตวิทยาเพื่อการอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2557). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

Merriam, S., Baumgartner, L., & Caffarella, R. (2007). Learning in Adulthood: A comprehensive guide.

San Francisco: Jossey-Bass.Adult Learning: Education and Training.

Rupavijetra, P., Chompikul, J. and Rupavijetra, P. (2016). Management of ageing society in Kobe, Japan. Journal of Public Health and Development, 14(2), 61-75.

WHO. (2016). Active Ageing, A Policy Framework, World Health Organization Non communicable Diseases and Mental Health Cluster Non communicable Disease Prevention and Health Promotion Department Ageing and Life Course.Retrieved from

http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/67215/1/WHO_NMH_NPH_02.8.pdf.