แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันภาษาจีนถือได้ว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่มีความส าคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาอังกฤษเนื่องจากประเทศจีนมีการ พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอ านาจไล่ตามสหรัฐอเมริกาและยุโรป สาเหตุที่ส าคัญอีกประการหนึ่งก็คือ มีผู้ใช้ ภาษาจีนอยู่ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน เป็นผลท าให้การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยจะได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก ภาษาอังกฤษ แต่ก็มีผู้เรียนภาษาจีนจ านวนมากประสบปัญหาในการเรียนภาษาจีน คือ ไม่สามารถสนทนา สื่อสารกับเจ้าของภาษาได้ หรือฟังไม่เข้าใจ ในความเป็นจริงแล้วการเรียนภาษาจีนให้ได้ผลดีนั้น จะอาศัยความรู้ความสามารถทางด้านค าศัพท์ ไวยากรณ์และ โครงสร้างภาษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนใช้ภาษาจีนที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสื่อสารกับเจ้าของภาษา ได้ ดังนั้นในการเรียนการสอนภาษาจีน ผู้สอนควรเน้นความสามารถในการสื่อสารของผู้เรียนเป็นหลัก โดยการสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึง สถานการณ์ในการใช้ภาษา และการใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ สามารถเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาจึงจะท าให้ ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ดีและท าให้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง การสอนควรเริ่มจากการฝึกพูด ฝึกสนทนาจากสถานณ์จ าลองใกล้ตัวที่พบ ในชีวิตประจ าวัน นอกจากนั้นควรเปลี่ยนจากการท่องศัพท์เป็นค าๆ มาเป็นการท่องวลีหรือประโยคเพื่อช่วยให้สามารถพูดสนทนา ภาษาจีนได้คล่องแคล่วยิ่งขึ้น การที่จะเรียนภาษาจีนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ให้สามารถสนทนาสื่อสารเบื้องต้นได้นั้น ต้องอาศัยความ ร่วมมือกันทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้เรียนต้องไขว่คว้าหาความรู้ใหม่ๆ มีการฝึกฝนในการพูดภาษาจีนอยู่เสมอ ส่วนผู้สอนควรสร้าง แรงจูงใจในการเรียนภาษาจีน สร้างความน่าสนใจ และสอดแทรกวัฒนธรรมของประเทศจีนในเนื้อหาการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิด ความคุ้นเคยในการสนทนากับเจ้าของภาษา ท้ายนี้หวังว่าบทความฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาทักษะการพูด ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่