การพัฒนาคลังกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบคลังกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อประเมินคุณภาพของคลังกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการประเมินคุณภาพได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้องด้านเนื้อหาของกิจกรรมการเรียนรู้กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แบบประเมินด้านการออกแบบเว็บไซต์ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากคลังกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการออกแบบคลังกิจกรรมการเรียนรู้ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ URL คือ https://pirun.ku.ac.th/~g5814600241/esd-html ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าเนื้อหาของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 40 เรื่อง ผลการประเมินคุณภาพในด้านการออกแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับผ่าน คิดเป็นค่าเฉลี่ยของ IOC เท่ากับ 0.92 และผลการสอบถามความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากคลังกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.24
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
จรัส จรัสรุ่งเรืองชัย. (2554). การออกแบบและสร้างเว็บไซต์ด้วย DreamweaverCS5. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). สาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พงศธร มหาวิจิตร และ พงศกร ภู่อารีย์. (2561). คณิตศาสตร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. นิตยสาร สสวท, 47(215), 35-41.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2551). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bhandari, B. B., & Abe O. (2003). Education for sustainable development in Nepal: Views and visions. Japan: Institute for Global Environmental Strategies (IGES).
Lehmann, M., Christensen, P., Du, X., & Thrane, M. (2008). Problem-oriented and project-based learning(POPBL) as an innovative learning strategy for sustainable development in engineering education. European journal of engineering education, 33(3), 283-295.
Polya, G. (2004). How to solve it: A new aspect of mathematical method (No. 246). New Jersey: Princeton university press.
Rieckmann, M. (2017). Education for sustainable development goals: Learning objectives. Paris: UNESCO Publishing.
Sector, U. E. (2006). Framework for the UNDESD international implementation scheme. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000148650.
Tilbury, D. (2004). Rising to the challenge: Education for sustainability in Australia. Australian Journal of environmental education, 20(2), 103-114.