การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเทพศิรินทร์ ตามแนวคิดพลเมืองที่เข้มแข็ง

Main Article Content

เตชิต เอกรินทรากุล
ธีรภัทร กุโลภาส

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเทพศิรินทร์  ตามแนวคิดพลเมืองที่เข้มแข็ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน คุณครูระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified)        ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการบริหารกิจกรรมลูกเสือโรงเรียนเทพศิรินทร์ตามแนวคิดพลเมือง ที่เข้มแข็ง มีลำดับความต้องการจำเป็นด้านกรอบการบริหารกิจกรรมลูกเสือจากค่ามากที่สุดไปหาน้อยสุด คือ ด้านบุคลากร (PNIModified = 0.137)  รองลงมาคือ ด้านการติดตามและประเมินผล (0.134) และ ด้านการบริหารแผนงานและนโยบาย (0.082) โดยด้านที่มีค่าความต้องการน้อยสุด คือ ด้านการจัดการลูกเสือ (0.039) จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการในการพัฒนาส่งเสริมด้านบุคลากรภายในสถานศึกษามากที่สุด โดยองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ การเสริมแรงและความดีความชอบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ขวัญและกำลังใจของบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนการบริหารกิจกรรมลูกเสือให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวุฒิ สังข์ขาว. (2557). แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาจังหวัดกำแพงเพชรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. การประชุมจัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2561). จิตแพทย์แนะปรับหลักสูตร'ลูกเสือ'ปูทักษะชีวิต-ลดปัญหาเยาวชน. เข้าถึงจาก https://www.naewna.com/local/349440.

รบ คุณหิรัญ. (2506). ชื่นชุมนุม ครบรอบ 60 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภักดิประดิษฐ์.

โรงเรียนเทพศิรินทร์. (2561). คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง. กรุงเทพมหานคร: ชัยเจริญการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิลินธร ชูโต และ ชิษณุพงศ์ ประทุม. (2557). การรับรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

และการจัดการ. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10, 52-59.

ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. (2561). แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สกสค.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30, 607-610.

The Scout Association. (2011). A Detailed Briefing on Leadership and Management in Scouting. Retrieved from https://members.scouts.org.uk/documents/supportandresources/leadershipandmanagement/Detailed%20Briefing%20on%20LM_v1.pdf.