โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม จากการวิเคราะห์การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม เป็นการเปลี่ยนที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเกือบทุก ๆ ด้านทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม การศึกษา และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในโลกนี้อย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคมในประเทศตะวันตก อเมริกาและเอเชีย การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคมของในสังคมไทย ตลอดจนปัจจัยที่เป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางด้านการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ชีวิตในสังคม และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลกและสังคมไทย ที่สำคัญคือบริบททางด้านสาธารณสุขนั้นมีส่วนสำคัญในการดูแล ป้องกันและรักษากับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 นี้ การปรับตัวของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงของโรคไวรัสโควิด-19 ได้อย่างลงตัวและสมดุลกับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างไร เป็นประเด็นสำคัญที่ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และทุกภาคส่วน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันกำหนดรูปแบบแนวทางการปฏิบัติตัวในสังคมที่เรียกว่า รูปแบบใหม่ ให้กับประชาชน ในการอ้างอิงถึงทฤษฎีของทอมัส โรเบิร์ต มัลทัส กับของ ชาร์ล ดาร์วิน โดยหลักคิดทางวิชาการนี้ได้ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม ดังต่อไปนี้ 1) การจัดการศึกษาการเรียนโดยใช้รูปแบบออนไลน์ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุมศึกษา โดยมีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกทั้งรูปแบบออนไลน์ และการเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ในแต่ละสถานศึกษา จากตัวอย่างโครงการ The Millennium Mathematics Project (MMP) ของประเทศอังกฤษ 2) การปรับรูปแบบการทำงานในสถานศึกษา ในเรื่องของกระบวนการขั้นตอนในการทำงานที่ต้องยืดหยุ่น และเอื้อต่อการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน ด้วยการนำหลักการเรื่อง space and time และระยะห่างทางร่างกายของบุคคล หรือระยะห่างทางสังคมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม อาทิเช่น ในห้องเรียนต้องมีการจัดระยะห่างของโต๊ะผู้เรียนให้ได้ตามความเหมาะสมในพื้นที่ 3) การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้ชีวิตในสถาบันการศึกษาและสังคม ดังนี้ อาทิเช่น รูปแบบการจัดการเรียนการสอนควรเพิ่มช่องการความพร้อมในการเรียนรูปแบบผสมทั้งในระบบปิด (ในห้องเรียน) และในระบบออนไลน์ควบคู่ขนานกันไป การตัดสินใจในทางเลือกใช้ช่องทางการใช้วิธีการออนไลน์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนรูปแบบการสนทนาที่เปลี่ยนแปลงไป และ 4) การบริหารจัดการด้านงบประมาณ ในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์ โควิด-19 ต่อเนื่องในอนาคต โดยให้สัดส่วนของงบประมาณที่เน้นในด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาสังคมและมนุษย์ ด้านแรงงาน และการกระจายงบประมาณลงไปสู่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสัดส่วนมากขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือนร้อนในระดับครอบครัวและชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
ประกาศคณะราษฎร. (2475). ประกาศคณะราษฎร หรือ ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เข้าถึงจาก https://th.wikisource.org/wiki.pdf.
ปรัศนีย์ เกศะบุตร. (2555). การรณรงค์ให้พลเมืองรู้หนังสือของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วง พ.ศ. 2483-2487 วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์,31, 143-159.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. (19 สิงหาคม 2542) เข้าถึงจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2561). พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (2563). เกาะติดข่าว COVID-19. เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2560). ครูการเมือง ความคิด ชีวิต แผลงานของ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2563). พัฒนา SKILL เดิม เพิ่มเติม SKILL ใหม่ ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ แหวกคลื่น DISRUPTION. เข้าถึงจาก https://tu.ac.th/thammasat-expert-talk-re-skill-up-skill-digital-disruption.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานผลการศึกษา เรื่องการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติทางการศึกษา. เข้าถึงจากhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx.
University of Cambridge. (2020). Column, About the Campaign. Title: Mitigating educational interruption during lockdown and beyond. Retrieved from https://www.philanthropy.cam.ac.uk/impact-of-giving/impact-stories/mitigating-educational-interruption-during-lockdown-and-beyond.
Longman Dictionary of Contemporary English. (2012). Physical.United Kingdom: Pearson Education Limited.