แนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

สิรวิชญ์ แก้วเกิด
นพดล ทุมเชื้อ
สุรพล ยังวัฒนา
สุวรรณ์ ทวีศาสตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสำหรับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดราชบุรี 2) สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดราชบุรี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 2 คน ครูผู้สอนคณิตศาสตร์จำนวน 1 คน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จำนวน 1 คน และเทคโนโลยีจำนวน 1 คน อาจารย์คณะครุศาสตร์จำนวน 2 คน และอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน โดยมีกระบวนการที่ใช้ในการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในจังหวัดราชบุรี และขั้นตอนที่ 2 สังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่ราชบุรี ผลการศึกษาได้แนวทางการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามบริบทจังหวัดราชบุรี ซึ่งมี 12 ขั้นตอนได้แก่ 1. ขับเคลื่อนนโยบายแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา 2. ประสานความร่วมมือผู้เชี่ยวชาญ ในการร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในสถานศึกษา 3. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา 4. ออกแบบจัดทำรายวิชา กำหนดการสอนสะเต็มศึกษา ในแต่ละระดับชั้น 5. ครูผู้สอน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีร่วมกันออกแบบการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาแต่ละรายวิชาในแต่ละชั้นปี 6. ออกแบบการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของของสถานศึกษาโดยนำเอาประเด็นที่ใกล้ตัวผู้เรียนมาเป็นประเด็นปัญหาในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 7. ประสานผู้เชี่ยวชาญหรือปราชญ์ชาวบ้านเพื่อร่วมให้ความรู้ในประเด็นที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา 8. จัดหาสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ที่ประกอบการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามที่ร่วมกันออกแบบ 9. ออกแบบการวัดและประเมินผลที่หลากหลายทั้งด้านความรู้ ทักษะด้านต่าง ๆ ที่สำคัญและจำเป็นตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร 10. ดำเนินการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนตามที่ได้ดำเนินการออกแบบไว้ เก็บรวบรวมข้อมูล ข้อดีข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการครั้งต่อไป 11. นำผลการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในครั้งต่อไป 12. จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมวิชาการและแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น อภิปรายผลการจัดการเรียนรู้สะเต็มที่ผ่านมาเน้นการศึกษาเนื้อหาวิชามากกว่าการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต ขาดการเชื่อมโยงไปสู่การนำไปใช้ การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาควรเน้นการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวของผู้เรียนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพศ ศิริสูตร. (2559). สะเต็มสำคัญอย่างไร. เข้าถึงจาก http://kittiphot.esdc.go.th/saranaru/satemsuksasakhayxyangri.

คณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2558).“STEM Education : นโยบายเชิงรุกในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”. เข้าถึงจาก http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/09/STEM-Education.

จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 1, 70-71.

มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและ คณิตศาสตร์ หรือ “สะเต็ม”. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19, 14 – 16.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงจาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/download /169135/121675/.

Baharin, N., Kamarudin, N., & Manaf, U. K. A. (2018). Integrating STEM Education Approach in Enhancing Higher Order Thinking Skills. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8(7), 810–822.

Chokchai Yuenyong (2019). Lesson learned of building up community of practice for STEM education in Thailand(AIP Conference Proceedings 2018). Retrieved from https://doi.org/10.1063/1.5093997.

El Nagdi, M.,Ali Elsayed. (2018). Issues of identity and equity in STEM education STEM teachers identity and gender equity in STEM (Order No. 13422319). Retrieved fromhttps://eric.ed.gov/?id=ED600208.

Kaewurai, W. (2010). A development of learning management model for developing quality of learner leading to moral, wisdom, and learning society. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 6(15), 11-30.

Maya Corneille, Anna Lee, Kimberly N. Harris, Karen T. & Megan Covington. (2020). Developing Culturally and Structurally Responsive Approaches to STEM Education to Advance Education Equity. The Journal of Negro Education, 89(1), 48-57.

Margot, K.C. & Kettler, T. (2019). Teachers’ perception of STEM integration and education a systematic literature review. International Journal of STEM Education, 6, 1-16.