การพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน โดยการใช้การจัดการเรียนรู้ แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย

Main Article Content

สุภัทรา วงศ์เลิศอารักษ์
เกรียงไกร วันทอง
แสงกฤช กลั่นบุศย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจเรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยจำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย ชุดสาธิต และแบบทดสอบวัดความเข้าใจ วิเคราะห์ผลความเข้าใจโดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่าความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนกรณีวัตถุมวลมากมีแรงกระทำมากกว่าวัตถุมวลน้อยขณะวัตถุทั้งสองหยุดนิ่งลดลงจาก
ร้อยละ 100.0 เป็น 13.0 กรณีวัตถุทั้งสองมีอัตราเร็วขณะชนเท่ากันทำให้แรงที่กระทำกันเท่ากันลดลงจากร้อยละ 94.2 เป็น 15.9 และกรณีวัตถุที่มีอัตราเร็วขณะชนมากกว่าทำให้เกิดแรงกระทำมากกว่าลดลงจากร้อยละ 100.0 เป็น 7.2 นอกจากนี้ยังพบว่าหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบายสามารถพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรรยารักษ์ กุลพ่วง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18, 265 - 275.

นิศารัตน์ ทองแดง. (2555). ศึกษาการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ทำนาย-สังเกต-อธิบาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นัชชา แดงงาม และสุระ วุฒิพรหม. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย–สังเกต–อธิบายร่วมกับการสาธิตอย่างง่ายต่อความคิดรวบยอดเรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5, 86 - 93.

น้ำค้าง จันเสริม. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องงานและพลังงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้วิธี Predict-Observe-Explan (POE) (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประภารัตน์ สิงหเสนา. (2552). ผลการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับแผนผังเชิงโต้แย้งที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการประยุกต์ความรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปทุม ช่องคันปอน. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง พลังงานนิวเคลียร์ โดยการจัดการเรียนรู้ 4 MAT ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปิยนุช มาลีหวล และ เดชา ศุภพิทยาภรณ์. (2560). ผลการสอนแบบเพียร์ที่เสริมด้วยกิจกรรมการลงมือปฏิบัติทางฟิสิกส์ต่อมโนทัศน์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7, 87-95.

ไผ่ พันงาม. (2560). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลาย ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบาย ในขั้นสร้างความสนใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิชิตชัย ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เฮ้า ออฟ เคอร์มิสท์.

ยศธร บรรเทิง. (2556). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ของไหลสถิต โดยใช้วิธีการสอนแบบ Predict-Observe- Explain (POE) (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

รสสุคนธ์ ศรีสันดา. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุรศักดิ์ อินสองใจ. (2558). การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปี ที่ 4 เรื่อง แรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยา โดยการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการสอนแบบอุปมา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ The National Graduate Research Conference ครั้งที่ 34 (น.1708-1715). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). SU Model : การประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้. วารสารวิชาการ Veridian

E-Journal, 7, 948.

อำนาจ วิชาพล. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเชื่อมโยงในชีวิตจริง เรื่อง สถิติสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 8, 81 - 88.

อัจฉราพร กันหาอาจ. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์การสืบเสาะโดยใช้การบูรณาการร่วมระหว่างปฏิบัติการทดลองจริงผ่านคอมพิวเตอร์ และสถานการณ์จาลองบนคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการเรียนรู้ เรื่องคุณสมบัติของคลื่นเสียง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The International Conference on Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region (3rd STGMS) and The Second International Conference on Applied Science ครั้งที่ 2(น.24-25). Luang Prabang Prabang: Soupha nouvong University.

David, E Brown. (1989). Students' concept of force: the importance of understanding Newton's third law. Journal of Physics Education, 24, 1353 -358.

Haidar, A.H. (1997). Prospective Chemistry Teachers’ Conception of Conservation of Matter and Related Concept. Journal of Research in Science Teaching, 4, 181-197.