การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์

Main Article Content

ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์
กนิษฐ์ ศรีเคลือบ

บทคัดย่อ

รูปแบบการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำงานในบริบทออนไลน์มากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนครูทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เพื่อออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู (3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนไปใช้ในบริบทจริง ศึกษากับครูจำนวน 360 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (one-way ANOVA) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และการวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการวิจัยด้วยการคิดออกแบบ (Design Thinking) ผลการวิจัยพบว่า ครูมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนค่อนข้างสูง ครูส่วนใหญ่สามารถแบ่งปันความรู้สารสนเทศและเป็นผู้นำในรูปแบบเผชิญหน้ากันได้ดีกว่ารูปแบบทีมเสมือน และครูมีคุณลักษณะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือน 7 ลักษณะ แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนประกอบด้วยแนวทางพื้นฐานจำเป็นต้องสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน สร้างความไว้วางใจ กำหนดและใช้เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันบนพื้นที่ออนไลน์ ฯลฯ และแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครูประกอบด้วย สภาพปัญหา จุดเน้นที่ควรส่งเสริม บทบาทหน้าที่ กิจกรรม/กระบวนการ วิธีการสื่อสาร การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางไปใช้ในบริบทจริงขึ้นอยู่เงื่อนไขด้านความต้องการ ระยะเวลา ความพร้อมของอุปกรณ์และเทคโนโลยี และการร่วมมือกับบุคคลภายนอก จึงควรนำไปใช้อย่างยืดหยุ่น บูรณาการให้สอดคล้องกับความต้องการเลือกแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2559). ทีมงาน (Teamwork): พลังที่สร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธันยพร วณิชฤทธา. (2564). การยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการความรู้ในชุมชน. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”(น.234-239). ขอนแก่น: กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรณทิภาภรณ์ อภิปริญญา และจุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2562). สภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), (OJED1402047)1-12.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 1-28.

สุทธิดา การีมี. (2562). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา เลาหนันท์. (2549). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2563). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การส่งเสริมกระบวนการ PLC ให้มีประสิทธิผล. ใน การประชุมทางวิชาการ คุรุสภา ประจำปี 2561 เรื่อง "ชุนชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: พลังขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย" (น.26-40). กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alsharo, M., Gregg, D., & Ramirez, R. (2017). Virtual team effectiveness: The role of knowledge sharing and trust. Information and Management, 54(4), 479-490.

Chatfield, A. T., Shlemoon, V. N., Redublado, W., & Darbyshire, G. (2014). Creating value through virtual teams: A current literature review. Australasian Journal of Information Systems, 18(3), 257-269.

Ching, C. C., & Hursh, A. W. (2014). Peer modeling and innovation adoption among teachers in online professional development. Computers & Education, 73, 72-82.

Collins, N., Chou, Y.-M., Warner, M., & Rowley, C. (2017). Human factors in East Asian virtual teamwork: a comparative study of Indonesia, Taiwan and Vietnam. The International Journal of Human Resource Management, 28(10), 1475-1498.

Davidavičienė, V., Al Majzoub, K., & Meidute-Kavaliauskiene, I. (2020). Factors Affecting Knowledge Sharing in Virtual Teams. Sustainability, 12(17), 6917(1)- 6917(15).

DuFour, R., & Eaker, R. (2009). Professional learning communities at work tm: best practices for enhancing students achievement. Bloomington, Indiana: Solution Tree Press.

Hairon, S., & Tan, C. (2017). Professional learning communities in Singapore and Shanghai: implications for teacher collaboration. Compare: A Journal of Comparative and International Education, 47(1), 91-104.

Handke, L., Schulte, E.-M., Schneider, K., & Kauffeld, S. (2019). Teams, time, and technology: Variations of media use over project phases. Small Group Research, 50(2), 266-305.

Jonker, H., März, V., & Voogt, J. (2018). Teacher educators' professional identity under construction: The transition from teaching face-to-face to a blended curriculum. Teaching and Teacher Education, 71, 120-133.

Lepsinger, R. (2019, 27 March). 5 Key Elements of Successful Virtual Teamwork.

Retrieved from www.business2community.com/strategy/5-key-elements-of-successful-virtual-teamwork-02184563.

Morley, S., Cormican, K., & Folan, P. (2015). An analysis of virtual team characteristics: A model for virtual project managers. Journal of technology management & innovation, 10(1), 188-203.

Prenger, R., Poortman, C. L., & Handelzalts, A. (2017). Factors influencing teachers’ professional development in networked professional learning communities . Teaching and Teacher Education, 68, 77-90.

Rogers, E. M. (1995). Diffusion of Innovations: modifications of a model for telecommunications. In Die diffusion von innovationen in der telekommunikation (pp. 25-38). Berlin: Springer.

Sergiovanni, T. J. (1994). Building community in schools. San Francisco: Jossey-Bass.

Soper, D. S. (2022). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software].

Retrieved from https://www.danielsoper.com/statcalc.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallace, M., & Thomas, S. (2006). Professional learning communities: A review of the literature. Journal of Educational Change, 7(4), 221-258.

Valentine, M. A., Nembhard, I. M., & Edmondson, A. C. (2015). Measuring Teamwork in Health Care Settings. Medical Care, 53(14, e16-e30.

Watkins, M. (2013). Making virtual teams work: Ten basic principles. Harvard Business Review(JUNE), 27, 1.

West, M. A. (2012). Effective teamwork: Practical lessons from organizational research. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons.

Xing, W., & Gao, F. (2018). Exploring the relationship between online discourse and commitment in Twitter professional learning communities. Computers & Education, 126, 388-398.

Yeh, Y.-c., Huang, L.-y., & Yeh, Y.-l. (2011). Knowledge management in blended learning: Effects on professional development in creativity instruction. Computers & Education, 56(1), 146-156.