อิิทธิพลและความสำคัญของ คัมภีร์โลกัปปทีปกสารที่มีต่อ คัมภีร์โลกศาสตร์บาลีในยุคหลัง ศึกษาในกรณีของ คัมภีร์จักกวาฬทีปนีและคัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐี

Main Article Content

พระมหาชัฏพงศ์ กตปุญฺโญ, ดร.

บทคัดย่อ

คัมภีร์โลกัปปทีปกสาร เป็นคัมภีร์ที่พระสังฆราชเมธังกรของพม่า ผู้เป็นอาจารย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทได้รจนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีเนื้อหาอธิบายขยายความเกี่ยวกับโลก 3 คือ สังขารโลก สัตวโลก และโอกาสโลก (เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกธาตุหรือจักรวาล การก่อตัว และการพินาศของจักรวาล เป็นต้น) เนื้อหาในคัมภีร์ฉบับนี้ครอบคลุมเรื่องราวของภพภูมิ นรก สวรรค์  และจักรวาลวิทยาตามแนวคำสอนในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท อีกทั้งคัมภีร์ ฉบับนี้ยังได้รับการอ้างถึงในคัมภีร์ยุคต่อมาอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในคัมภีร์จักกวาฬทีปนีนั้น มีการอ้างถึงคัมภีร์โลกัปปทีปกสารอยู่เป็นจำนวนมาก, ในคัมภีร์จันทสุริยคติทีปนี และในคัมภีร์โอกาสโลกทีปนี มีการอ้างถึงโลกัปปทีปกสารคัมภีร์ละ 1 แห่ง และในคัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐีแม้จะไม่ได้อ้างถึงโลกัปปทีปกสารเลย แต่เมื่อศึกษาเนื้อหาแล้วก็พบว่ามีอยู่หลายส่วนที่มีความสอดคล้องกัน และมีความเป็นไปได้ที่คัมภีร์ฉบับนี้ได้รับอิทธิพลมาจากโลกัปปทีปกสารอยู่ไม่น้อย ในบทความที่เขียนขึ้น ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาและวิเคราะห์เพื่อหาความกระจ่างว่าคัมภีร์โลกัปปทีปกสารมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการรจนาคัมภีร์โลกศาสตร์บาลีในยุคหลังอย่างไร โดยได้ทำการศึกษาในกรณีของคัมภีร์จักกวาฬทีปนี และคัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐีเป็นหลัก

Article Details

How to Cite
กตปุญฺโญ พระมหาชัฏพงศ์. 2018. “อิิทธิพลและความสำคัญของ คัมภีร์โลกัปปทีปกสารที่มีต่อ คัมภีร์โลกศาสตร์บาลีในยุคหลัง: ศึกษาในกรณีของ คัมภีร์จักกวาฬทีปนีและคัมภีร์โลกสัณฐานโชตรตนคัณฐี”. ธรรมธารา 1 (1):262-86. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160710.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

Okano, Kiyoshi (岡野潔). 1998. “Indo-shōryōbu-no-cosmology-bunken, Risse-abidonron インド正量部のコスモロジー文献、立世阿毘雲論 (คัมภีร์โลกศาสตร์ของนิกายสัมมิติยะในอินเดีย, โลกอุฏฐานอภิธรรมศาสตร์).” Chyu-ō-gakujyutsukenkyujo-kiyō 中央学術研究所紀要 27: 55-91.

Phramahachatpong Chaitongdi. 2009. “The Formation of Lokappadīpakasāra: Focusing on the Seventh Chapter: The Explanation of the Cosmos (Okāsalokaniddesa) [in Japanese].” Journal of Pali and Buddhist Studies 23: 41-55.

Phramahachatpong Chaitongdi. 2013. “A Study on the Sources of Lokappadīpakasāra [in Japanese].” Journal of Indian and Buddhist Studies 61(2): 828-824.

Yoshimoto, Shingyo (吉元信行). 1994. “Pāli-bukkyō-kyōgi-shūsei ‘Sārasaṅgaha’ ni-tsuite パーリ仏教教義集成『サーラサンガハ』について (“สารสังคหะ” ชุมนุมหลักธรรมพระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี).” Bukkyō-kenkyū 仏教研究 24: 125-146.

รุ่งโรจน์ ภิรมอนุกูล. 2549. “แหล่งที่มาและการกำหนดอายุคัมภีร์อรุณวตีสูตร.” ดำรงวิชาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร