ครุธรรม 8 เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติหรือไม่ (2)

Main Article Content

วิไลพร สุจริตธรรมกุล, ดร.

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากบทความในฉบับที่แล้วที่ได้วิเคราะห์ถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับครุธรรม ข้อที่ 1-4 ว่าเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติหรือไม่ ในฉบับนี้จะวิเคราะห์ครุธรรมข้อที่ 5-8 โดยยังคงยึดหลักเดิมคือ ใช้หลักฐานจากคัมภีร์บาลีเป็นหลัก
เพราะหากเราจะแก้ข้อสงสัยในเรื่องใดเกี่ยวกับพระวินัยจำเป็นต้องแยกพิจารณาเป็นนิกายๆ ไป เนื่องจากพระวินัยนิกายต่างกัน จะมีข้อปฏิบัติต่างกัน บทความนี้จะพิจารณาประเด็นปีกำเนิดภิกษุณีกับการกำเนิดพระวินัยของภิกษุสงฆ์ เพื่อช่วยพิจารณาว่า “ธรรมหนัก” นั้นหมายถึงสังฆาทิเสสหรือไม่ จากนั้นจะนำข้อบัญญัติปาจิตตีย์ของภิกษุณีที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับครุธรรม 8 มาพิจารณา เพื่อสร้างความกระจ่างในประเด็นเรื่องการเป็นสิกขมานา 2 ปี และการบวชจากสงฆ์ 2 ฝ่ายว่าได้บัญญัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลหรือเพิ่งบัญญัติเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 1
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอตารางเปรียบเทียบพระวินัยของทั ้งภิกษุ และภิกษุณีในเรื่องวจีกรรม เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ ้นว่าเหตุใดจึงมีครุธรรมข้อที่ 7 ที่ว่าภิกษุณีไม่ควรด่า บริภาษภิกษุ และสุดท้ายได้ตีความในคำว่า “สอน” ของครุธรรมข้อที่ 8 ในกรณีไม่อนุญาตให้ภิกษุณีสอนภิกษุ แต่อนุญาตให้ภิกษุสอนภิกษุณีได้ ในขณะเดียวกันกลับมีกรณีทีภิกษุณีเหมือนสอนภิกษุ ดังนั ้นจึงมาวิเคราะห์คำว่า “สอน” ในที่นี้น่าจะหมายเฉพาะเจาะจงในเรื่องการสอนให้ปฏิบัติ หรือสอนหลักปฏิบัติของนักบวช ซึ่งการวิเคราะห์ทั้งหมดได้คลี่คลายข้อสงสัย นำไปสู่การยืนยันว่าการบัญญัติครุธรรม 8 เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล

Article Details

How to Cite
สุจริตธรรมกุล วิไลพร. 2018. “ครุธรรม 8 เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติหรือไม่ (2)”. ธรรมธารา 2 (1):105-87. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160737.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

Anālayo Bhikkhu. 2014. “On the Bhikkhunī Ordination Controversy.” Sri Lanka International Journal of Buddhist Studies 3 : 1–20.

Mori, Shoji (森章司). 2005. “Mahāpajāpatī Gotamī no-shōkai-to-bikuni-sanga-nokeisei Mahāpajāpatī Gotamī の生涯と比丘尼サンガの形成 (ชีวประวัติพระนางโคตมีเถรีและการกำเนิดภิกษุณี).” 原始仏教聖典資料による釈尊伝の研究 10 (個別研究篇 2): 1-71. Tokyo: Chuo Academic Research Institute.

Nagasaki, Ryokan. 1978. “A Study on the Ordination of Mahāpajāpatī Gotamī Bhiksunī.” Journal of Indian and Buddhist Studies 26 : 655-656. Tokyo: University of Tokyo.

Shi, Hengqin (釋恆清). 1995. Putidaoshangdenuren《菩提道上的女人》(สตรีบนเส้นทางโพธิ). Taipei: Dongda.

Shi, Shengyan (釋聖嚴). 1997. Jielvxuegangyao《戒律學綱要》(เนื้อหาหลักของศีลวินัยศึกษา). Taipei Faguwenhua.

Shi, Zhaohui (釋昭慧). 2001. Qianzaichenyin——xinshijidefojiaonuxingsiwei《千載沉吟——新世紀的佛教女性思維》(บันทึกพันข้อฉงน—แนวความคิดพุทธสตรียุคใหม่). Taiwan: Fajie.

Shi, Zhenguan (釋真觀). 1996. “Congyindudefunushehuidiweikan bajingfa zhidingzhiyiyi〈從印度的婦女社會地位看「八敬法」制定之意義〉(จากสถานภาพทางสังคมของสตรีในอินเดียมองความสำคัญในการบัญญัติ”ครุธรรม 8”).” Yihui 3: 41- 59.

Sucharitthammakul, Wilaiporn (萧贞贞). 2008. “On Gender Discourse in Theravāda Buddhism: From the Interpretation of Original Buddhist Texts to the Contemporary Meaning on Equality.” Collection of Articles on Buddhism By Postgraduate Students 18 : 502-575. Taiwan R.O.C.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. 2544. สตรีในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพ: ส่องสยาม.

บรรจบ บรรณรุจิ. 2539. ภิกษุณี พุทธสาวิกา. กรุงเทพ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสังเวย ธมฺมเนตฺติโก. 2537. ภิกขุณีกับการบรรลุพระอรหันต์. กรุงเทพ: อักษรสมัย.

เมตตานันโท ภิกขุ. 2545. เหตุเกิด พ.ศ. 1 (2), กรุงเทพ: S.P.K Paper and Form.

รังษี สุนทร. 2548. การวิเคราะห์คัมภีร์พระพุทธศาสนา:กรณีภิกษุณีสงฆ์. Bangkok: Mahachularongkorn research institute.

รังษี สุนทร. 2549. “วิพากษ์หนังสือ เหตุการณ์ พ.ศ. 1.” วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ 2 กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรีย์-วิเชียร มีผลกิจ. 2543. พระพุทธกิจ 45 พรรษา. กรุงเทพ: คอมฟอร์ม.