อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, ผศ.ดร.

บทคัดย่อ

อุรังคนิทาน เป็นแม่บทวรรณกรรมแห่งตำนานพระบาทที่บันทึกด้วยภาษาท้องถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานการสร้างพระธาตุต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย รวมถึงในเขตของฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงในลาว วัตถุประสงค์หลักของอุรังคนิทานก็เพื่อทำให้พระธาตุพนมมีความน่าเคารพนับถืออย่างสูง จึงมีการแต่งนิทานขึ ้นมาเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาที่นี่ด้วยพระองค์เอง ทำให้สถานที่นี้ เป็นสถานที่ศักดิสิทธิ ์ ์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง สิ่งที่ติดตาม
มาพร้อมกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าก็คือ ได้เกิดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ ้นหลายแห่ง ดังนั ้น อุรังคนิทานจึงเอื ้อประโยชน์ในการสร้างความศักดิสิทธิ์ให้กับพุทธศาสนสถานที่อยู่ไม่ห่างจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงในประเทศไทยและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงในประเทศลาว การสร้างวรรณกรรมแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับวรรณกรรมปุราณะในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในอินเดียราวตอนต้นสมัยราชวงค์คุปตะ
พุทธศาสนสถานริมฝั่งแม่น้ำโขงที่มีอายุเก่าที่สุดอยู่ในราวสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-13) ดังนั ้น อายุของอุรังคนิทานก็คงมีอายุไม่เกินสมัยทวารวดี และไม่น่าจะเก่าไปถึงสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยกษัตริย์แห่งศรีลังกา (พ.ศ.442-466) ตามที่อุรังคนิทานอ้าง เนื่องจากอุรังคนิทานมีเนื้อหาคล้ายกับอุรังคธาตุที่แต่งขึ้นในสมัยของพระเจ้าอริยวงสาแห่งอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ.2181-2233) จึงน่าจะแต่งขึ้นในระยะเวลาที่ไม่ห่างกัน


Article Details

How to Cite
ประพันธ์วิทยา จิรพัฒน์. 2018. “อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. ธรรมธารา 2 (1):189-206. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160741.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542ก. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดนครพนม. กรุงเทพ ฯ : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542ข. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพ ฯ : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542ค. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดหนองคาย. กรุงเทพ ฯ : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2542ง. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพ ฯ : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. 1994. อุรังคธาตุ. กรุงเทพ ฯ: เรือนแก้ว.

พระเทพรัตนโมลี (แก้ว). 2512. อุรังคนิทาน: ตำนานพระธาตุพนม. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร.

พเยาว์ เข็มนาค. 2533. ศิลปถ้ำ “กลุ่มบ้านผือ” จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ:1 กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. 2537. อุรังคธาตุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

Chaṭṭha Saṅgāyana. 1999. CD-ROM version 3. Igatpuri: Vipassana Research Institute.

Cœdès, George. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. edited by Walter. F. Vella, translated by Susan Brown Cowing. Honolulu: An East-West Center Book.

Malalasekera, G. P.(Gunapala Piyasena) 1958. The Pāli Literature of Ceylon. Colombo: M.D. Gunasena. Reprinted.

Rahula, Walpola. 1956. History of Buddhism in Ceylon: the Anurādhapura Period, 3rd Century BC-10th Century AC. Colombo: Gunasena.

Tatelman, Joel. 2001. The Glorious Deeds of Pūrṇa: A Translation and Study of the Pūr- ṇāvadāna. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers.

Vaidya, P.L. 1959. Buddhist Sanskrit Texts No. 20: Divyāvadāna. Darbhanga: The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning.