การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานเพื่อวินิจฉัยคำต่างในพระไตรปิฎก กรณีศึกษาจากสุภสูตรแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงประวัติความเป็นมาโดยสังเขปของพระไตรปิฎก 4 ฉบับหลักที่ได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทยฉบับสยามรัฐ พระไตรปิฎกบาลีอักษรพม่าฉบับฉัฏฐสังคีติ พระไตรปิฎกบาลีอักษรสิงหลฉบับพุทธชยันตี และพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันฉบับสมาคมบาลีปกรณ์แห่งประเทศอังกฤษ พร้อมทั้งนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานจาก 5 สายจารีต คือ อักษรสิงหล อักษรพม่า อักษรมอญ อักษรขอม และอักษรธรรม เพื่อช่วยวินิจฉัยปัญหาคำต่าง (Variant reading) ที่พบในพระไตรปิฎก โดยจะยก “สุภสูตร” แห่งคัมภีร์ทีฆนิกายมาเป็นกรณีศึกษา
เมื่อนำข้อความจากพระไตรปิฎกบาลีฉบับพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับข้างต้นมาเปรียบเทียบกัน จะพบว่ามีข้อความหรือคำอ่านบางแห่งไม่ตรงกัน ทางวิชาการเรียกว่ามีคำต่างเกิดขึ้น ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าคำอ่านของพระไตรปิฎกบาลีฉบับใดเป็นคำอ่านที่ดั้งเดิมกว่ากัน หลักวิชาการที่ใช้ตอบปัญหานี้เรียกว่า การตรวจชำระเชิงวิเคราะห์ (Textual criticism) มีขั้นตอนตั้งแต่การรวบรวมคัมภีร์ใบลานเก่าแก่จากทุกสายจารีตนำมาเป็นต้นฉบับแล้วศึกษาเปรียบเทียบกันและนำหลักฐานอื่น เช่น อรรถกถา ฎีกา ฯลฯ มาประกอบการวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยหาคำอ่านที่ดั้งเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การสืบทอดพระไตรปิฎกบาลีมีความถูกต้องแม่นยำสูงมาก ผู้วิจัยพบคำต่างปรากฏอยู่ในสุภสูตรเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีคำต่างใดทำให้ใจความหลักของพระสูตรเปลี่ยนไป อีกทั้งข้อมูลคำต่างที่พบยังฉายภาพให้เห็นพัฒนาการของภาษาบาลี ลักษณะการสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎก และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย
Article Details
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
กรมพระดำรงราชานุภาพ. 2459. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แลหอสมุดสำหรับพระนคร. กรุงเทพ: โสภณพิพรรฒธนากร.
แม่ชีวิมุตติยา (สุภาพรรณ ณ บางช้าง). 2557. พระไตรปิฎกฉบับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ: คราฟแมนเพรส.
กองทุนสนทนาธรรมนำสุข. 2549. บันทึกโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน. กรุงเทพ.
Balbir, Nalini. 2009. “Thoughts about ‘European Editions’ of Pāli Texts.” Thai International Journal for Buddhist Studies 1: 1–19.
Bunchird Chaowarithreonglith. 2018. “Variant Readings in the Subhasutta of the Dīghanikāya: Based on Palm-leaf Manuscripts from Five Tradtions.” Journal of Indian and Buddhist Studies 66-3: 58–63.
Chalmers, Robert. 1898. “The King of Siam’s Edition of the Pāli Tipitaka.” Journal of the Royal Asiatic Society 30-1, 1-10.
Clark, Chris. 2015a. “A Study of the Apadāna, Including an Edition and Annotated Translation of the Second, Third, and Fourth Chapters.” PhD Thesis. University of Sydney
Clark, Chris. 2015b. “The Sixth Buddhist Council: Its Purpose, Presentation, and Product.” The Journal of Burma Studies 19-1: 79–112.
Hamm, Frank Richard. 1973. “On Some Recent Editions of the Pāli Tipiṭaka.” German Scholars on India: Contributions to Indian Studies, ed. New Delhi Cultural Department of the Embassy of the Federal Republic of Germany. Varanasi: Chowkhamba Sanskrit Series Office, 123–35. อ้างโดย Clark (2015a).
von Hinüber, Oskar. 1983. “Pāli Manuscripts of Canonical Texts from North Thailand ― A Preliminary Report.” Journal of the Siam Society 71: 75-88.
Hirakawa, Akira (平川彰). 2000. Ritsuzō-no- kenkyū 律蔵の研究. vol.2. Tokyo: Shunjusha 春秋社.
Norman, K. R. 1997. A Philological Approach to Buddhism. The Buddhist Forum, vol. 5. London: School of Oriental and African Studies.
Oldenberg, Hermann. 1879. Dīpavaṃsa – An Ancient Buddhist Historical Record, edited and translated by Hermann Oldenberg. UK: PTS.
Shimoda, Masahiro (下田正弘). 1997. Nehankyō-no-kenkyū: Daijō-butten-no-kenkyū-hōhōron『涅槃経の研究:大乗経典の研究方法試論』. Tokyo: Shunjusha 春秋社.
Somaratne, G. A. 2015. “Middle Way Eclecticism: The Text-Critical Method of the Dhammachai Tipiṭaka Project.” Journal of Buddhist Studies 12: 207–239.
Wessels-Mevissen, C. 2001. The Gods of the Directions in Ancient India: Origin and Early Development in Art and Literature (until c. 1000 A.D.). Berlin: Dietrich Reimer Verlag.
Wynne, Alexander. 2013. “A Preliminary Report on the Critical Edition of the Pāli Canon Being Prepared at Wat Phra Dhammakāya.” Thai International Journal for Buddhist Studies 4: 135–170
Yamazaki, Mori-ichi (山崎守一). 1998. “PTS Ban Tekisuto-no-kenkai: Dīganikāya wo chūshin ni. PTS版テキストの限界―『ディーガ・ニカーヤ』を中心に.” Bukkyō-kenkyū 仏教研究 27: 137-149.