คาถาชาดกพากย์จีนที่มีความสอดคล้องกับชาดกบาลี: ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ Their Correspondence with Stanzas in the Jātakapāli

Main Article Content

ชาคริต แหลมม่วง

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจ แปล รวมทั้งศึกษาคาถาชาดกที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาทั้งในพระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์หินยานพากย์จีน โดยกำหนดขอบเขตเฉพาะคาถาที่สอดคล้องกัน ซึ่งใช้ประกอบในชาดกเรื่องเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน

     ในบทความนี้ ได้นำเสนอความสอดคล้องกันของชาดกบาลี 37 คาถากับคาถาชาดกพากย์จีน 58 คาถา คาถาพากย์จีนนี้มีปรากฏในพระวินัยของนิกาย(มูล)สรวาสติวาท มหาสังฆิกะ มหิศาสกะ ธรรมคุปต์ และในพระสูตร คือ ทีรฆาคม มัธยมาคม สังยุกตาคม เอโกตตราคม ธรรมบทอวทาน อุทานวรรค ชาตกะ พุทธจริตสังคหะ นับเป็นคาถาที่มีข้อมูลสนับสนุนว่ามีปรากฏอย่างช้าสุดในยุคแตกนิกาย(หินยาน) และได้รับสืบทอดต่อกันมาอย่างแพร่หลายใน 2 นิกายขึ้นไป

     จากการศึกษาคาถาที่สอดคล้องกัน พบประเด็นเพิ่มเติม คือ (1) ชาดกบาลี 2 คาถาเอื้อประโยชน์ต่อการสืบค้นความหมายคำแปล
ทับศัพท์ 2 คำในพากย์จีน (2) คาถาพากย์จีน 2 คาถา สามารถใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตรวจชำระชาดกบาลี 2 คาถา ซึ่งมีจุดที่ต่างกันอยู่ในฉบับต่างๆ ได้ (3) คาถาสันสกฤตบางคาถามีความสอดคล้องกับคาถาพากย์จีน แต่มีใช้บางคำแตกต่างจากในคาถาบาลี อย่างไรก็ตามความหมายของคำทั้งสองนั้นยังคงมีความใกล้เคียงหรือเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก (4) คาถาสันสกฤตที่มีความสอดคล้องกับคาถาพากย์จีน บางคาถามีความหมายเหมือนกับคาถาบาลี แต่บางคำในพากย์จีนนั้นอาจจะแปลโดยใจความ (มิได้แปลตรงตัวตามอักษร) หรือใช้ต้นฉบับที่ค่อนข้างแตกต่างจากฉบับสันสกฤตที่มีอยู่ในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
แหลมม่วง ชาคริต. 2019. “คาถาชาดกพากย์จีนที่มีความสอดคล้องกับชาดกบาลี: ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ: Their Correspondence With Stanzas in the Jātakapāli”. ธรรมธารา 5 (2):101-72. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/192213.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Author Biography

ชาคริต แหลมม่วง, นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาเอเชียใต้ศึกษา คณะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ชาคริต แหลมม่วง

อีเมล์ : cha072@hotmail.com
เปรียญธรรม 8 ประโยค

การศึกษา
- (ปัจจุบัน) นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาเอเชียใต้ศึกษา คณะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีอินเดีย) มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
- พุทธศาสตรบัณฑิต (บาลีพุทธศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Bookmark and Share

References

ปัทมา นาควรรณ. 2556. “การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทานเรื่องที่ 1-19”, ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Buddhadatta, A.P.. 2009. “Bahancidian《巴漢詞典》พจนานุกรมบาลีจีน.” translated by Mahāñāṇo. Accessed May 14, 2019, https://www.dhammarain.org.tw/books/concise-pali-Han-revised-by-Ven-Metta-2009.htm.

Duan, Qing (段晴). 2016. “Muqiuzhiyu木球之喻The Metaphor of the Wooden Ball.” Sichouzhilushangdezhaoshibei: “Zhongguoyuyilang: sichouzhilushangdewenhuajiaoliu” guojiyantaohuilunwenji《丝绸之路上的照世杯:“中国与伊朗:丝绸之路上的文化交流” 国际研讨会论文集》(ถ้วย Jamshid ในเส้นทางสายไหม: รวมบทความงานสัมมนานานาชาติ “จีนและอิหร่าน: การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในเส้นทางสายไหม”). 31-39. Shanghai: Zhongxishuju.

Hikata, Ryūshō (干潟龍祥). 1978. Kaitei-zōho-ban Honshōkyō-rui-no-shisō-shiteki-kenkyū: Fuhen 改訂増補版 本生経類の思想史的研究: 附篇 (งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ของแนวคิดในคัมภีร์ชาดกและคัมภีร์เทียบเคียง: ภาคผนวก ฉบับปรับปรุง). Tokyo: Sankibo-busshorin.

Lv, Jianfu. 2015. “The Influence of Buddhist Cosmology on the Idea of the Geographical

Center in Pre-Modern China.” Buddhism. edited by Lou Yulie. translated by Pei-Ying Lin. 255-287. Leiden: Brill.

Lv, Lihua (呂麗華). 2001. “Jingwubensheng——Jāgarajātaka yizhujiyuyifenxi 《警寤本生》──Jāgarajātaka譯注及語義分析(ชาครชาดก: อธิบายคำแปลและวิเคราะห์ความหมาย).” Zhonghuafoxueyanjiu 《中華佛學研究》 (งานวิจัยทางพุทธศาสตร์ของจีน) 5: 1-25.

Monier-Williams, Sir Monier. 1960. A Sanskrit-English Dictionary. Oxford: The Clarendon Press.

Murray, Hugh, John Crawfurd, Peter Gordon, Captain Thomas Lynn, William Wallace, and Gilbert Burnett. 1836. An Historical and Descriptive Account of China, vol.3. Edinburgh: Oliver & Boyd.

Pulleyblank, Edwin G.. 1991. Lexicon of Reconstructed Pronunciation in Early Middle Chinese, Late Middle Chinese, and Early Mandarin. Vancouver: University of British Columbia.

Ye, Shaoyong. 2011. Zhonglunsonyufohushi—jiyuxinfaxianfanwenxiebendewenxianxueyanjiu《<中论颂>与<佛护释>——基于新发现梵文写本的文献学研究》Mūlamadhyamakakārikā and Buddhapālita’s Commentary: A Philological Study on the Basis of Newly Identified Sanskrit Manuscripts. Shanghai: Zhongxishuju.

Yuyama, Akira. 2001. The Mahāvastu-Avadāna In Old Palm-Leaf and Paper Manuscripts, vol.1. Tokyo: The Centre for East Asian Cultural Studies for Unesco.