จารึกเสาแปดเหลี่ยมชัยนาท: จารึกอรรถกถาอภิธรรมที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

Main Article Content

U-tain Wongsathit

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำอ่าน และการตีความที่มาของเนื้อความภาษาบาลีในจารึกเสาแปดเหลี่ยม จังหวัดชัยนาท ที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งจัดว่าเป็นจารึกของอาณาจักรทวารวดี ด้วยวิธีการศึกษาทางอักขรวิทยาโบราณและการสืบค้นเปรียบเทียบข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
        จากผลการอ่าน การตีความใหม่ และจากการเปรียบเทียบข้อความพบว่า ข้อความภาษาบาลีดังกล่าวเป็นคาถาในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี ซึ่งเป็นอรรถกถาอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์ ตอนว่าด้วยวรรณนา สุตตันตภาชนียะ คัมภีร์สัมโมหวิโนทนีนี้แต่งขึ้นโดยพระพุทธโฆสาจารย์ในราวปี พ.ศ. 956 ที่ศรีลังกา จารึกเสาแปดเหลี่ยมชัยนาท หลักนี้จึงเป็นหลักฐานข้อความอรรถกถาอภิธรรมปิฎกที่เก่าที่สุดในประเทศไทยและเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาเถรวาทระหว่างศรีลังกาและทวารวดี

Article Details

How to Cite
Wongsathit, U-tain. 2020. “จารึกเสาแปดเหลี่ยมชัยนาท: จารึกอรรถกถาอภิธรรมที่เก่าที่สุดในประเทศไทย”. ธรรมธารา 6 (1):55-77. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/224729.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Author Biography

U-tain Wongsathit, 0886265996

Faculty of Archaeology
Bookmark and Share

References

─1. คัมภีร์

มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ. ชุด 45 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2538.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. อรรถกถาบาลี ฉบับสยามรัฐ. ชุด 45 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2538.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. ชุด 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2555.

─2. หนังสือ

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วรรณคดีบาลี. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.

บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ. รายงานผลการวิจัยเรื่อง การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, 2553.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย: จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2529.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: หอรัตนชัยการพิมพ์, 2540.

หอสมุดแห่งชาติ. จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 อักษรปัลลวะหลังปัลลวะพุทธศตวรรษที่ 12-14. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ, 2529.

หอสมุดแห่งชาติ. จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 อักษรปัลลวะหลังปัลลวะพุทธศตวรรษที่ 11-14. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ, 2559.

หอสมุดแห่งชาติ. จารึกในประเทศไทย เล่ม 2 อักษรปัลลวะหลังปัลลวะอักษรมอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ 12-21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ, 2559.

─3. บทความ

จารึก วิไลแก้ว. “การขุดค้นทางโบราณคดีที่ฐานธรรมจักร.” โบราณคดีเมืองอู่ตะเภา, (2534): 18-19.

ชะเอม แก้วคล้าย. “ภาคผนวก: จารึกธรรมจักรและเสาแปดเหลี่ยม.” โบราณคดีเมืองอู่ตะเภา, (2534): 178-181.

ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกธรรมจักรและเสาแปดเหลี่ยม.” วารสารศิลปากร, ปีที่ 43, ฉบับที่ 1, (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2543): 41-52.

─4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. จารึกภาษาบาลี. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/search.

ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. จารึกเสาแปดเหลี่ยม (ชัยนาท). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562. https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/75.

เฟซบุ๊กพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562. https://www.facebook.com/chainatmunimuseum/.

เฟซบุ๊กกลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562. https://www.facebook.com/prfinearts/.