การใช้อรรถกถาวินิจฉัยศัพท์ดั้งเดิม: กรณีศึกษาคัมภีร์ทีฆนิกาย

Main Article Content

บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์

บทคัดย่อ

        คัมภีร์อรรถกถาบาลีถือเป็นแหล่งข้อมูลขนาดมหึมาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาการสืบทอดพระไตรปิฎกบาลี บทบาทของคัมภีร์อรรถกถายังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยวินิจฉัยหาคำศัพท์ดั้งเดิมจากบรรดาคำต่างที่ไม่ลงรอยกันที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานรวมถึงฉบับพิมพ์ต่างๆ บทความนี้จะยกตัวอย่างปัญหาคำต่างที่พบในคัมภีร์ทีฆนิกาย พร้อมอธิบายการนำคัมภีร์อรรถกถาที่มีชื่อว่าสุมังคลวิลาสินีมาใช้ในการช่วยวินิจฉัยหาคำศัพท์ดั้งเดิมในพระไตรปิฏก สำหรับต้นฉบับใบลานที่เป็นคัมภีร์ทีฆนิกายนั้นได้รวบรวมโดยโครงการพระไตรปิฎกวิชาการ ประกอบด้วยคัมภีร์ใบลาน 5 สายจารีต ได้แก่ สายอักษรสิงหล พม่า ขอม ธรรม และมอญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 48 ฉบับ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้แสดงแนวทางการนำคัมภีร์อรรถกถามาใช้งานไว้ 4 แนวทาง คือ (1) ใช้คัมภีร์อรรถกถาเป็นจุดอ้างอิงร่วมกันของนักวิชาการ (2) ใช้บทตั้งในอรรถกถาในฐานะที่เป็นคำศัพท์เก่าแก่ในสมัยพระพุทธโฆสาจารย์ (3) ใช้ตัวช่วยจากข้อมูลที่พบในอรรถาธิบายของอรรถกถาจารย์ และ (4) ใช้ค้นหาคำต่างโบราณอื่นๆ จากสมัยพระพุทธโฆสาจารย์ การฝึกฝนนำคัมภีร์อรรถกถามาใช้งานในรูปแบบดังกล่าว ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาคัมภีร์อรรถกถาผ่านภูมิทัศน์แบบใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้คัมภีร์บาลีแบบ Active Learning เนื่องจากผู้ศึกษาต้องอ่านต้นฉบับบาลีและทำความเข้าใจอรรถกถาจากแง่มุมต่างๆ โดยต้องศึกษาเปรียบเทียบคำต่าง คิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบด้วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา

Article Details

How to Cite
ชวลิตเรืองฤทธิ์ บรรเจิด. 2020. “การใช้อรรถกถาวินิจฉัยศัพท์ดั้งเดิม: กรณีศึกษาคัมภีร์ทีฆนิกาย”. ธรรมธารา 6 (1):115-57. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/229996.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. บทความ

บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานเพื่อวินิจฉัยคำต่างในพระไตรปิฎก: กรณีศึกษาจากสุภสูตรแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย,” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8), (มกราคม-มิถุนายน 2562): 118-158.

• ภาษาต่างประเทศ

─1. หนังสือภาษาอังกฤษ

von Hinüber, Oskar. A Handbook of Pāli Literature. Berlin: Walter de Gruyter, 1996.

Mayeda, Egaku (前田恵学). Genshi-bukkyō-seiten No Seiritsu-shi-kenkyū 原始仏教聖典の成立史研究. 7th edition (First edition in 1964). Tokyo: Sankibo-busshorin 山喜房佛書林, 1999.

Treckner, Vilhelm. Majjhimanikāya Vol. I. Reprint (First edition in 1888). London: Pali Text Society, 1979.

Wille, Klaus. Sanskrithandschriften aus den Turfanfunden Teil 10. Stuttgart: Franz Steiner Verlag, 2008.

─2. พจนานุกรม

Treckner, Vilhelm. A Critical Pāli Dictionary vol. I-III. Edited by Dines Andersen, Helmer Smith, Hans Hendriksen, Oskar von Hinüber, Ole Holten Pind, and an international body of Pāli scholars. Copenhagen: Royal Danish Academy of Sciences and Letters, 1924-1992.

Pali Text Society. The Pali Text Society’s Pali-English dictionary (1921-1925). London: Pali Text Society, 1921-1925.

─3. บทความภาษาอังกฤษ

von Hinüber, Oskar. “Building the Theravāda Commentaries.” Journal of the International Association of Buddhist Studies, 36/37, (2015): 353-388.

Horner, I. B.. “Keci, “Some,” in a Pali Commentary.” Journal of the International Association of Buddhist Studies, 1-2, (1979): 52-56.

Somaratne, G. A.. “Middle Way Eclecticism: The Text-Critical Method of the Dhammachai Tipiṭaka Project.” Journal of Buddhist Studies, 12, (2015): 207–239.

Wynne, Alexander. “A Preliminary Report on the Critical Edition of the Pāli Canon Being Prepared at Wat Phra Dhammakāya.” Thai International Journal for Buddhist Studies, 4, (2013): 135–170.

─4. วิทยานิพนธ์

Clark, Chris. “A Study of the Apadāna, Including an Edition and Annotated Translation of the Second, Third, and Fourth Chapters.” PhD diss., University of Sydney, 2015.