นรกภูมิในไตรภูมิ-พระมาลัย: ความสัมพันธ์กับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ด้านเนื้อหาเรื่องนรกภูมิในไตรภูมิ-พระมาลัยซึ่งเป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์สมัยอยุธยากับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏเนื้อหาเรื่องนรกภูมิ คือ พระไตรปิฎกฉบับต่างๆ คัมภีร์โลกทีปกสาร คัมภีร์โลกบัญญัติและคัมภีร์จักรวาลทีปนี ผลการศึกษาพบว่า ไตรภูมิ-พระมาลัยมีลักษณะของเนื้อหาหลักร่วมกับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ 1) การพรรณนาถึงสภาพของมหานรกและชื่อของมหานรกขุมต่างๆ มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก เทวทูตสูตร สังกิจจชาดกและคัมภีร์โลกทีปกสาร 2) มหานรกขุมต่างๆ บุพกรรมและการเสวยทุกขเวทนาของสัตว์นรก มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับคัมภีร์โลกทีปกสารและโลกบัญญัติ 3) อุสุทนรก (นรกบ่าว) มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก เทวทูตสูตร สังกิจจชาดกและคัมภีร์โลกบัญญัติ 4) ยมโลก มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก เนมิราชชาดก 5) การเปรียบเทียบอายุของสวรรค์ มนุษย์และมหานรก มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก วิตถตุโปสถสูตร คัมภีร์โลกทีปกสารและจักรวาลทีปนีลักษณะร่วมสำคัญ คือ ชื่อนรก
ลักษณะทางกายภาพของนรก บุพกรรมเมื่อเป็นมนุษย์ของสัตว์นรก ทุกขเวทนาของสัตว์นรก ตลอดจนการเปรียบเทียบอายุของสวรรค์ฉกามาพจร มนุษย์และนรก แต่ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย ดังนั้นไตรภูมิ-พระมาลัย จึงเป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคติทางพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
บรรณานุกรม
• ภาษาไทย
─1. คัมภีร์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง., 2549.
─2. หนังสือ
กรมศิลปากร. จักรวาลทีปนี. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร, 2523.
กรมศิลปากร. ไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส. กรุงเทพมหานคร:กรมศิลปากร, 2554.
กรมศิลปากร. โลกทีปกสาร. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.
กรมศิลปากร. โลกบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2528.
พระยาธรรมปรีชา (แก้ว). ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฉบับที่ 2 (ไตรภูมิฉบับหลวง) เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2520.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี เลขที่ 10 เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2542.
─3. บทความ
ภัครพล แสงเงิน. “คติพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส,” วารสารรมยสาร, ปีที่ 15, ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 125-136.
กรมศิลปากร. “จากอวสานถึงเริ่มใหม่: ยุคพระศรีอาริยเมตไตรยในไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส,” วารสารไทยศึกษา, ปีที่ 12, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559): 1-15.
กรมศิลปากร. “ลักษณะสำคัญของพระมาไลยฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส,” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, ปีที่ 26, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 285-315.
─4. วิทยานิพนธ์
ณพล พรประศาสน์สุข. “จารึกและเอกสารไทยสมัยอยุธยา: การศึกษาเชิงอักขรวิทยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
ภัครพล แสงเงิน. “ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส: การศึกษาเชิงวิเคราะห์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557.
─5. ข้อมูลจากเว็บไซต์
เว็บไซต์ทีนิวส์. “นรกภูมิจากสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี.” สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563. https://www.tnews.co.th/religion/307213.