แบบจำลองแนวคิดของการพัฒนาเชิงทวิมิติเพื่อการเข้าถึงความสุขด้วยกระบวนการการตอบสนองทางชีวภาพ (ไบโอฟีดแบค)

Main Article Content

Sanu Mahatthanadull

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยเชิงคุณภาพต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการเข้าถึงความสุขตามหลักการของพระพุทธศาสนาและแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH), (2) เพื่อศึกษาทฤษฎีการตอบสนองทางชีวภาพ (ไบโอฟีดแบค) และ (3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองแนวคิดของการพัฒนาเชิงทวิมิติเพื่อการเข้าถึงความสุขโดยกระบวนการการตอบสนองทางชีวภาพ (ไบโอฟีดแบค) ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงเอกสารพร้อมทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล 8 ท่านจาก 6 ประเทศที่เป็นพระภิกษุและนักวิชาการชาวพุทธ ตรวจสอบ IOC โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการเข้าถึงความสุขเหนือความสุข ในขณะที่ข้อปฏิบัติของความสุขมวลรวมประชาชาติเน้นทางสายกลาง วิถีแห่งความสันโดษ และการมีส่วนร่วมทางสังคม หากนำเครื่องมือไบโอฟีดแบค มีการตรวจคลื่นสมอง (EEG) เป็นต้น มาประยุกต์ใช้กับการฝึกกรรมฐานตามแนวพุทธ จะทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถประเมินความสุขในสมาธิของตนในรูปแบบที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมเกิดสมาธิสุข อาทิ ปราโมทย์ ปีติ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตสรีรวิทยาของร่างกาย การตรวจวัดคลื่นสมอง (brainwaves) โดยไบโอฟีดแบ็คเป็นการช่วยให้ข้อมูลแบบ “ย้อนกลับ” อย่างรวดเร็วและแม่นยำแก่ผู้ปฏิบัติธรรมในการบริหารจัดการความสุขเหล่านั้นเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ดังตัวแบบจำลองการพัฒนาแบบทวิมิติเพื่อการเข้าถึงความสุขคือ (1) มิติทางจิตใจ หมายถึงการพัฒนาจิตใจเพื่อเข้าถึงความสุขในสมาธิ 5 อย่าง ได้แก่ ปราโมทย์, ปีติ, ปัสสัทธิ, สุข และ สมาธิ (2) มิติทางปัญญา หมายถึงการพัฒนาปัญญาเพื่อการเข้าถึงพระนิพพานความสุขสูงสุดแห่งมวลมนุษยชาติ

Article Details

How to Cite
Mahatthanadull, Sanu. 2020. “แบบจำลองแนวคิดของการพัฒนาเชิงทวิมิติเพื่อการเข้าถึงความสุขด้วยกระบวนการการตอบสนองทางชีวภาพ (ไบโอฟีดแบค)”. ธรรมธารา 6 (2):3-28. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/240549.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.

• ภาษาต่างประเทศ

─1. หนังสือภาษาอังกฤษ

Culbert, Timothy and Gerard A. Banez. “Pediatric Applications.” in Biofeedback: a Practitioner’s Guide. 4th edition. Edited by Mark S. Schwartz and Frank Andrasik. New York: The Guilford Press, 2016.

Gilbert, C. and D. Moss. “Biofeedback and Biological Monitoring,” in Handbook of Mind-body Medicine for Primary Care: Behavioral and Psychological Tools. Edited by D. Moss, A. McGrady, T.C. Davies and I. Wickramasekera. Thousand Oaks: Sage Publications, 2003.

Planning Commission. Bhutan 2020: A Vision for Peace, Prosperity and Happiness, Part I-II. Thimphu: Planning Commission, Royal Government of Bhutan, 1999.

RGoB. Bhutan National Human Development Report. Thimphu: Royal Government of Bhutan, 2005.

Schroeder, Kent. Politics of Gross National Happiness: Governance and Development in Bhutan. Cham, Switzerland: Springer Nature, 2018.

─2. บทความภาษาอังกฤษ

Dvorznak, MJ., RA Cooper, TJ O’Connor, and ML Boninger. “Braking Study.” Reh ab R&D Prog Rpts, (1997): 294-295.

Hargens, S. B. F.. “Integral development: Taking the ‘Middle Path’ towards Gross National Happiness.” Journal of Bhutan Studies, Vol. 6, (2002): 24-87.