การโค้ชชีวิต: มุมมองของจิตบำบัดและการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ

Main Article Content

Sanu Mahatthanadull

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจสาระสำคัญของการโค้ชชีวิต (life coaching) ผ่านมุมมองของพระพุทธศาสนาด้านจิตบำบัดกับการให้คำปรึกษา คำว่า “จิตบำบัดกับการปรึกษาเชิงพุทธ” เป็นส่วนผสมที่ได้จากการบูรณาการระหว่าง 2 แนวคิดทั้งทางด้านพระพุทธศาสนาและหลักจิตบำบัดและการให้คำปรึกษาในจิตวิทยาตะวันตก มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดเพื่อย้ายภพภูมิของผู้เข้ารับการบำบัด จิตบำบัดกับการปรึกษาเชิงพุทธสามารถดำเนินการได้ 5 วิธีการคือ 1) การทำ TIR 3 ขั้นตอน 2) จิตบำบัดบนรากฐานของอริยสัจ 4 3) เกื้อกูล ไม่ก้าวก่าย โดยยึดหลักพรหมวิหาร 4 4) ใช้หลัก ภพ 3 และภูมิ 31 เป็นแผนที่ในการเดินทาง 5) รู้จักหลีกเลี่ยงคำถามบางประเภท
     การโค้ชชีวิตหรือไลฟ์โค้ช (life coach) แม้จะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในสังคมไทยรวมถึงเป็นปรากฏการณ์ในรูปแบบใหม่ของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่คนไทยทุกคนให้ความสนใจ แต่กระนั้นก็อาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับชาวไทย กรณีตัวอย่างบางตัวอย่างที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงจุดด่างพร้อยของความโปร่งใสที่จุดชนวนให้ไฟแห่งความลังเลสงสัยของประชาชนที่มีต่อพฤติกรรมและเจตนาที่คลุมเครือของตัวไลฟ์โค้ชเองนั้นปะทุขึ้นแล้วในสังคมไทย สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนอันทรงคุณค่าให้กับทั้งผู้ประกอบอาชีพไลฟ์โค้ชทั้งหลาย รวมไปถึงไลฟ์โค้ชรุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพในสังคมไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
Mahatthanadull, Sanu. 2021. “การโค้ชชีวิต: มุมมองของจิตบำบัดและการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ”. ธรรมธารา 7 (1):135-70. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244290.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ขุทฺทกนิกาเย ชาตกปาฬิยา สํวณฺณนาภูตา ชาตกฏฺฐกถา สตฺตโม ภาโค วีสติ-จตฺตาลีสนิปาตวณฺณนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2535.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปปญฺจสูทนียา นาม มชฺฌิมนิกายฏฺฐกถาย มูลปณฺณาสกวณฺณนา (ทุติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2532.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มโนรถปูรณิยา นาม องฺคุตฺตรนิกายฏฺฐกาย ทุกาทินิปาตวณฺณนา (ทุติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2533.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มโนรถปูรณิยา นาม องฺคุตฺตรนิกายฏฺฐกาย ปญฺจกาทินิปาตวณฺณนา (ตติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2533.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2534.

─2. หนังสือ

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประกาศเกียรติคุณและรางวัลด้านการเรียนการสอนและการวิจัย. คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา (หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2555). คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2555.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2560). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2559). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. คู่มือการศึกษาหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, 2529.

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2560). วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

─3. พจนานุกรม

พระธรรมปิฎก (ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.

─4. วิทยานิพนธ์

สานุ มหัทธนาดุลย์. “การศึกษาวิเคราะห์สังโยชน์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.

─5. รายงานวิจัย

โสรีช์ โพธิแก้ว. “การประยุกต์อริยสัจ 4 ของพระพุทธศาสนากับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตรักษา.” รายงานวิจัย, คณะจิตวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

─6. ข้อมูลจากเว็บไซต์

กรุงเทพธุรกิจ. “แจ้งจับ ‘ฌอน บูรณะหิรัญ’ 3 ข้อหา ฐานฉ้อโกง-ยักยอกทรัพย์ และพรบ.คอมฯ.” 2 กรกฎาคม 2563, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/887617.

ไทยรัฐออนไลน์. “สรุปดราม่า ‘ฌอน บูรณะหิรัญ’ โดนแฉยับหลังชม ‘บิ๊กป้อม’ สู่ปมเงินบริจาคดับไฟป่า 8 แสน.” สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2563, https://www.thairath.co.th/news/society/1877803.

เรื่องเล่าเช้านี้. “ปลูกต้นไม้ สะเทือนไลฟ์โค้ช: สรุปดราม่าเดือด#ฌอนบูรณะหิรัญ ชมบิ๊กป้อมคนดี ชาวเน็ตแซะตรรกะป่วย สู่ยอดไลก์ลดหลักล้าน!.” 25 มิถุนายน 2563, https://ch3thailandnews.bectero.com/news/195140.

Bright Today. “ขุดรายวัน! เพจดังแฉอีก ฌอน บูรณะหิรัญ ก๊อปปี้คำพูดคนมีชื่อเสียง.” 29 มิถุนายน 2563, https://www.brighttv.co.th/social-news/sean-buranahiran-csila-copy.

• ภาษาต่างประเทศ

─1. หนังสือภาษาอังกฤษ

Black, Donald W. and Jon E. Grant. DSM-5TM Guidebook: The Essential Companion to the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition. Arlington: American Psychiatric Publishing, 2014.

Geisler, Norman L.. Baker Encyclopedia of Christian Apologetics. Michigan: Baker Books, 1999.

─2. บทความภาษาอังกฤษ

McBeath, Alistair Graham, Simon Du Plock and Sofie Bager-Charleson. “The Challenges and Experiences of Psychotherapists Working Remotely During the Coronavirus Pandemic.” Counselling and Psychotherapy Research Journal, Vol. 20, No. 2 (June 2020): 1-12.

Stein, Dan J, Katharine A. Phillips, Derek Bolton, K.W.M. Fulford, John Z. Sadler and Kenneth S. Kendler. “What is a Mental/Psychiatric Disorder ?.” DSM-IV to DSM-V Psychol Med., Vol. 40, No. 11 (November 2010): 1759-1765.