การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎก ใบลานอักษรขอมคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ที่พบในประเทศไทยและกัมพูชา

Main Article Content

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล

บทคัดย่อ

     คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานบาลี มีการจารึกสืบทอดกันมาเป็น 4 สายจารีตใหญ่ คือ สายอักษรสิงหล (ในศรีลังกา) สายอักษรพม่า สายอักษรขอม (ในไทยและกัมพูชา) และสายอักษรธรรม (ในล้านนา ล้านช้างและภาคอีสานของไทย) คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานบาลีในไทย ตั้งแต่โบราณจารึกด้วยอักษรขอมเป็นหลัก เนื่องจากถือกันว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่จะศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎกรวมถึงอรรถกถาฎีกาจึงต้องศึกษาอักษรขอมก่อน จึงเกิดเป็นประเด็นปัญหาขึ้นว่า คัมภีร์ใบลานบาลีอักษรขอมที่พบในประเทศไทยและที่พบในประเทศกัมพูชาสืบมาจากสายเดียวกันหรือแยกสายกันมาเพียงแต่ใช้ตัวอักษรเหมือนกัน และในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับวิชาการที่เนื้อหามีความถูกต้องสมบูรณ์ โดยการตรวจชำระด้วยการเปรียบเทียบเนื้อหาจากคัมภีร์ใบลานบาลีทั้ง 4 สายจารีตนั้น ฐานข้อมูลคัมภีร์สายจารีตอักษรขอมจำเป็นต้องใช้คัมภีร์ใบลานจากประเทศกัมพูชาด้วยหรือไม่ หรือใช้คัมภีร์ใบลานอักษรขอมจากประเทศไทยก็เพียงพอ
     ดังนั้น บทความวิจัยนี้ จึงได้ศึกษาวิจัยเนื้อหาคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เริ่มตั้งแต่ช่วงท้ายของมหาสีหนาทสูตรจนถึงช่วงท้ายของอนุมานสูตร โดยใช้คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมที่พบในประเทศไทยจากวัดพนัญเชิงและหอสมุดแห่งชาติ จำนวนรวม 5 ฉบับ เปรียบเทียบคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมจากวัดสาลาวอน กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาจำนวน 1 ฉบับ เพื่อสืบหาร่องรอยการสืบทอดของคัมภีร์จากทั้งสองประเทศ
     ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า คัมภีร์ใบลานที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบจากประเทศไทยและประเทศกัมพูชานั้น มีร่องรอยการสืบทอดที่ใกล้เคียงกันและแม้ว่าจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาวิจัยจากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จึงอาจสรุปได้ว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานบาลีของทั้งสองประเทศมีอิทธิพลต่อกันมาอย่างยาวนาน และมีความเป็นไปได้มากว่ามาจากสายสืบทอดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ดังนั้นการใช้คัมภีร์ใบลานอักษรขอมจากประเทศไทยเป็นหลัก ก็นับว่าเพียงพอแล้วสำหรับการตรวจชำระและจัดสร้างพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ

Article Details

How to Cite
ศรีเศรษฐวรกุล สุชาดา. 2021. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎก ใบลานอักษรขอมคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ที่พบในประเทศไทยและกัมพูชา”. ธรรมธารา 7 (1):65-99. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244764.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. คัมภีร์

มหามกุฏราชวิทยาลัย. สุตฺตนฺตปิฏเก มชฺฌิมนิกายสฺส มูลปณฺณาสกํ. สฺยามรฏฺ ฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

─2. หนังสือ

พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แลหอพระสมุดสำหรับพระนคร. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2459.

พระยาปริยัติธาดา (แพ ตาลลักษมณ). สังคีติยวงศ์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2521

สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2549

─3. บทความ

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล. “การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยและกัมพูชา.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, (ฉบับรวมที่ 8) (มกราคม-มิถุนายน 2562): 74-113.

• ภาษาต่างประเทศ

─1. คัมภีร์

Buddha Sasana Council. Suttantapitake Majjhimanikāye Mūlapaṇṇāsapāḷi Vol. 9. Chaṭṭhasaṅgīti Piṭakaṃ, Yangon, 1956.

Majjhimanikaya Editorial Board. The Suttantapitaka Majjhimanikāya with The Sinhala Translation Vol.10. Buddha Jayanti Tripitaka Series, 1964.

Pali Text Society. The Majjhima-nikāya Vol.1. Edited by. Trenckner. London: The Pali Text Society, 1979.

─2. บทความภาษาอังกฤษ

Srisetthaworakul, Suchada. “A Problem on the Origin of the Pāli Canon of Khom Script Manuscripts Found in Thailand and Cambodia.” Journal of Indian and Buddhist studies (Indogaku bukkyôgaku kenkyû), 66(3), (2018): 64-70.