แนวคิดเรื่องอันตราภพหลังความตาย ในคัมภีร์อภิธรรมของแต่ละนิกาย (1)

Main Article Content

ประภากร พนัสดิษฐ์

บทคัดย่อ

  “อันตราภพ” หรือ “ภพในระหว่าง” คือสภาวะที่อยู่ระหว่างความตายกับภพภูมิใหม่ที่เหล่าสัตว์จะไปเกิด ถือเป็นมติธรรม ที่เป็นข้อวิวาทะสำคัญของพระพุทธศาสนาแต่ละนิกาย ซึ่งประเด็นสำคัญของการวิวาทะอยู่ที่ว่าหลังจากสัตว์ตายไปแล้วเกิดใหม่ในทันทีเพียงชั่วขณะจิต หรือมีช่วงเวลาสั้นๆ ที่เป็นรอยต่อระหว่างภพภูมิเก่ากับภพภูมิใหม่ ที่สัตว์ดำรงอยู่ในรูปแบบของขันธ์ 5 แบบละเอียดอยู่ อย่างไรก็ตามมติธรรมนี้กลับไม่ได้รับความสนใจจากวงการวิชาการพุทธศาสตร์ในประเทศไทยเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ถูกปฏิเสธโดยคัมภีร์อภิธรรมเถรวาท อีกทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับอันตราภพในคัมภีร์กถาวัตถุและกถาวัตถุอรรถกถาก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถให้ภาพรวมที่ชัดเจนเกี่ยวกับมติธรรมนี้ได้ทั้งหมด
     บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอข้อมูลเรื่องอันตราภพในคัมภีร์ของแต่ละนิกาย เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของแนวคิดทั้งจากฝ่ายที่ปฏิเสธและสนับสนุนมตินี้ รวมทั้งวิเคราะห์ลึกลงไปถึงแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังมติธรรมของทั้งสองฝ่ายว่าเหตุใดจึงยอมรับหรือปฏิเสธอันตราภพ โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็น 1) การวิเคราะห์ชื่อเรียกของอันตราภพ และ 2) การวิเคราะห์คุณลักษณะของอันตราภพ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ชื่อเรียกต่างๆ ของอันตราภพ ได้แก่ อันตราภพ (อันตราปรินิพพายี) คันธัพพะ สัมภเวสี และมโนมยะ นั้นมีที่มาจากเนื้อความในพระสูตรที่ฝ่ายสนับสนุนมติยกขึ้นมาอ้าง ซึ่งสาเหตุของความเห็นที่ไม่ตรงกันของแต่ละนิกายในการแปลความชื่อเหล่านี้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับอันตราภพหรือไม่นั้น เกิดขึ้นมาจากการทรงจำพระสูตร และการตีความพุทธพจน์ที่แตกต่างกัน สำหรับในเรื่องคุณสมบัติของอันตราภพนั้นมีที่มาจากการวิวาทะโดยการใช้หลักเหตุผลในการโต้แย้ง โดยฝ่ายที่สนับสนุนมติใช้คุณลักษณะของอันตราภพ เช่น เป็นสัตว์จำพวกโอปปาติกะ มีช่วงอายุขัยอยู่ในระหว่าง 7 หรือ 49 วัน เป็นต้น มาอธิบายยืนยันการมีอยู่ของอันตราภพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจุดยืนของทั้งสองฝ่ายอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่แตกต่างกัน หลักเหตุผลที่ฝ่ายหนึ่งนำมาอ้างอิงก็ใช่ว่าจะทำให้อีกฝ่ายคล้อยตามได้เสมอไป


=====


* บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่ตีพิมพ์แล้วใน Bhanussadit, Prapakorn (Cheng Mingzhen), “The Concept of Antarābhava in Buddhist Schools,” Journal of Asian and African Studies vol.13, No.1 (2018): 177-208 โดยมีการปรับแก้เนื้อหาให้เหมาะสมกับการนำเสนอในวงการวิชาการประเทศไทย อีกทั้งยังได้ทำการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลที่ค้นพบในภายหลัง ให้บทความมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
พนัสดิษฐ์ ประภากร. 2021. “แนวคิดเรื่องอันตราภพหลังความตาย ในคัมภีร์อภิธรรมของแต่ละนิกาย (1)”. ธรรมธารา 7 (2):103-53. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/247569.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

—1. คัมภีร์แปล

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 16, 30, 81, 87. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

—2. หนังสือ

เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด, 2544.

—3. บทความ

ประทีปเด่น เวศกาวี. “อันตรภพของนิกายมหายานและวัชรยาน: การศึกษาเชิงวิเคราะห์บนฐานแนวคิดเรื่องวิญญาณในพระพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน.” วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, ปีที่ 5, ฉบับที่ 3 (มีนาคม 2563): 292-305.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (1).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 2), (มกราคม-มิถุนายน 2559): 67-103.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (2).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 3), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559): 57-106.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “การกำเนิดนิกายสรวาสติวาท (1).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 4), (มกราคม-มิถุนายน 2560): 89-123.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “การกำเนิดนิกายสรวาสติวาท (2).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 5), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 47-77.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (3).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 6), (มกราคม-มิถุนายน 2561): 93-127.

วัชระ งามจิตรเจริญ. “แนวความคิดเรื่องอันตรภพในพระพุทธศาสนาเถรวาท.” วารสารศิลปศาสตร์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, (2551): 19-56.

• ภาษาต่างประเทศ

—1. คัมภีร์ภาษาบาลี

สฺยามรฏฺฐสฺ ส เตปิฏกํ. อภิธมฺมปิฏเก ปฏฺฐา นํ ทุติโย ภาโค. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2538.

Pali Text Society. Dīghanikāya Vol. III. Edited by J. Estlin Carpenter. London: The Pali Text Society, 1976.

Pali Text Society. Kathāvatthu Vols. I, II. Edited by Arnold C. Taylor. London: The Pali Text Society, 1979.

Pali Text Society. Kathāvatthuppakaraṇa-aṭṭhakathā included in Pañcappakaraṇa-aṭṭhakathā named Paramatthadīpanī. Edited by N.A. Jayawickrama. London: The Pali Text Society, 1979.

Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part V. Edited by M. Leon Feer. London: The Pali Text Society, 1976.

—2. คัมภีร์ภาษาสันสกฤต-ทิเบต

Abhidharmakośabhāṣya of Vasubandhu. Tibetan Sanskrit Works Series vol.VIII. ed. P. Pradhan. Patna: K.P. Jayaswal Research Institute, 1967.

De Jong, J. W.. “The Dasottarasutra.” Kanakura hakushi koki kinen Indo gaku Bukkyō gaku ronshū 金倉博士古稀記念印度学仏教学論集 (รวบรวมผลงานวิจัยด้านอินเดียและพุทธศาสตร์ศึกษา). Kyoto: Heirakutera shoten, 1966.

Mittal, Kusum. Dogmatische Begriffsreihen im älteren Buddhismus 1: Fragmente des Daśottarasūtra aus zentralasiatischen Sanskrit-Handschriften. Berlin: Akademie-Verlag, 1957.

Schlingloff, Dieter. Dogmatische begriffsreihen im älteren buddhismus. Berlin: Akademie-Verlag, 1962.

The Tibetan Tripitaka. Taipei Edition. 72 vols. Edited by A.W. Barber. Taipei: SMC Publishing, 1991.

The Tibetan Tripitaka. Peking Edition kept in the Library of Otani University, Kyoto. 168 vols. Edited by D.T. Suzuki. Tokyo-Kyoto: Tibetan Tripitaka Research Institute, 1955-1961.

—3. คัมภีร์ภาษาจีน

Taishō Issaikyō Kankōkai 大正一切經刊行會 (Taisho Tripitaka PublicationAssociation). Taishō Shinshū Daizōkyō 大正新脩大藏經 (Taishō Revised Tripiṭaka) Vol. 1, 2, 26, 27, 28, 29, 32, 49. Tokyo: Taishō Issaikyō Kankōkai, 1962.

—4. คัมภีร์แปลภาษาอังกฤษ

Bodhi. The Numerical Discourses of the Buddha: A Translation of the Aṅguttara Nikāya. Wisdom, 2012.

—5. หนังสือภาษาอังกฤษ

Harvey, Peter. The Selfless Mind: Personality Conciousness and Nirvana in Early Buddhism. London: Curzon Press, 1995.

Hirakawa, Akira. A History of Indian Buddhism: From Śākyamuni to Early Mahāyāna. Translated by Paul Groner. University of Hawaii Press, 1990.

Langer, Rita. Buddhist Rituals of Death and Rebirth: Contemporary Sri Lankan Practice and its origin. Routledge, 2007.

—6. บทความภาษาอังกฤษ

Anālayo. “Rebirth and the Gandhabba.” Journal of Buddhist Studies, 1, (2008): 91-105.

Kritzer, Robert. “Antarābhava in the Vibhāṣā.” Nōtom Damu Joshi Daigaku Kirisutokyō Bunka Kenkyojo Kiyō (Maranata), Vol.3, No.5, (1997): 69–91.

Qian, Lin. “The antarābhava Dispute Among Abhidharma Traditions and the List of anāgāmins.” Journal of the International Association of Buddhist Studies, Vol.34, No.1-2, (2011): 149–186.

Waldschmidt, Ernst. “Central Asian Sūtra Fragments and Their Relation to the Chinese Āgamas.” The Language of the Earliest Buddhist Tradition. Edited by Heinz Bechert. Göttingen: Vandenhoeck and Ruprecht. 1980: 136-174.

Wijesekera, O.H. De A. “Vedic Gandharva and Pali Gandhabba.” University of Ceylon Review, Vol.3, No.1, (1945): 73-107.

—7. บทความภาษาจีน

Cai, Yaoming (蔡耀明). “Pàndìng “ā hán jīng” bù pài guīshǔ qiānshè de nántí 判定《阿含經》部派歸屬牽涉的難題 (ความยากลำบากในการตัดสินสายการสืบทอดของคัมภีร์อาคม).” Fa Guang, Vol.111, No.24, (1998): 1-12.

—8. ข้อมูลจากเว็บไซต์

Sujito. “Rebirth and the In-Between State in Early Buddhism.” Santi Forest Monastery, 2010. http://santifm.org/santipada/ 2010/rebirth-and-the-in-between-state-in-early-buddhism.