พระมหากัจจายนะในเอกสารฉบับต่าง ๆ (1) : ทัศนะว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับพระนาลกะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในคัมภีร์เถรวาทปรากฏชัดเจนว่า พระมหากัจจายนะและพระนาลกะต่างเป็นพระสาวกคนละองค์กัน แต่เอกสารทางพระพุทธศาสนาบางฉบับมีปรากฏเนื้อหาว่า ทั้งสองนามนี้คือบุคคลเดียวกัน บทความภาคนี้จะมุ่งสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองนามในคัมภีร์หลากสาย โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการคือ (1) นำเสนอภาพรวมชีวประวัติพระมหากัจจายนะและพระนาลกะที่ปรากฏในคัมภีร์ของนิกายเถรวาท มหาสังฆิกะ โลโกตตรวาท ธรรมคุปต์ มหิศาสกะ และ(มูล)สรวาสติวาท (2) ชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับเอกสารชั้นหลังที่ได้อาศัยข้อมูลจากคัมภีร์บางสายมานำเสนอเนื้อหาว่า พระมหาสาวกทั้งสองนี้คือบุคคลท่านเดียวกัน (3) ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลภาพรวมชีวประวัติของทั้งสองท่านในคัมภีร์เถรวาทและคัมภีร์นิกายอื่น เพื่อพิจารณามูลเหตุที่มาของทัศนะว่าทั้งสองนามนี้คือบุคคลเดียวกัน รวมทั้งนำเสนอแง่มุมจากการศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์คู่ขนานในครั้งนี้ อันส่งผลให้เข้าใจเรื่องราวของพระสาวกได้ดียิ่งขึ้น
จากการศึกษาเอกสารฉบับต่างๆ สามารถสรุปได้ว่า ทั้งสองนามนี้มิได้เป็นบุคคลเดียวกัน ทั้งยังพบว่า การเรียบเรียงเนื้อหาในคัมภีร์พระวินัยมูลสรวาสติวาทกษุทรกวัสตุ และพุทธจริตสังครหะ (อภินิษกรมณสูตร) ค่อนข้างมีผลให้เกิดความเข้าใจว่า พระสาวกทั้งสองท่านนี้คือบุคคลเดียวกันได้มากที่สุด
กล่าวโดยสรุป คัมภีร์ต่างนิกายไม่ปรากฏข้อมูลของท่านกัจจายนะตั้งแต่ช่วงถือกำเนิดจนถึงออกบวช อีกทั้งไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรินิพพานของพระนาลกะ และทั้งสองท่านยังมีข้อมูลบางอย่างเหมือนกัน เช่น โคตรตระกูลกัจจายนะ เมื่อไม่ได้อาศัยข้อมูลจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาบาลีให้ครบถ้วน จึงอาจก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ทั้งสองท่านนี้คือบุคคลเดียวกัน ดังมีปรากฏทัศนะเช่นนี้ในหนังสือภาษาอังกฤษและจีนบางเล่ม นอกจากนี้ การศึกษาคัมภีร์คู่ขนานในบทความนี้ยังส่งผลให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวบางส่วนของพระสาวกได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
—1. คัมภีร์แปล
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 36. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
สำเนียง เลื่อมใส. มหาวัสตุอวทาน เล่ม 2-3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสันสกฤตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2557-2561.
—2. หนังสือ
วุดวิล รอกฮิล. พุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางกิมลุ้ย อาจารีย์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม, 2510.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2526.
—3. บทความ
ชาคริต แหลมม่วง. “เอรกปัตตนาคราช (1): ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างฉบับบาลีและคัมภีร์อื่น ๆ,” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 11), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 105-171.
ชาคริต แหลมม่วง. “เอรกปัตตนาคราช (2): ศึกษาคาถาที่สอดคล้องกันในคัมภีร์ต่างฉบับ และวิเคราะห์ภาพสลักหินที่ภารหุต.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 12), (มกราคม-มิถุนายน 2564): 3-63.
ณัชพล ศิริสวัสดิ์. “พุทธประวัติตอนประสูติจากนิทานกถาและลลิตวิสตระ: การศึกษาเปรียบเทียบด้านสารัตถะ.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 27, ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2563): 94-156.
มิโตะโมะ เคนโย. “กำเนิดนิกายสรวาสติวาท (2).” แปลโดย เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 5), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 47-76.
—4. วิทยานิพนธ์
ดุษฎี สุนทร. “ศึกษาการบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระมหากัจจายนเถระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล. “จิตรกรรมฝาผนังช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
พระมหานิพนธ์ ประสานดี. “อิทธิพลของคัมภีร์กาตันตระที่มีต่อคัมภีร์ไวยากรณ์บาลี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.
พระวิญญู ภูริปญฺโญ (สีวงค์ดี). “ศึกษาการบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระนาลกเถระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.
สาโรชน์ บัวพันธุ์งาม. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์อวทาน-ศตกะ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
• ภาษาต่างประเทศ
—1. คัมภีร์ภาษาบาลี
สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. อปทานสฺส ทุติโย ภาโค พุทฺธวํโส จริยาปิฏกํ. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.
Buddha Jayanti Tripitaka Series. Apadāna Pāli Part II (Vol. I). Sri Lanka: The Patronage of the Republic of Sri Lanka, 1977.
Chaṭṭhasaṅgītipiṭakaṃ ဆဋ္ဌသင်္ဂီတိပိဋကံ. Apadānapāḷi (dutiyo bhāgo) Buddhavaṃsapāḷi Cariyāpiṭakapāḷithā အပဒါနပါဠိ (ဒုတိယော ဘာဂေါ) ဗုဒ္ဓဝံသပါဠိ စရိယာပိဋကပါဠိ. Marammaraṭṭha: Sāsanikappamukhaṭṭhāna, 1991.
Fragile Palm Leaves Foundation and Lumbini International Research Institute. Jambūpati-sūtra: A Synoptic Romanized Edition (ชมพูบดีสูตร ฉบับสอบเทียบใบลาน). Edited by Santi Pakdeekham (ศานติ ภักดีคำ). Bangkok: Fragile Palm Leaves Foundation, 2009.
Pali Text Society. Aṅguttara-nikāya Part I. Edited by Richard Morris. London: Pali Text Society, 1961.
Pali Text Society. Aṅguttara-nikāya Part III. Edited by E. Hardy. London: Pali Text Society, 1976.
Pali Text Society. Apadāna Vol.I, II. Edited by Mary E. Lilley. Oxford: Pali Text Society, 2000.
Pali Text Society. Commentary on the Dhammapada Vol. II. Edited by H.C. Norman. London: Pali Text Society, 1970.
Pali Text Society. Dīghanikāya Vol. III. Edited by J. Estlin Carpenter. London: Pali Text Society, 1976.
Pali Text Society. Jātaka together with Its Commentary Vol. I. Edited by V. Fausbøll. London: Pali Text Society, 1962.
Pali Text Society. Majjhimanikāya Vol. II. Edited by Robert Chalmers. London: Pali Text Society, 1977.
Pali Text Society. Manorathapūraṇī : Buddhaghosa’s Commentary on the Aṅguttaranikāya Vol. I. Edited by Max Walleser. London: Pali Text Society, 1973.
Pali Text Society. Paramatthadīpanī: Theragāthā-aṭṭhakathā Vol. II, III. Edited by F.L. Woodward. London: Pali Text Society, 1977-1984.
Pali Text Society. Paramatthadīpanī Part IV: Being the Commentary on the Vimānavatthu. Edited by E. Hardy. London: Pali Text Society, 1901.
Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part IV. Edited by M. Leon Feer. Oxford: Pali Text Society, 1990.
Pali Text Society. Sāratthappakāsinī: Buddhaghosa’s Commentary on the Saṃyuttanikāya Vol. II. Edited by F.L. Woodward. London: Pali Text Society, 1977.
Pali Text Society. Sāsanavaṃsa. Edited by Mabel Bode. London: Pali Text Society, 1897.
Pali Text Society. Sumaṅgalavilāsinī: Buddhaghosa’s Commentary on the Dīghanikāya Part III. Edited by W. Stede. London: Pali Text Society, 1971.
Pali Text Society. Suttanipāta. Edited by Dines Andersen and Helmer Smith. London: Pali Text Society, 1984.
Pali Text Society. Suttanipāta Commentary Vol. II. Edited by Helmer Smith. London: Pali Text Society, 1966.
Pali Text Society. Vimānavatthu and Petavatthu. Edited by N.A. Jayawickrama. London: Pali Text Society, 1977.
Pali Text Society.Vinayapiṭakaṃ Vol. I . Edited by Hermann Oldenberg. Oxford: Pali Text Society, 1997.
Pali Text Society. Visuddhajanavilāsinī nāma Apadānaṭṭhakathā. Edited by C.E. Godakumbura. Oxford: Pali Text Society, 1988.
—2. คัมภีร์ภาษาสันสกฤต
Société Asiatique. Le Mahāvastu Vol. II, II. Edited by Émile Senart. Paris: Imprimerie nationale, 1890-1897.
—3. คัมภีร์ภาษาทิเบต
Derge Edition. sDe dge bKa' 'gyur Vol.3, 10, 34, 274. Tibet: Sakya Monastery, 1733.
Indica et Buddhica. sKyes pa rabs kyi gleṅ gźi (Jātakanidāna): A Critical Edition Based on Six Editions of the Tibetan bKa' 'gyur. Edited by Sean Gaffney. North Canterbury: Indica et Buddhica, 2018.
—4. คัมภีร์ภาษาจีน
Guo jia tu shu guan te cang zu國家圖書館特藏組 (Special Collection Division of Taipei National Central Library). Guo jia tu shu guan shan ben fo dian國家圖書館善本佛典 (Selections from the Taipei National Central Library Buddhist Rare Book Collection) Vol.18. Chinese Buddhist Electronic Text Association (CBETA)
KAWAMURA, Kōshō (河村照孝). Manji Shinsan Dainihon Zokuzōkyō 卍新纂大日本續藏經 (Manji Newly Compiled Great Japanese Supplementary Canon) Vol.44, 85. Tōkyō : Kabushiki Kaisha Kokusho Kankōkai, 1975-1989.
Taishō Issaikyō Kankōkai 大正一切經刊行會 (Taisho Tripitaka Publication Association). Taishō Shinshū Daizōkyō大正新脩大藏經 (Taishō Revised Tripiṭaka) Vol.2, 3, 4, 22, 23, 24, 25, 31, 49, 51. Tokyo: Daizo shuppan Kabushiki Gaisha, 1988.
—5. คัมภีร์แปลภาษาอังกฤษ
Aśvaghoṣa. Buddhacarita or Acts of the Buddha Part III. Translated by E.H. Johnston. Delhi: Motilal Banarsidass, 2007.
BEAL, Samuel. The Romantic Legend of Sākya Buddha: From Chinese-Sanscrit. London: Trübner, 1875.
Indica et Buddhica. sKyes pa rabs kyi gleṅ gźi (Jātakanidāna): Prologue to the Birth Stories: An English Translation of a Critical Edition Based on Six Editions of the Tibetan bKa' 'gyur. Translated by Sean Gaffney. North Canterbury: Indica et Buddhica, 2019.
Library of Tibetan Works & Archives. Sutra of the wise and the Foolish. Translated by Stanley Frye. New Delhi: Library of Tibetan Works & Archives, 2006.
Sacred Books of the Buddhists. The Mahāvastu Vol. I-III. Translated by J.J. Jones. London: Luzac & Company Ltd., 1949-1956.
—6. หนังสือภาษาอังกฤษ เยอรมัน และทิเบต
Bu-ston. Bde bar gshegs pa'i bstan ba'i gsal byed chos kyi 'byung gnas gsung rab rin po che'i mdzod, Vol. II: Sa skya'i chos 'byung gces bsdus. Pe cin: Krung go'i bod rig pa dpe skrun khang, 2009.
Bu-ston. History of Buddhism (Chos-ḥbyung) Part II: The History of Buddhism in India and Tibet. Translated by E. Obermiller. Heidelberg: In Kommission bei O. Harrassowitz, Leipzig, 1932.
DUTT, Nalinaksha. Early Monastic Buddhism Vol.1. Culcutta: Culcutta Oriental Press Ltd., 1941.
DUTT, Nalinaksha. Early History of the Spread of Buddhism and the Buddhist Schools. New Delhi: Rajesh Publications, 1980.
Franke, R. Otto. Geschichte und Kritik der Einheimischen Pāli-Grammatik und –Lexicographie. Strassburg: Karl J. Trübner, 1902.
FRAUWALLNER, E. The Earliest Vinaya and the Beginnings of Buddhist Literature. Roma: Istituto Italiano per il Medio ed Estremo Oriente, 1956.
HAZRA, Kanai Lal. History of Theravāda Buddhism in South-East Asia. New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers Pvt. Ltd., 1982.
HAZRA, Kanai Lal. Pāli Language and Literature: A Systematic Survey and Historical Study Vol.1. New Delhi: D.K. Printworld (P) Ltd., 1998.
PULLEYBLANK, Edwin G. Lexicon of Reconstructed Pronunciation in Early Middle Chinese, Late Middle Chinese, and Early Mandarin. Vancouver: University of British Columbia, 1991.
ROCKHILL, W. Woodville. The Life of The Buddha and the Early History of his Order: Derived from Tibetan Works in the bKah-hgyur and bsTan-hgyur. London: Trübner & Co., Ludgate Hill, 1884.
von Hinüber, Oskar. A Handbook of Pāli Literature. Berlin: Walter de Gruyter, 1996.
WARDER, A.K. Indian Buddhism. Delhi: Motilal Banarsidass, 2004.
YAO, Zhihua. The Buddhist Theory of Self-Cognition. New York: Routledge, 2005.
—7. หนังสือภาษาจีนและญี่ปุ่น
HIRAKAWA, Akira (平川彰). Shoki Daijō Bukkyō no kenkyū初期大乗仏教の研究 I (การศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนามหายานยุคต้น). Tokyo: Shunjūsha, 1989.
LI, Danni (李丹妮). Fo tuo shi da di zi (zhong ce) 佛陀十大弟子 (中册) (สิบพระมหาสาวกของพระพุทธเจ้า เล่มสอง). Beijing: Dongfang chubanshe, 1996.
LIN, Mingke (林明珂). Fo tuo shi da di zi zhuan佛陀十大弟子传 (ประวัติสิบพระมหาสาวกของพระพุทธเจ้า). Beijing: Dazhong wenyi chubanshe, 1998.
Mingyang (明旸), Fo tuo he ta de shi da di zi佛陀和他的十大弟子 (ประวัติพระพุทธเจ้าและสิบพระมหาสาวกของพระองค์). Xiamen: Xiamen daxue chubanshe, 2007.
Phramaha Somchai Watcharasriroj (ターナヴットー・S.W.). Shoki Bukkyō ni okeru seiten seiritsu to shugyō taikei 初期仏教における聖典成立と修行体系 (กําเนิดพระไตรปิฎกและแนวปฏิบัติสู่การตรัสรู้ธรรมในพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม). Tokyo: Sankibō Busshorin, 2019.
SHI, Yin shun (释印顺). Shuo yi qie you bu wei zhu de lun shu yu lun shi zhi yan jiu说一切有部为主的论书与论师之研究 (การศึกษาวิจัยว่าด้วยปกรณ์และพระคันถรจนาจารย์ โดยมุ่งเน้นของนิกายสรวาสติวาทเป็นหลัก). Beijing: Zhonghua shuju, 2009.
TSUKAMOTO, Keishō (塚本啓祥), Kaitei zōho shoki Bukkyō kyōdan shi no kenkyū 改訂増補初期仏教教団史の研究 (การศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนายุคต้น ฉบับปรับปรุง). Tokyo: Sankibō Busshorin, 1980.
Xingyun (星雲). Shi da di zi zhuan十大弟子傳 (ประวัติสิบพระมหาสาวก). Gaoxiong: Foguang, 1959.
Xingyun (星云). Shi da di zi zhuan十大弟子传 (ประวัติสิบพระมหาสาวก). Shanghai: Shanghai jinxiu wenzhang chubanshe, 2012.
—8. บทความภาษาอังกฤษ
Dessein, Bart. “Mahāsāṃghikas and the Origin of Mahayana Buddhism: Evidence Provided in the Abhidharmamahā-vibhāṣāśāstra.” The Eastern Buddhist, 40, no.1-2, (2009): 25-61.
Kuan, Tse-fu. “Legends and Transcendence: Sectarian Affiliations of the Ekottarika Āgama in Chinese Translation.” Journal of the American Oriental Society, 133, no. 4, (2013): 607-634.
Kuan, Tse-fu. “Mahāyāna Elements and Mahāsāṃghika Traces in the Ekottarika-āgama.” Research on the Ekottarika-āgama (Taishō 125). Edited by Dhammadinnā. Taiwan: Dharma Drum Publishing Corporation, 2013: 133-194.
—9. บทความภาษาญี่ปุ่น
Mori, Shōji (森章司). “Sanga to ritsuzō sho kitei no keisei katei サンガと律蔵諸規定の形成過程 (กระบวนการก่อรูปของคณะสงฆ์และการบัญญัติสิกขาบทในพระวินัยปิฎก).” Genshi Bukkyō seiten shiryō ni yoru Shakuson den no kenkyū 原始仏教聖典資料による釈尊伝の研究 18 (งานวิจัยพุทธประวัติจากหลักฐานคัมภีร์พระพุทธศาสนายุคต้น เล่ม 18. Tōkyō: Chūō gakujutsu kenkyūjo, 2013: 5-257.