การกำเนิดและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำเนิดและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า ช่วงก่อนพุทธปรินิพพาน เป็นการท่องจำเนื้อหาคำสอนโดยพระสงฆ์ที่ได้รับฟังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกเนื้อหาเหล่านั้นว่า “พระธรรมวินัย” เมื่อพระพุทธเจ้าทยอยบัญญัติสิกขาบท ก็มีการท่องจำถ่ายทอดกันในกลุ่มพระสงฆ์สายพระอุบาลี เป็นกลุ่มภิกษุผู้เชี่ยวชาญพระวินัยเรียกว่า พระวินัยธร ส่วนพระธรรม จัดเป็นกลุ่มเนื้อหาแบบนวังคสัตถุสาสน์ท่องจำถ่ายทอดโดยกลุ่มพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญพระสูตร ซึ่งเป็นพระสงฆ์สายพระอานนท์ที่เรียกว่า พระสุตตันติกะ แล้วมีอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า พระธรรมกถิกะ มีการสนทนาธรรม คือ ต้นเค้าของพระอภิธรรม ภายหลังพระสารีบุตรได้อ้างเหตุจากการแตกกันของศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร จึงขออนุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธิตวิธีการรวบรวมจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยขึ้น
ช่วงหลังพุทธปรินิพพาน พบว่า การสังคายนาครั้งที่ 1 ใช้เพียงคำว่า ”พระธรรมและวินัย” เท่านั้น ส่วนการสังคายนาครั้งที่ 2 พบว่าได้มีพระไตรปิฎกแล้ว มีการเพิ่มพระวินัยในส่วนปริวาร แบ่งพระสูตรเป็น 5 นิกายเพิ่มคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นิทเทส ในส่วนของ ขุททกนิกาย และปรากฏพระอภิธรรมปิฎก 6 คัมภีร์ ส่วนการสังคายนาครั้งที่ 3 ได้กล่าวถึงการรวบรวมเป็นพระไตรปิฎกครบทั้งพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก มีการรจนาคัมภีร์กถาวัตถุของพระโมคคัลลีปุตติสสเถระขึ้น และผนวกเข้าในพระอภิธรรมปิฎก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. คัมภีร์
กรมการศาสนา. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่ม 1, 4, 9 – 14, 17, 19 – 21, 25, 31, 33, 34. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, 2525.
คัมภีร์ทีปวงศ์. แปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ภิกษุณีธัมมนันทา). พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: มูลนิธิพุทธสาวิกา, 2553.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระมหานามเถระและคณะบัณฑิต. คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค 1. แปลโดย สุเทพ พรมเลิศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2538.
______. พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555.
รัตนปัญญาเถระ. ชินกาลมาลินี. แปลโดย พระยาพจนาพิมล. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2554.
รวี สิริอิสสระนันท์. ตำนานมูลศาสนา. นนทบุรี: โรงพิมพ์ศรีปัญญา, 2557.
สมเด็จพระวันรัตน. สังคีติยวงศ์ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย. แปลโดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมไท, 2466.
---2. หนังสือ
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.
---3. บทความ
ซาซากิ ชิซุกะ. “พระพุทธศาสนามหายาน: เหตุใดคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีความหลากหลาย.” แปลโดย พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. วารสารธรรมธารา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 10), (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 161-197.
พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, “การวิจัยเชิงคัมภีร์ กรณีศึกษา ‘ธัมมจักกัปปวัตนสูตร’.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 2), (มกราคม-มิถุนายน 2558): 2-33.
---4. วิทยานิพนธ์
พระมหาวิรัตน์ รตนญาโณ (ณุศรีจันทร์). “สัทธัมมสังคหะ: การตรวจชำระและศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549.