ปราสาทนกหัสดีลิงค์: รูปสัญญะแห่งความหมายและแหล่งที่มาจากคัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

สุรชัย พุดชู

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาและอิทธิพลของปราสาทนกหัสดีลิงค์ที่มีต่อสังคมไทย เป็นการศึกษาเชิงเอกสารจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า นกหัสดีลิงค์ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายเล่ม รวมถึงวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ตำนานมูลศาสนา ปัญญาสชาดกเรื่องสุธนชาดกและไตรภูมิพระร่วง ลักษณะของนกมีขนาดใหญ่และกำลังมากเหมือนช้าง 5 เชือก ถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนคนมีศีลธรรมที่เรียกว่า อุตตรกุรุทวีป แนวคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการสร้างจิตรกรรมและประติมากรรมของเมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์ในปัจจุบัน กระทั่งเป็นวัฒนธรรมไทยให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดกันมา ทั้งทางด้านคติธรรม นิติธรรม วัตถุธรรมและสหธรรม นอกจากนี้ ยังมีปริศนาธรรมเกี่ยวกับการส่งคนตายให้ไปเกิดในสุคติภูมิ องค์ความรู้จากบทความนี้มี 3 ประการ คือ 1) คัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาระบุลักษณะของนกชนิดนี้ไว้เพียงว่า มีขนาดใหญ่และกำลังเท่าช้าง 5 เชือก การที่นกหัสดีลิงค์คาบคนไปเพราะคิดว่า เป็นเหยื่อ แต่ไม่มีเจตนาทำร้าย  2) วรรณกรรมยุคหลังเขียนเป็นเรื่องเล่าให้นกมีบทบาทและคุณลักษณะพิเศษ ซึ่งให้คุณมากกว่าให้โทษต่อประชาชนและมีวัตถุประสงค์ในเชิงบวกบางอย่างเพิ่มเข้ามา และ 3) พัฒนาการของนกกลายเป็นจิตรกรรมและประติมากรรมการสร้างเป็นเมรุปราสาท แต่คงแนวคิดเดิมที่ปรากฏในคัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและเพิ่มจินตนาการให้นกมีรูปลักษณ์พิเศษ รวมถึงปริศนาธรรมรำลึกถึงคุณความดีและการส่งผู้ตายให้ไปอุบัติบนสวรรค์

Article Details

How to Cite
พุดชู สุรชัย. 2022. “ปราสาทนกหัสดีลิงค์: รูปสัญญะแห่งความหมายและแหล่งที่มาจากคัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา”. ธรรมธารา 8 (2):175-217. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/256054.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 12, 25, 26, 28, 32. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ เล่ม 9. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2535.

พระพุทธโฆสเถระ. อรรถกถาภาษาไทย พระวินัยปิฏก สมันตปาสาทิกา ภาค 3 ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

________. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย ธรรมบท ภาค 1 ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

________. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปปัญจสูทนี ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

---2. หนังสือ

กรมศิลปากร. ปัญญาสชาดก ภาคที่ 1 สมุททโฆสชาดกกับสุธนชาดก. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางไห้ วัฏฏะสิงห์. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2504.

นิยะดา เหล่าสุนทร และพีระพัฒน์ สำราญ. จิตรกรรมภาพสัตว์หิมพานต์ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559.

ประชิด สกุณะพัฒน์. ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว, 2548.

พญาลิไทย. ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2526.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2550.

พระพุทธรักขิตและพระพุทธญาณเจ้า. ตำนานมูลศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2519.

พระโมคคัลลานเถระ. คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา. แปลโดย พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล และจำรูญ ธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: โครงการเตปิฏกสุเตสีบัณฑิต, 2559.

พระอัคควังสเถระ. สัททนีติธาตุมาลา: คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. แปลโดย พระมหานิมิตร ธมฺมสาโร และจำรูญ ธรรมดา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส, 2546.

ภูเดช แสนสา. โลกหน้าล้านนา: พัฒนาการการสร้างปราสาทศพต่างสัตว์หิมพานต์และการก่อกู่. เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2556.

สำราญ ก้านพลูกลาง. หลักการแต่งและแปลบาลี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา, ม.ป.ป.

---3. พจนานุกรม

ป. หลงสมบุญ. พจนานุกรมมคธ-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2546.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.

---4. วิทยานิพนธ์

กมลรัตน์ ชวนสบาย. “เมรุลอยสกุลช่างเพชรบุรี: รูปแบบศิลปกรรมแนวคิดและคติการสร้าง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.

---5. หนังสือพิมพ์

“สุวรรณภูมิในอาเซียน: ‘หลวงพ่อคูณ’ เมรุนกหัสดีลิงค์.” มติชนรายวัน, 17 มกราคม 2562.

---6. รายงานวิจัย

วีรชาติ นิ่มอนงค์. “การศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท.” รายงานวิจัย, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

---7. รายงานที่ประชุมทางวิชาการ

ประยุทธ สารัง. “นกหัสดีลิงค์: การเมืองเรื่องการนิยาม รหัสหมายชั้นชนในสังคมวัฒนธรรมล้านช้าง.” การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13 (The 13th Mahasarakham University Research Conference) ในหัวข้อ“จากท้องถิ่นสู่สากล ในบริบทประเทศไทย 4.0” (From Local to Global in the Context of Thailand 4.0). 7-8 กันยายน 2560. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. หนังสือ

Stratton, Carol. Buddhist Sculpture of Northern Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books, 2004.

---2. บทความภาษาอังกฤษ

Hall, Rebecca. “Onward towards Heaven: Burning the Nok Hatsadiling.” ARS Orientalis, 44, (2014): 180-199.

---3. วิทยานิพนธ์

Chakraborty, Mita. “A Contrastive Study of Dhammapada and Tirukkural.” PhD diss., University of Calcutta, 2008.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

Wikipedia. “Vogelpark Avifauna”, Accessed January 28, 2021. https://en.wikipedia.org/wiki/Vogelpark_Avifauna.