จารึกรอยพุทธบาทจากอานธรประเทศ: หลักฐานพุทธศาสนานิกายวิภัชชวาท

Main Article Content

อุเทน วงศ์สถิตย์

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์จารึกรอยพุทธบาทจากอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 ด้วยวิธีการทางจารึกศึกษาโดยพิจารณาถึง อักษร ภาษา วัสดุ สถานที่ และสารัตถะ
         ผลการศึกษาพบว่า จารึกดังกล่าวจารึกด้วยอักษรพราหมีแบบอินเดียใต้สมัยราชวงศ์วิษณุกุณฑิน เป็นภาษาปรากฤตที่ใกล้เคียงกับภาษาบาลีมาก วัสดุที่จารึกเป็นรอยพุทธบาทคู่ที่แกะสลักจากหินพบที่โบราณสถานที่เป็นมหาวิหารในบริเวณนาครชุนโกณฑะ สารัตถะแสดงถึงหลักฐานพระพุทธศาสนานิกายวิภัชชวาทที่ต่อมาพัฒนาเป็นเถรวาทและแสดงถึงความสัมพันธ์กับสำนักมหาวิหารในประเทศศรีลังกา นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงเครือข่ายสมณทูตที่ถูกส่งไปในสมัยพระเจ้าอโศก จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงพระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศไทยที่ปรากฏรอยพุทธบาทคู่และลวดลายศิลปะอมราวดี ที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และความทรงจำของพระสงฆ์สมัยสุโขทัยที่เดินทางไปไหว้สถูปอมราวดี ประเทศอินเดีย

Article Details

How to Cite
วงศ์สถิตย์ อุเทน. 2022. “จารึกรอยพุทธบาทจากอานธรประเทศ: หลักฐานพุทธศาสนานิกายวิภัชชวาท”. ธรรมธารา 8 (2):61-90. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/257598.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2555.

---2. หนังสือ

จตุพร ศิริสัมพันธ์, พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, เอมอร เชาวน์สวน, สมภพ มีสบาย และศิวพร ฮาซันนารี. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2548.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. วิวัฒนาการของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี. พระนคร: กรุงสยามการพิมพ์, 2511.

---3. บทความ

จวน คงแก้ว. “พุทธศิลป์ในรอยพระพุทธบาท” วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, ปีที่ 11, ฉบับที่ 4, (กรกฎาคม–สิงหาคม 2559): 76.

ชาตรี ชุมเสน. “ศึกษาวิเคราะห์ วิภัชชวาทในพุทธปรัชญาเถรวาท.” วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2, (2560): 98-118.

ซาซากิ ชิซุกะ. “วิธีเขียนแผนภาพการแตก 18 นิกาย.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 4), (มกราคม-มิถุนายน 2560):127-162.

พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย). “ถิ่นกำเนิดภาษาบาลี.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 4), (มกราคม-มิถุนายน2560): 11-87.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ไมเคิล ไรท. “‘มกร’ ปลามีงวงช้าง ศิลปะรุ่นแรก.” Silpa-mag, 2 พฤศจิกายน 2560. https://www.silpa-mag.com/history/article_12265.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. หนังสือ

Crocco, Di and Virginia McKeen. Footprints of the Buddhas of this Era in Thailand. Bangkok: Siam Society, 2004.

---2. บทความภาษาอังกฤษ

Baums, Stefan, Griffiths, Arlo, Strauch, Ingo and Tournier, Vincent. “Early Inscriptions of Āndhradeśa: Results of fieldwork in January and February 2016.” Bulletin de l’Ecole française d’Extrême-Orient, Tome 102, (2016): 355-398.

Cousins, LS.. “On the Vibhajjavādins: The Mahiṃsāsaka, Dhammaguttaka, Kassapiya and Tambapaṇṇiya branches of the ancient Theriyas.” Buddhist Studies Review, Vol. 18, No. 2 (2001): 131-182.

Sarkar, H. “Some aspects of the Buddhist monuments at Nagarjunkonda.” Ancient India - a Bulletin of Archaeological Survey of India. Vol. 16, (1962): 65-84.

Tournier, Vincent. “A Tide of Merit: Royal Donors, Tāmraparṇīya Monks, and the Buddha’s Awakening in 5th– 6th Century Āndhradeśa.” Indo-Iranian Journal, 61, (2018): 20-96.

---3. หนังสือรวมบทความภาษาอังกฤษ

Elsner, Jaś. “Buddhapada: The Enlightened Being and the Limits of Representation at Amarāvatī,” Imagining the Divine: Exploring Art in Religions of Late Antiquity across Eurasia, editor by Jaś Elsner and R. Wood. London (British Museum, 2021): 95-115.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

Britannica, The Editors of Encyclopaedia. “Nagarjunakonda.” Encyclopedia Britannica, June 12, 2015. https://www.britannica.com/place/Nagarjunakonda.

Early Inscriptions of Āndhradeśa. “EIAD 61 Buddhapāda from site 56 at Nagarjunakonda.” Accessed April 6, 2022. http://hisoma.huma-num.fr/exist/apps/EIAD/works/EIAD0061.xml?&odd=teipublisher.odd.

Early Inscriptions of Āndhradeśa. “Geographic Information System.” Accessed April 6, 2022. http://hisoma.huma-num.fr/exist/apps/EIAD/gis.html.