การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในเครือสารสาสน์

Main Article Content

ชุติพนธ์ ตู้ธนบัตร
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และ 3) เพื่อศึกษาการใช้วงจรคุณภาพกับหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสถานศึกษาโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จำนวน 368 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER จำนวนทั้งสิ้น 49 โรงเรียน ครูผู้สอนจำนวน 8,342 คนในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
        1) ระดับการใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) การวางแผน 2) การดำเนินการตามแผน 3) การตรวจสอบ และ 4) การปรับปรุงแก้ไข พบว่า การใช้วงจรคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x} = 4.03) โดยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ (1) ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร (2) ด้านการวิจัยในชั้นเรียน (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4) ด้านการนิเทศภายใน (5) ด้านการวัดและประเมินผล และ (6) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้กับการประกันคุณภาพการศึกษา
        2) การใช้วงจรคุณภาพที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 6 ด้าน พบว่า การใช้วงจรคุณภาพมีจำนวน 3 ด้านที่สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 ได้แก่ ด้านการวางแผน (𝑋1) ด้านการดำเนินงานตามแผน (𝑋2) และด้านการปรับปรุงแก้ไข (𝑋4) ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุดคือ ด้านการปรับปรุงแก้ไข (𝑋4) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์เท่ากับ .466 รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงานตามแผน (𝑋2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์เท่ากับ .249 รองลงมา คือ ด้านการวางแผน (𝑋1) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์เท่ากับ .208 ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้านนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ได้ร้อยละ 80.2 และสามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ 𝑌̂ = 0.262 + 0.262(𝑋1) + 0.249(𝑋2) + 0.466(𝑋4) และ สมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ 𝑍̂ = 0.215(𝑋1) + 0.261(𝑋2) + 0.474(𝑋4)
        3) การใช้วงจรคุณภาพกับหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือสารสาสน์บูรณาการด้วยอิทธิบาท 4 ได้แก่ 1) การวางแผน - ฉันทะ คณะผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรมีความยินดี เต็มใจ มีใจรักที่จะร่วมกันวางแผนปฏิบัติงาน 2) การดำเนินการตามแผน - วิริยะ มีการปฏิบัติงานตามแผนงานอย่างจริงจัง มุ่งมั่น แน่วแน่ อดทน 3) การตรวจสอบ - จิตตะ บุคคลากรช่วยกันตรวจสอบ ให้กำลังใจ มีความยุติธรรม และ 4) การปรับปรุงแก้ไข - วิมังสา มีกระบวนการพิจารณาทบทวนปัญหา ไตร่ตรองด้วยปัญญาอย่างรอบคอบ พร้อมปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้งานสมบูรณ์สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
ตู้ธนบัตร ชุติพนธ์, และ สนิทเหลือ นิพิฐพนธ์. 2023. “การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในเครือสารสาสน์”. ธรรมธารา 9 (2):160-88. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/264676.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

กรมการศาสนา. พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 11. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2521.

---2. หนังสือ

กลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์. สรุปจำนวนบุคลากร และนักเรียน ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพมหานคร: มปท, 2565.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.

---3. บทความ

ชลธิชา เพชรานรากร, วรกฤต เถื่อนช้าง และสุพรต บุญอ่อน. “การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net) โดยใช้วงจรคุณภาพตามแนวพระพุทธศาสนา.” วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม - สิงหาคม 2563): 271-284.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์. “การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER.” วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, (มกราคม - มิถุนายน 2562): 496-507.

พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา กิติญาโณ) และอภิชัย นุชเนื่อง. “การบริหารการศึกษาแบบคุณภาพตามหลักอิทธิบาทธรรม.” วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, (กันยายน - ธันวาคม 2557): 84-92.

โสภณ บัวจันทร์ และพระปลัดนิคม ปญฺญาวชิโร(ปักษี). “การนำหลักอิทธิบาทธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์สุราษฏร์ธานี.” วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2, (กรกฏาคม - ธันวาคม 2562): 31-52.

---4. วิทยาพนธ์

ณรงค์กร ชัยวงศ์. “รูปแบบการบริหารงานวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2563.

ดาวดล จันทรประทิน. “การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตามวงจรคุณภาพ เดมมิ่ง (Deming Cycle) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พื้นที่สงขลา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2559.

ธัญญารัตน์ ทองทิพย์. “การบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) ของโรงเรียนในเขตห้วยขวาง สังกัดกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2563.

นุชเรศ คำดีบุญ. “การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดร เขต 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2564.

ปาริชาติ สุนทร. “การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2560.

มูนา จารง. “การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2.” การค้นคว้าอิสระ, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2560.

อัญมณี พิทึกทักษ์. “การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดนครราชสีมา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 2563.