งานนิพนธ์พระพุทธศาสนาของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)

Main Article Content

พระมหาอนุกูล เงางาม
สมพรนุช ตันศรีสุข

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของเนื้อหาและการประพันธ์ในงานนิพนธ์พระพุทธศาสนาภาษาไทยของพระพรหมโมลี รวมถึงความสำคัญของงานนิพนธ์ในสังคมไทย โดยศึกษางานนิพนธ์จำนวน 10 เรื่อง ซึ่งท่านแต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2506-2543 ผลการวิจัยพบว่า งานของพระพรหมโมลีเป็นงานเขียนเชิงวิชาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณคดีบาลี โดยนำโครงสร้างและรูปแบบการอธิบายจากวรรณคดีบาลีมาใช้ในงานนิพนธ์ ได้แก่ ปณามคาถา (ปณามพจน์), อารัมภกถา, อุทเทส, นิทเทส, นิคมนกถา (ปัจฉิมพจน์), การอธิบายคำและความด้วยการตั้งรูปวิเคราะห์ศัพท์, ปทวิจยะ (การให้ความหมายและรายละเอียดของคำ), ไวพจน์, ปุจฉา-วิสัชชนา, อุปมา, และนิทาน นอกจากนี้ชื่องานนิพนธ์ยังใช้ชื่อของวรรณคดีบาลี ซึ่งท่านได้นำมาใช้ทั้งหมด 4 ชื่อ ได้แก่ ทีปนี 7 เรื่อง, วิลาสินี 1 เรื่อง, รัตนมาลี 1 เรื่อง สำหรับงานอรรถาธิบาย และ วงศ์ 1 เรื่อง ซึ่งเป็นงานแสดงเหตุการณ์ตามลำดับเวลา การสร้างวรรณกรรมพระพุทธศาสนาภาษาไทยตามแนวทางของวรรณคดีบาลีแสดงถึงอิทธิพลจากประเพณีการศึกษาของพม่า ซึ่งพระเถระมีความเชี่ยวชาญทั้งการศึกษาปริยัติ การสร้างงานวรรณกรรม และการปฏิบัติสมาธิ ตามประวัติของท่าน หลังจากจบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี พระพรหมโมลีได้เข้าเป็นศิษย์กรรมฐานของท่านภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมจริยะ พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่าผู้มีความรู้แตกฉานทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ งานนิพนธ์ของพระพรหมโมลีมีความสำคัญต่อวรรณกรรมพระพุทธศาสนาภาษาไทย 3 ด้าน ได้แก่ (1) เป็นวรรณกรรมไทยที่มีโครงสร้างและรูปแบบการอธิบายตามแนวทางของวรรณคดีบาลี (2) หัวข้องานนิพนธ์แต่ละเรื่องให้ข้อมูลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักธรรมคำสอน การปฏิบัติกรรมฐาน พุทธประวัติ และศาสนประวัติ และ (3) สะท้อนการรับแนวคิดในการศึกษาพระพุทธศาสนาตามประเพณีของพม่าซึ่งการศึกษาปริยัติและการปฏิบัติกระทำควบคู่กัน งานนิพนธ์ของท่านจึงเป็นงานที่มีคุณค่าสำหรับชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในยุคนั้นซึ่งมีหนังสือพระพุทธศาสนาภาษาไทยค่อนข้างจำกัด ในขณะที่งานแปลภาษาไทยจากภาษาบาลียังไม่แพร่หลายกว้างขวาง

Article Details

How to Cite
เงางาม พระมหาอนุกูล, และ ตันศรีสุข สมพรนุช. 2023. “งานนิพนธ์พระพุทธศาสนาของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)”. ธรรมธารา 9 (2):38-74. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/265153.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. หนังสือ

พระญาณธชเถระ (แลดี สยาดอว์). อานาปานทีปนี. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์, 2551.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). วิปัสสนาวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. กรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. โพธิธรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. ภาวนาทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. มุนีนาถทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. โลกทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. โลกนาถทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. วิปัสสนาทีปนี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

______. วิมุตติรัตนมาลี. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า, 2545.

พระภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ. วิปัสสนาทีปนีฎีกา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2532.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

---2. พจนานุกรม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท. ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. พจนานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ : ฉบับภูมิพโลภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, 2556.

---3. วิทยานิพนธ์

กิตติศักดิ์ ลาภสุริยกุล. “ความสําคัญของคัมภีร์อรรถกถาเถรวาทต่อการศึกษาพระไตรปิฎก.” วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

ดารณี สมบูรณ์อนุกูล. “ความสัมพันท์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับลักษณะโวหารและความสามารถในการอ่าน เพื่อความเข้าใจกับความสามารถในการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรุงเทพมหานคร.” ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. “การใช้ภาษาร้อยแก้วในภาษาไทยสมัยอยุธยา.” ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515.

พรรณิภา หลินปิยวรรณ์. “การศึกษาเปรียบเทียบวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์คามวาสี กับพระสงฆ์อรัญวาสี ในสังคมไทยปัจจุบัน.” ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

พระพัฒนะ ธมฺมสาโร. “เรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมในกรรมทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร).” ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557.

---4. รายงานการวิจัย

แม่ชีวิมุตติยา (สุภาพรรณ ณ บางช้าง). “จักกวาฬทีปนี : ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า.” รายงานการวิจัย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554.

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. “วรรณกรรมล้านนา : ภูมิปัญญา ลักษณะเด่น และคุณค่า.” รายงานการวิจัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2559.

---5. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ กฎหมำย ประกาศ

ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์. 22 ธันวาคม 2537. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/D/102/1.PDF.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. บทความ

McDaniel, Justin Thomas. “Gathering Leaves and Lifting Words: Histories of Buddhist Monastic Education in Laos and Thailand.” The Culture of Translation. University of Washington Press, 2008: 161-190.

---2. พจนานุกรม

Buddhadatta, A. P. Mahāthera, concise Pali-English Dictionary. Colombo: Colombo Apothecaries’ Co, 1887-1962.

Davids, T.W. Rhys, and William Stede. The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary. London: PTS, 1921-1925.