คัมภีร์ใบลานยุคพระเจ้ากาวิละ: กรณีศึกษาจากบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา สำรวจพบ ณ วัดดวงดี อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

Main Article Content

พระอัมรินทร์ สนฺติธมฺโม
วิไลพร สุจริตธรรมกุล
พงษ์ศิริ ยอดสา

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลที่ได้จากการอ่าน ปริวรรต ศึกษาและวิเคราะห์บันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนาในยุคของพระเจ้ากาวิละทั้ง 8 ฉบับ ระหว่างปี พ.ศ. 2343-2358 จากการสำรวจคัมภีร์ใบลาน ในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2560-2563 ที่พบ ณ วัดดวงดี อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และนำมาวิเคราะห์ศึกษาเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงเหตุการณ์ทางพระพุทธศาสนามิติต่าง ๆ ในยุคพระเจ้ากาวิละ
        ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนาในยุคของพระเจ้ากาวิละทั้ง 8 ฉบับ ระหว่างปี พ.ศ. 2343-2358 ณ วัดดวงดี เป็นรูปแบบเดียวกัน 4 ประการ คือ 1) ช่วงเวลาของการจารใบลาน ในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างเพียงพอ 2) สถานที่จารใบลานพบชื่อสถานที่สำคัญทางด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เช่น วัดสวนดอก 3) ชื่อผู้มีส่วนร่วมในการสร้างจารใบลาน พบว่ามีทั้งการระบุชื่อผู้จารโดยตรง และการยกย่องผู้ที่ต้องการจะบูชาธรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์และเป็นหัวหน้าโครงการ และ 4) ข้อความปรารภของผู้จารที่ต้องการให้คัมภีร์ใบลานที่ตนจารนั้นเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา อธิษฐานจิตให้พระพุทธศาสนายืนยงและความปรารถนาส่วนตัว การบูชาธรรมครูบาอาจารย์ นอกจากนั้นยังแสดงความถ่อมตนด้วยการบอกถึงความไม่งามของตัวอักษรที่ตนจารอีกด้วย
  จากการวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานในยุคของพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2317-2358) จำนวน 8 ฉบับ และสามารถนำมาเชื่อมโยงกับรูปแบบทั้ง 4 ที่พบข้อความในบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลาน คาดการณ์ได้ว่า ช่วงเวลานั้นเมืองเชียงใหม่เริ่มลงตัวจากการพัฒนาเมืองและสงครามที่เริ่มลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงกระบวนการจารคัมภีร์ใบลานที่ทำงานกันเป็นคณะ โดยมีพระภิกษุผู้มีสมณศักดิ์เป็นหัวหน้าโครงการ และพุทธบริษัท 4 เป็นผู้จารรวมทั้งสนับสนุนโครงการ ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการจารคัมภีร์ใบลาน ว่าเป็นไปเพื่อการสร้างบุญกิริยาตามธรรมเนียมชาวล้านนา จึงทำให้เกิดกระแสของการจารคัมภีร์ใบลานอย่างมากเพื่อกุศลผลบุญในหมู่สามัญชน แต่วัตถุประสงค์ของชนชั้นปกครองจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นธรรมราชา เพื่อให้ชาวเมืองยอมรับในตัวผู้ปกครอง โดยแต่งตั้งพระภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถและเป็นที่ศรัทธาของมหาชนให้ได้รับสมณศักดิ์ และมีพระราชกระแสให้จารคัมภีร์ใบลาน นัยหนึ่งเพื่อสร้างกุศลและอีกนัยหนึ่งอาจเป็นไปเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของกษัตริย์ผู้เป็นธรรมราชาด้วยการบำรุงพระพุทธศาสนาในอีกทางหนึ่ง

Article Details

How to Cite
สนฺติธมฺโม พระอัมรินทร์, สุจริตธรรมกุล วิไลพร, และ ยอดสา พงษ์ศิริ. 2023. “คัมภีร์ใบลานยุคพระเจ้ากาวิละ: กรณีศึกษาจากบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา สำรวจพบ ณ วัดดวงดี อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่”. ธรรมธารา 9 (2):2-37. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/266388.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

---1. หนังสือ

กรมศิลปากร. ตำนานมูลศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสยาม, ม.ป.ป..

______. ปัญญาสชาดก ภาคที่ 7. พระนคร: โรงพิมพ์สำเริงกิจ, 2501. http://164.115.27.97/digital/items/show/15925.

คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่ ร่วมกันสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. บรรณาธิการโดย วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.

ดิเรก อินจันทร์. ตำนานครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถรสร้างคัมภีร์ธรรม. เชียงใหม่: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.

พระปัญญาสามี. ศาสนวงศ์หรือประวัติศาสนา. แปลโดย แสง มนวิทูร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.

พระยาประชากิจกรจักร. พงศาวดารโยนก. กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา, 2516.

พระยาปริยัติธรรมธารา (แพ ตาลลักษมณ). สังคีติยวงศ์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2521.

ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว. 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพมหานคร: TEN MAY PRODUCTION, 2545.

สงวน โชติสุขรัตน์. คนดีเมืองเหนือ. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2552.

______. วีรกรรมของพระเจ้ากาวิละ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์, 2502.

สรัสวดี อ๋องสกุล. กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557.

______. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2557.

---2. บทความ

บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์. “การใช้อรรถกถาวินิจฉัยศัพท์ดั้งเดิม: กรณีศึกษาคัมภีร์ทีฆนิกาย.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 10), (มกราคม-มิถุนายน 2563): 115-157.

พระอธิการกฤษฎา สุทฺธิญาโณ (เรืองศิลป์), ศิริโรจน์ นามเสนา และพระศรีสุทธิพงศ์ (สมส่วน ปฏิภาโณ). “ศึกษาอิทธิพลของปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย.” วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2563): 455-464.

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล. “การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยและกัมพูชา.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8), (มกราคม-มิถุนายน 2562): 74-113.

______. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎก ใบลานอักษรขอมคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ที่พบในประเทศไทยและกัมพูชา.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 12), (มกราคม-มิถุนายน 2564): 65-99.

สำราญ ผลดี. “หัวเมืองฝ่ายเหนือกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช.” วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ปีที่ 2, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 14-27.

---3. วิทยานิพนธ์

จตุพร เพชรบูณ์. “ความเชื่อและบทบาทของประเพณีทานธัมม์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

ดิเรก อินจันทร์. “แนวคิดและกระบวนการสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกในล้านนาและรัฐฉาน.” วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2560.

ระวิวรรณ ภาคพรต. “การกัลปนา ในลานนาไทย ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.

อนุวัตร อินทนา. “วัดโบราณกับการจัดการภูมิทัศน์แนวใหม่: กรณีศึกษาวัดดวงดี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.” ค้นคว้าอิสระ, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์. “การบอกเวลาในหนึ่งวันของวัฒนธรรมล้านนาและล้านช้าง.” เฟซบุ๊กสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 14 พฤษภาคม 2563. https://web.facebook.com/346438995404709/photos/a.447404258641515/2991388314243084/?_rdc=1&_rdr.

ตุลาภรณ์ แสนปรน. “มิติวัฒนธรรมจากข้อความท้ายใบลาน.” culture.lpru.ac.th, เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565. http://www.culture.lpru.ac.th/ebook/modules/ebook/file/pdf/sub/lampang1_Cut10.pdf.

ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. “วัดดวงดี.” สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566. https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/592.

at-chiangmai. “วัดชมพู ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่.” สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566. https://www.at-chiangmai.com/วัดชมพู-ตำบลช้างม่อย-อำเภอเมืองเชียงใหม่/.

Top Chiangmai. “วัดพันตอง เชียงใหม่.” 30 กรกฎาคม 2559. https://www.topchiangmai.com/trip/วัดพันตอง-เชียงใหม่/.

Global. “รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ.” สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. https://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html.