การศึกษาวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวที ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของความกตัญญูกตเวที 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เงื่อนไขความกตัญญูกตเวทีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์ความกตัญญูกตเวทีจำนวน 10 คน ของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและมีเกณฑ์ในการเลือก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลโดยการให้รหัสข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลที่ให้รหัสแล้วเข้าด้วยกันเป็นกลุ่ม และเชื่อมข้อมูลที่จัดกลุ่มแล้วให้เกิดแนวคิดที่เป็นข้อเสนอทางทฤษฎี ผลการวิจัยพบว่า
1) ความกตัญญูกตเวทีความหมายเชิงเนื้อหามี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ “การรู้คุณ” ของผู้อื่นที่ให้คุณประโยชน์แก่ตน และส่วนที่ 2 คือ “การตอบแทนคุณ” ต่อผู้มีบุญคุณโดยตรงและโดยอ้อมด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการรู้คุณนี้เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนตระหนักรู้ว่า ตนเองเป็นผู้รับคุณประโยชน์ที่จัดเตรียมให้โดยผู้มีบุญคุณ และการรู้คุณนี้เองที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะทำการตอบแทนบุญคุณ โครงสร้างของความกตัญญูกตเวทีประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านอารมณ์และด้านพฤติกรรมของความกตัญญูกตเวที โดยด้านอารมณ์ของความกตัญญูกตเวทีที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมการตอบแทนต่อผู้มีบุญคุณ ประกอบด้วย 1) ความรู้สึกเชิงบวกต่อสิ่งที่ได้รับ 2) ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณ และ 3) ความรู้สึกรักและผูกพันกับผู้มีบุญคุณ ส่วนด้านพฤติกรรมของความกตัญญูกตเวทีแสดงออกได้ 4 วิธี คือ 1) การแสดงความขอบคุณด้วยกิริยา วาจา 2) การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีบุญคุณ 3) การพัฒนาตนเองตามความคาดหวังของผู้มีบุญคุณ และ 4) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคม
2) เงื่อนไขความกตัญญูกตเวทีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 2 ส่วน คือ เงื่อนไขภายนอกและเงื่อนไขภายใน เงื่อนไขภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว โรงเรียนและสังคม เงื่อนไขภายใน ได้แก่ 1) การตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งที่ได้รับ 2) การตระหนักรู้ในความห่วงใยเอาใจใส่ 3) การตระหนักรู้ในความตั้งใจช่วยเหลือของผู้มีบุญคุณ และ 4) การตระหนักรู้ในความเสียสละของผู้มีบุญคุณ
ผลการวิจัยที่ได้นี้มีนัยสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานของครูและนักการศึกษาในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความกตัญญูกตเวที
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. หนังสือ
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ. กระบวนทัศน์สร้างสรรค์นิยม หลากหลายรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์. ปทุมธานี: ไอเดียนาลีน มีเดีย โซลูชั่น, 2565.
พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. มงคลชีวิต ฉบับทางก้าวหน้า. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2551.
สาโรช บัวศรี. จริยธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา, 2526.
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. วิภาษวิธีแห่งจิตตปัญญา: จากศีล 5 ถึงปรัชญาปารมิตา. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553.
---2. บทความ
เบญจวรรณ ชยางกูร ณ อยุธยา. “การปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ.” วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2565): 167-176.
อำนาจ สงวนกลาง. “การศึกษาวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวทีในพระพุทธศาสนาเถรวาท.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 12), (มกราคม – มิถุนายน 2564): 101-130.
---3. วิทยานิพนธ์
นวลลออ วรชินา. “ผลของโปรแกรมพัฒนาการแสดงความกตัญญูกตเวทีของเด็กไทย.” สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.
---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. “ช็อกสังคม ด.ญ.14 ฆ่าแม่ บงการวางแผนแฟนหนุ่มวัย 16 พี่ชายสาหัส.” ไทยรัฐออนไลน์, 9 เมษายน 2565. https://www.thairath.co.th/news/local/central/2363512.
Kapook. “มอบตัวแล้ว ! ลูกวัย 16 แทงแม่สาหัส ลั่นตั้งใจจะฆ่าให้ตาย อยากมีชีวิตอิสระ.” สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564. https://hilight.kapook.com/view/203267.
• ภาษาต่างประเทศ
---1. บทความ
Bartlett, Monica Y., Paul Condon, Jourdan Cruz, Jolie Baumann, and David Desteno. “Gratitude: Prompting Behaviors That Build Relationships.” Cognition and Emotion, 26, no. 1, (January 2012): 2-13.
Bono, Giacomo, and Jason T. Sender. “How Gratitude Connects Humans to the Best in Themselves and in Others.” Research in Human Development, 15, no. 3-4, (2018): 224-237.
Emmons, Robert A.. “Gratitude.” Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. Edited by Christopher Peterson and Martin E. P. Seligman. New York: Oxford University Press, 2004: 553-568.
Emmons, Robert A., and Charles M. Shelton. “Gratitude and the Science of Positive Psychology.” Handbook of Positive Psychology. Edited by C. R. Snyder and Shane J. LOPEZ. New York: Oxford University Press, 2002: 459-471.
Froh, Jeffrey J., Robert A. Emmons, Noel A. Card, Giacomo Bono, and Jennifer A. Wilson. “Gratitude and the Reduced Costs of Materialism in Adolescents.” Journal of Happiness Studies, 12, no. 2, (April 2011): 289-302.
Froh, Jeffrey J., William J. Sefick, and Robert A. Emmons. “Counting Blessings in Early Adolescents: An Experimental Study of Gratitude and Subjective Well-Being.” Journal of School Psychology, 46, no. 2, (April 2008): 213-233.
Hlava, Patty, and John Elfers. “The Lived Experience of Gratitude.” Journal of Humanistic Psychology, 54, no. 4, (2014): 434-455.
McCullough, Michael E., Shelly D. Kilpatrick, Robert A. Emmons, and David B. Larson. “Is Gratitude a Moral Affect?.” Psychological Bulletin, 127, no. 2, (March 2001): 249-266.
Naito, Takashi, and Naoko Washizu. “Gratitude in Life-span Development: An Overview of Comparative Studies between Different Age Groups.” The Journal of Behavioral Science, 14, no. 2 (May 2019): 80-93.
______. “Note on Cultural Universals and Variations of Gratitude from an East Asian Point of View.” The Journal of Behavioral Science, 10, no. 2, (July 2015): 1-8.
Naito, Takashi, Janjira Wangwan, and Motoko Tani. “Gratitude in University Students in Japan and Thailand.” Journal of Cross-Cultural Psychology, 36, no. 2, (March 2005): 247-263.
Renshaw, Tyler L., and Rachel M. Olinger Steeves. “What Good Is Gratitude in Youth and Schools? A Systematic Review and Meta-analysis of Correlates and Intervention Outcomes.” Psychology in the School, 53, no. 3, (March 2016): 286-305.
Tesser, Abraham, Robert Gatewood, and Michael Driver. “Some Determinants of Gratitude.” Journal of Personality and Social Psychology, 9, no. 3, (July 1968): 233-236.