การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ของชุมชนต้นแบบในสังคมไทย

Main Article Content

พระครูพิลาสธรรมากร (ณัฐพล ประชุณหะ)
เดชา ตาละนึก
พัลลภ หารุคำจา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการออกแบบและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนในเขตเมือง 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนต้นแบบโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในยุค 4.0 และ 3) เพื่อประเมินนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และนำเสนอศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบในสังคมไทย การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนเขตเมือง 3 พื้นที่ คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 การวิจัยนี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 รูป/คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลร่วมประเมินความพึงพอใจจำนวน 240 รูป/คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความพอใจ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. แนวคิดการออกแบบและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในเขตเมือง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ให้แนวคิดการออกแบบพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์บน Google Sites ออกแบบและพัฒนาพื้นที่เรียนรู้นวัตกรรมชุดความรู้ จำนวน 3 ศูนย์ คือ 1) ศูนย์การเรียนประวัติศาสตร์ชุมชน วัดสวนดอก พระอารามหลวง พัฒนานวัตกรรมชุดความรู้เชิงสร้างสรรค์จำนวน 7 ชุด คือ (1) ประวัติวัดสวนดอก (2) พระบรมธาตุเจดีย์ (3) พระวิหารหลวง (4) พระอุโบสถพระเจ้าเก้าตื้อ (5) กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ (6) อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย (7) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) ศูนย์การเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง พัฒนานวัตกรรมชุดความรู้จำนวน 10 ชุด คือ (1) ประวัติวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง (2) พระบรมธาตุเจดีย์เจ็ดยอด (3) พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าติโลกราช (4) สัตตมหาสถานทั้ง 7 แหล่งเรียนรู้สำคัญตามรอยพระพุทธศาสนา 3) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านการปฏิบัติธรรม วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) พัฒนานวัตกรรมชุดความรู้จำนวน 9 ชุด คือ (1) ประวัติวัดร่ำเปิง (2) อุโบสถ (3) วิหารลายคำ (4) การปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 (5) สถานที่ขึ้น-ลาพระกรรมฐาน (6) กุฏิเจ้าอาวาส สถานที่สอบและส่งอารมณ์กรรมฐาน

2. การพัฒนาพื้นที่และนวัตกรรมชุดความรู้เชิงสร้างสรรค์ บนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Google Sites บรรจุชุดความรู้แบบ E-Book เรียนรู้จากการสแกน QR-Code ผลการศึกษา ได้พื้นที่และนวัตกรรมชุดความรู้เชิงสร้างสรรค์ต้นแบบในชุมชนเมือง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

3. ผลการประเมินความพร้อม การบริการ การให้ความรู้ ของพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านประวัติศาสตร์ชุมชน อยู่ในระดับดี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.25 พื้นที่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา อยู่ในระดับดี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.20 พื้นที่การปฏิบัติธรรม อยู่ในระดับดี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.19 จึงนำเสนอศูนย์เรียนรู้และนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ต้นแบบในชุมชนเมือง


 


 


 

Article Details

How to Cite
(ณัฐพล ประชุณหะ) พระครูพิลาสธรรมากร, ตาละนึก เดชา, และ หารุคำจา พัลลภ. 2024. “การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ของชุมชนต้นแบบในสังคมไทย”. ธรรมธารา 10 (1):154-90. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/270092.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

---2. หนังสือ

คณาจารย์สถาบันราชภัฎสวนดุสิต. ความจริงของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎสวนดุสิต, 2547.

จังหวัดเชียงใหม่, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Chiangmai Smart City Strategy Plan. เชียงใหม่: ม.ป.พ., 2562.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร, 2546.

แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. บรรณาธิการโดย พระราชวรเมธี และคณะ.”กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2560. http://www.buddhism4.com/web/download/book%201.pdf.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), 2548.

วิทยากร เชียงกูล. พัฒนาชุมชน-พัฒนาสังคม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2527.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

---3. พจนานุกรม

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. ในงานบําเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน (บุญอัฏฐะ) อุทิศให้ นายกอง ศรีสมุทร และนางพูล ศรีสมุทร. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ., 2561.

---4. บทความ

พนิต ภู่จินดา และยศพล บุญสม. “แนวคิดการพัฒนาเมืองต้นแบบ.” วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1, (มกราคม - มิถุนายน 2559): 20-43.

---5. รายงานวิจัย

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, พระราชวรมุนี (พล อาภากโร), พระครูพิพิธสุตาทร (บุญช่วย สิรินฺธโร), ณัทธีร์ ศรีดี, จักรกริช และวันชัย พลเมืองดี. “การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย.” รายงานการวิจัย, สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2556.

---6. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ศิรินทิพย์ อิสาสะวิน. “‘วัด’ ต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน.” สสส, 30 พฤศจิกายน 2553. https://www.thaihealth.or.th/?p=246301.