พระมหากัจจายนะในเอกสารฉบับต่าง ๆ (3): การเทศน์สอนช่วงแรกและบทบาทต่อเนื้อหาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

Main Article Content

ชาคริต แหลมม่วง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากภาคที่แล้ว ในภาคนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) นำเสนอเนื้อความที่พระมหากัจจายนะได้เทศน์สอนในช่วงต้นของการเผยแผ่ (2) ประมวลบทบาทของท่านที่มีต่อเนื้อหาในพระไตรปิฎก และ (3) ศึกษาที่มาของคัมภีร์ซึ่งมีการระบุว่าพระมหากัจจายนะเป็นผู้รจนา ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แหล่งข้อมูลจากคัมภีร์ของเถรวาทและนิกายอื่น รวมทั้งอาศัยผลการศึกษาวิจัยของนักวิชาการด้วย


จากการศึกษาพบว่า (1) ตามคัมภีร์ของ(มูล)สรวาสติวาท ในช่วงแรกที่พระมหากัจจายนะกลับไปเผยแผ่ ณ กรุงอุชเชนี ได้เทศน์สอนพระเจ้าจัณฑ-ปัชโชตโดยให้ข้อคิดเกี่ยวกับการไม่ติดในรสอาหารและการมีสติรักษาจิตของตน ทั้งนี้ใจความหลักยังคงมีความสอดคล้องกับหลักคำสอนในคัมภีร์เถรวาท (2) พระมหากัจจายนะมีบทบาทต่อเนื้อหาในพระไตรปิฎก คือ พระวินัยปิฎกทั้งของเถรวาทและต่างนิกายมีปรากฏเนื้อเรื่องการขอแก้ไขข้อบัญญัติ 5 ประการที่ท่านได้ฝากให้พระโสณกุฏิกัณณะไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระสุตตันตปิฎกฝ่ายบาลีมีอย่างน้อย 12 พระสูตรที่ปรากฏเนื้อความซึ่งพระมหากัจจายนะได้แสดงธรรมหรือกล่าวอธิบายข้อธรรมไว้อย่างสอดคล้องกันกับในพระสูตรหินยานพากย์จีน นอกจากนี้เอกสารฝ่ายจีนยังระบุว่า พระมหากัจจายนะเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทต่อการจัดหมวดหมู่เนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎกด้วย (3) คัมภีร์ในปัจจุบันที่มีกล่าวถึงว่ารจนาโดยพระมหากัจจายนะ ได้แก่ เนตติปกรณ์ เปฏโกปเทส และกัจจายนไวยากรณ์ เนื้อหาคัมภีร์เนตติปกรณ์และเปฏโกปเทสน่าจะมีรายละเอียดหรือรูปแบบเนื้อหาแตกต่างจากฉบับดั้งเดิมที่พระมหากัจจายนะรจนาไว้ในครั้งพุทธกาล สำหรับคัมภีร์เปฏโกปเทสยังเป็นที่แพร่หลายในนิกายอื่นอีกด้วย ส่วนเนื้อหา ในกัจจายนไวยากรณ์ โดยมากไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระมหากัจจายนะเลย อาจมีความสัมพันธ์กับพระมหากัจจายนะได้เฉพาะกฎไวยากรณ์ข้อแรก หรือแต่งขึ้นในสำนักที่สืบทอดมาจากพระมหากัจจายนะเพียงเท่านั้น

Article Details

How to Cite
แหลมม่วง ชาคริต. 2024. “พระมหากัจจายนะในเอกสารฉบับต่าง ๆ (3): การเทศน์สอนช่วงแรกและบทบาทต่อเนื้อหาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา”. ธรรมธารา 10 (1):2-46. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/270779.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์แปล

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 56. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

---2. หนังสือ

พระมหาสมชัย กุสลจิตฺโต. พระพุทธศาสนา: นิกายสรวาสติวาท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526.

---3. บทความ

เนาวรัตน์ พันธ์วิไล. “คัมภีร์มิลินทปัญหา: ปริศนาเรื่องกำเนิดและพัฒนาการ.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 9), (2019): 177-217.

วิไลพร สุจริตธรรมกุล. “การวิเคราะห์เปรียบเทียบสายคัมภีร์พระพุทธศาสนาจีนและบาลีของสิงคาลกสูตร.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 13), (กรกฏาคม – ธันวาคม 2564): 55-101.

---4. วิทยานิพนธ์

พระมหานิพนธ์ ประสานดี. “อิทธิพลของคัมภีร์กาตันตระที่มีต่อคัมภีร์ไวยากรณ์บาลี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.

พระมหาบุญเกิด เจริญแนว. “การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ ศึกษาเฉพาะประวรัชยาวัสตุ โปษธวัสตุ ประวารณาวัสตุ วรษาวัสตุ จรมวัสตุและสังฆเภทวัสตุ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. คัมภีร์ภาษาบาลี

พระนันทปัญญาจารย์. จูฬคันถวงศ์: ประวัติย่อคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย, 2546.

พระสัทธัมมโชติปาลเถระ. กัจจายนสุตตนิเทส: คัมภีร์อธิบายสูตรกัจจายน-ไวยากรณ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส, 2545.

พระอัคควังสมหาเถระ. สทฺทนีติปฺปกรณํ (สุตฺตมาลา). ปริวรรตโดย พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, 2549.

Chhappada Maha Thera [= Chapaṭa Saddhammajotipāla]. The Kachchayanasuttaniddesa [= Kaccāyanasuttaniddesa]. Edited by Mabopitiye Medhankara. Colombo: Vidyabhusana Press, 1915.

Pali Text Society. Aṅguttara-nikāya Part I. Edited by Richard Morris. London: Pali Text Society, 1961.

Pali Text Society. Aṅguttara-nikāya Part III. Edited by E. Hardy. London: Pali Text Society, 1976.

Pali Text Society. Aṅguttara-nikāya Part V. Edited by E. Hardy. London: Pali Text Society, 1958.

Pali Text Society. Apadāna Vol. I, II. Edited by Mary E. Lilley. Oxford: Pali Text Society, 2000.

Pali Text Society. Dhammapada. Edited by O. von Hinüber and K.R. Norman. Oxford: Pali Text Society, 1995.

Pali Text Society. Jātaka together with Its Commentary Vol. I, II. Edited by V. Fausbøll. London: Pali Text Society, 1962-1963.

Pali Text Society. Kaccāyana and Kaccāyanavutti. Edited by Ole Holten Pind. Bristol: Pali Text Society, 2013.

Pali Text Society. Mahāniddesa Parts I, II. Edited by L. de La Vallée Poussin and E.J. Thomas. London: Pali Text Society, 1978.

Pali Text Society. Majjhimanikāya Vol. I. Edited by V. Trenckner. London: Pali Text Society, 1979.

Pali Text Society. Majjhimanikāya Vol. II, III. Edited by Robert Chalmers. London: Pali Text Society, 1977.

Pali Text Society. Milindapañho. Edited by V. Trenckner. London: Pali Text Society, 1986.

Pali Text Society. Nettipakaraṇa. Edited by E. Hardy. Lancaster: Pali Text Society, 2006.

Pali Text Society. Paramatthadīpanī Part IV: Being the Commentary on the Vimānavatthu. Edited by E. Hardy. London: Pali Text Society, 1901.

Pali Text Society. Peṭakopadesa. Edited by Arabinda Barua. London: Pali Text Society, 1982.

Pali Text Society. Saddanīti Vol. I: Padamālā. Edited by Helmer Smith. Oxford: Pali Text Society, 2001.

Pali Text Society. Samantapāsādikā Vol. I. Edited by J. Takakusu and M. Nagai. London: Pali Text Society, 1975.

Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part II: Nidānavagga. Edited by M. Leon Feer. London: Pali Text Society, 1989.

Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part III: Khandhavagga. Edited by M. Leon Feer. London: Pali Text Society, 1975.

Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part IV: Saḷāyatanavagga. Edited by M. Leon Feer. Oxford: Pali Text Society, 1990.

Pali Text Society. Saṃyuttanikāya Part V: Mahāvagga. Edited by M. Leon Feer. Oxford: Pali Text Society, 1976.

Pali Text Society. Sumaṅgalavilāsinī: Buddhaghosa’s Commentary on the Dīghanikāya Part II. Edited by W. Stede. London: Pali Text Society, 1971.

Pali Text Society. Thera- and Therī-Gāthā. Edited by Hermann Oldenberg and Richard Pischel. London: Pali Text Society, 1966.

Pali Text Society. Vimānavatthu and Petavatthu. Edited by N.A. Jayawickrama. London: Pali Text Society, 1977.

Pali Text Society. Vinayapiṭakaṃ Vol. I. Edited by Hermann Oldenberg. Oxford: Pali Text Society, 1997.

Pali Text Society. Visuddhajanavilāsinī nāma Apadānaṭṭhakathā. Edited by C.E. Godakumbura. Oxford: Pali Text Society, 1988

Pali Text Society. Visuddhimagga of Buddhaghosa. Edited by C.A.F. Rhys Davids. London: Pali Text Society, 1975.

Sangharāja Śrī Rāhula. Buddhippasādanī: A Commentary on Padasādhana. Edited by Sthavīra Śrī Dhīrananda and Sthavīra Vācissara. Colombo: The Vidyānagara Printing Works, 1908.

Vimalabuddhi. The Mukhamattadīpanī, with the Kaccāyana Vutti. Edited by Weliwiṭiyē Dhammaratana. Colombo: H.C. Cottle, Acting Government Printer, 1898.

---2. คัมภีร์ภาษาทิเบต

Derge Edition. sDe dge Tibetan Tripiṭaka Vol. 1, 10-11, 72, 74, 91, 101, 241. Tibet: sDe dge Par khang, 1733-1744.

---3. คัมภีร์ภาษาจีน

Taishō Issaikyō Kankōkai 大正一切經刊行會 (Taisho Tripitaka Publication Association). Taishō Shinshū Daizōkyō 大正新脩大藏經 (Taishō Revised Tripiṭaka) Vol. 1-2, 4, 15, 22-26, 32, 41, 49, 51. Tokyo: Daizo shuppan Kabushiki Gaisha, 1988.

---4. คัมภีร์แปลภาษาอังกฤษ

BDK English Tripiṭaka Series. The Madhyama Āgama (Middle-Length Discourses) Vol. II, III. Edited by Bhikkhu Anālayo and Roderick S. Bucknell. California: BDK America, Inc., 2020-2022.

Library of Tibetan Works & Archives. Sutra of the wise and the Foolish. Translated by Stanley Frye. New Delhi: Library of Tibetan Works & Archives, 2006.

Pali Text Society. The Guide (Nettippakaraṇaṃ). Translated by Bhikkhu Ñāṇamoli. Oxford: Pali Text Society, 2008.

Pali Text Society. The Piṭaka Disclosure (Peṭakopadesa). Translated by Bhikkhu Ñāṇamoli. Oxford: Pali Text Society, 1979.

---5. หนังสือภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน

Alsdorf, Ludwig. Les Études Jaina: État Présent et Taches Futures. Paris: Collège de France, 1965.

Lamotte, Étienne. History of Indian Buddhism: From the Origins to the Śaka Era. Translated by Sara Webb-Boin. Louvain: Université catholique de Louvain, Institut orientaliste, 1988.

Norman, K.R.. Pāli Literature: Including the Canonical Literature in Prakrit and Sanskrit of all the Hīnayāna Schools of Buddhism. Wiesbaden: Otto Harrassowitz, 1983.

Palumbo, Antonello. An Early Chinese Commentary on the Ekottarika-āgama: The Fenbie gongde lun 分別功德論 and the History of the Translation of the Zengyi ahan jing 增一阿含經. Taipei: Dharma Drum Publishing Corporation, 2013.

Schiefner, A.. Mahâkâtjâjana und König Tshaṇḍa-Pradjota: Ein Cyklus buddhistischer Erzählungen. St. Petersburg: Commissionnaries de l’Académie Impériale des Science, 1875.

Winternitz, Maurice. A History of Indian Literature Vol. II. Translated by S. Ketkar and H. Kohn. Calcutta: University of Calcutta, 1933.

---6. หนังสือภาษาจีนและญี่ปุ่น

Lü Cheng (呂澂). Lü Cheng Foxue lunzhu xuanji juan si 呂澂佛學論著選集卷四 (รวมผลงานทางพุทธศาสตร์ของหลวี่เฉิง ภาค 4). Jinan: Qilu shushe, 1991.

Phramaha Somchai Watcharasriroj (ターナヴットー・S.W.). Shoki Bukkyō ni okeru seiten seiritsu to shugyō taikei 初期仏教における聖典成立と修行体系 (กําเนิดพระไตรปิฎกและแนวปฏิบัติสู่การตรัสรู้ธรรมในพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม). Tokyo: Sankibō Busshorin, 2019.

Shi, Yin shun (释印顺). Shuoyiqieyoubu weizhu de lunshu yu lunshi zhi yanjiu 说一切有部为主的论书与论师之研究 (การศึกษาวิจัยว่าด้วยปกรณ์และพระคันถรจนาจารย์ โดยมุ่งเน้นของนิกายสรวาสติวาทเป็นหลัก). Beijing: Zhonghua shuju, 2009.

Ui, Hakuju (宇井伯寿). Degeban Xizang Dazangjing zongmulu 德格版西藏大藏經總目錄 (บัญชีรายชื่อคัมภีร์ในพระไตรปิฎกทิเบตฉบับเดเก). Taipei: Huayu chubanshe, 1988.

---7. บทความภาษาอังกฤษและเยอรมัน

Bechert, Heinz. “Zur Geschichte der buddhistischen Sekten in Indien und Ceylon.” La nouvelle Clio, 7-9, (1955-1957): 311-360.

Bhikkhu Anālayo. “The Verses on an Auspicious Night Explained by Mahākaccāna - A Study and Translation of the Chinese Version.” Canadian Journal of Buddhist Studies, 4, (2008): 5-28.

Lamotte, Étienne. “Khuddakanikāya and Kṣudrakapiṭaka.” East and West, 7, no. 4, (January 1957): 341-348.

Pind, O.H.. “Pāli Grammar and Grammarians from Buddhaghosa to Vajirabuddhi: A Survey.” Journal of the Pali Text Society, 31, (2012): 57–124.

Pind, O.H.. “Saddavimala 12.I–II and its Mūlasārvāstivādin origin.” La pureté par les mots. Edited by F. Bizot and F. Lagirarde. Paris: École française d’Extrême-Orient, 1996: 67-72.

Ruiz Falqués, Aleix. “The Creative Erudition of Chapaṭa Saddhammajotipāla, a 15th-Century Grammarian and Philosopher from Burma.” Journal of Indian Philosophy, 43, no.4/5, (November 2015): 389–426.

Watanabe, Yoichiro. “Is Kacc 1: attho akkharasaññāto a pubbavākya?.” Journal of Indian and Buddhist Studies, 67, no. 3, (March 2019): 1091-1095.

Willemen, Charles. “A Chinese Kṣudrakapiṭaka (T. IV. 203).” Asiatische Studien, 46, Helf 1: Études Bouddhiques Offertes á Jacques May, (1992): 507-515.

Willemen, Charles. “Xuanzang about Avalokiteśvara, Jibin, and Madhyāntika.” Annals of the Bhandarkar Oriental Research Institute, 94, (2013): 111-123.

Zacchetti, Stefano. “An Early Chinese Translation Corresponding to Chapter 6 of the Peṭakopadesa: An Shigao’s Yin Chi Ru Jing T 603 and Its Indian Original: A Preliminary Survey.” Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London, 65, no. 1 (2002): 74-98.

Zacchetti, Stefano. “Some Remarks on the Peṭaka Passages in the Da Zhidu Lun and their Relation to the Pāli Peṭakopadesa.” Annual Report of the International Research Institute for Advanced Buddhology at Soka University, 5, (2002): 67-85.

Sa Er ji (萨尔吉). “Da zhi du lun” zhong de Kunle yu Pitan《大智度论》中的蜫勒与毗昙 (“กรัณฑะ” และ “อภิธรรม” ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์). Fa yin 法音 (The Voice of Dharma), 7, (2003): 17-22.