การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก: การจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในบริบทของประเทศไทย

Main Article Content

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว
ประสพชัย พสุนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีฐานรากของการจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีจากมุมมองของผู้เกี่ยวข้องกับคนพิการตามคู่มือมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, 2559) ประกอบด้วย 1) ตัวแทนคนพิการที่ได้รับการยอมรับ 2) ผู้ปกครองหรือตัวแทนสมาคมผู้ปกครองคนพิการ 3) ผู้ดูแลหรืออาสาสมัครด้านคนพิการ 4) เจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านคนพิการ 5) เจ้าหน้าที่องค์กรอิสระด้านคนพิการ และ 6) นักวิชาการที่มีประสบการณ์หรือทำวิจัยด้านคนพิการ รวมจำนวน 30 คน (ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์, 2559) โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ควบคู่กับการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบอกต่อ (ประสพชัย พสุนนท์ และคณะ, 2558) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การสังเกต การจดบันทึก ควบคู่กับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (สัญญา เคณาภูมิ, 2558) และ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการเปิดรหัส 2) ขั้นตอนการสร้างมโนทัศน์ 3) ขั้นตอนกลุ่มมโนทัศน์ และ 4) ขั้นตอนการสร้างทฤษฎี ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพของคนพิการ ให้ความหมาย 3 บริบท คือ การสร้างโอกาส การจัดการกับสิ่งขวางกั้น และการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุนทางสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาและการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมทางสังคม สิ่งอำนวยความสะดวก การฟื้นฟูสมรรถภาพ การดำรงชีวิตอิสระ สิ่งสนับสนุนความสำเร็จ และการเสริมสร้างพลังอำนาจ และ 2) คุณภาพชีวิตของคนพิการ หมายถึง สภาวะที่คนพิการรับรู้ความสามารถในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของตนซึ่งการรับรู้นั้นจะต้องสามารถตอบสนองกับความคาดหวัง ความต้องการ และการตัดสินใจด้วยตนเองของคนพิการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การดำรงชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ และการเป็นพลเมืองของสังคม ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดกรอบการจัดทำนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในบริบทของประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ พันพึ่ง. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาประชากรเป้าหมายกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2559). คู่มือมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ "โครงการเสริม
พลังคนพิการ สร้างโอกาสและความเท่าเทียมในสังคม". สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561,
จาก http://202.151.176.107/nep/bcms/wp-content/uploads/2015/07/KM-pdf.

เจษฎา นกน้อย. (2554). การจัดการความหลากหลายในองค์กร: ตัวแบบทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียม
กันของผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชลธิชา ทิพย์ประทุม และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). การคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี
ฐานราก. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,
10(3), 105-113.

ธร ปิติดล. (2558). มองชุมชนไทยผ่านกรอบ Amartya Sen. ใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, การสัมมนา เศรษฐศาสตร์
3 กรอบ. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ.
วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31 – 48.

ประสพชัย พสุนนท์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2556). ประสิทธิภาพและกุญแจแห่งความสำเร็จในการดำเนินการสหกรณ์
การเกษตร: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสาร Veridian E-Journal, 6(1), 610-628.

ประสพชัย พสุนนท์, สุดา ตระการเถลิงศักดิ์, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ทฤษฎีฐานรากของ
ความหมายและตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ. วารสารการเมือง
การบริหาร และกฎหมาย, 7(3), 243-273.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2560). นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ยกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางเลือกในการพัฒนา.
สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/111367.

ภัทรกิติ์ โกมลกิติ. (2551). ชีวิตและข้อจำกัดด้านการเดินทางของคนพิการไทย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1. 63-77.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีฐานราก. วารสารวิจัยและพัฒนา
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 93-103.

Charmaz, K. (2006). Constructionism and the Grounded Theory A Practical Guide Through Qualitative
Analysis. CA: SAGE.

Edmons, L. J. (2005). Disabled People and Development Vol. 12. Philippines: Asian Development
Bank.

Mitra, S. (2006). The Capability Approach and Disability. Journal of Disability Policy Studies, 16(4),
236-247.

Sen, A. (2003). Development as Capability Expansion. In S. Fukuda-Parr & et al. (Eds.), Readings in
Human Development. New Delhi and New York: Oxford University Press.

Sen, A. (2009). The Idea of Justice. London: Allen Lane.

Strauss, A. L. and Corbin, J. M. (1990). Basic of Qualitative Research: Techniques and Procedures for
Developing Grounded Theory. (2nd ed). CA: SAGE.