รูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด

Main Article Content

กิตติพันธ์ นาคมงคล
พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิดจากเอกสาร งานวิจัย และจากความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของนักศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด และ2)เพื่อพัฒนารูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาทางไกล ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิด จำนวน 384 คน และผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินร่างรูปแบบ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบยูเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาพบว่ารูปแบบยูเลิร์นนิงฯ ประกอบด้วย 1.1) ปัจจัยนำเข้าหรือองค์ประกอบของยูเลิร์นนิง ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ บุคลากร(Personnel) กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) สื่อการเรียนรู้ (Learning Media) เครื่องมือ, อุปกรณ์, และเทคโนโลยีการสื่อสาร (tools, equipment andInformation Technology) และแบบประเมินผล (Evaluation) 1.2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Preparation Before Learning) ขั้นจัดการเรียนรู้ด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิด (Interactive Scenario Video Learning & Reflective Thinking Process) และขั้นประเมินผล (Appraising Stage) 1.3) ผลลัพธ์ (Output) คือความสามารถในการแก้ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นระบุปัญหา ขั้นวิเคราะห์สาเหตุปัญหา ขั้นศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และขั้นตรวจสอบผลการแก้ปัญหา 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบยูเลิร์นนิงด้วยวีดิทัศน์สถานการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์และการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาทางไกลระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเปิดอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.59, SD = 0.45) ผู้เชี่ยวชาญเห็นควรนำไปพัฒนาและศึกษาผลการทดลองต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกล็ดนที ไชยชนะ. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับการศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 11(2).

กองแผนงาน. (2561). จำนวนนักศึกษาใหม่ ทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ปี 2523-2559. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2558). การใช้สื่อผสมผสานในการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา (รายงานวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

งานนโยบายและแผน. (2561). สถิติเกี่ยวกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, จาก http://www.regis.ru.ac.th/index.php/10-2013-12-20-06-46-50/20-stat.

ชมพูนุท บุญอากาศ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี.

ดุจเดือน เขียวเหลือง. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต).สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัทณัฏฐ์ ฉัตรภัครัตน์. (2556). การพัฒนาระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสผ่านสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1), 16-23.

นรินทร์ นนทมาลย์. (2561). วิดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4).

ปิยะดา ขุนเพชรวรรณ. (2557). ผลของการใช้ผังกราฟิกบนเว็บ 2.0 ในการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.

มหาชาติ อินทโชติ, สาโรช โศภีรักข์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 15-26.

ศรีนวล วิวัฒคุณูปการ และวิภาดา คุณาวิกติกุล. (2548). Reflective learning การเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด. เชียงใหม่: โชตนา พริ้นท์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ.

Chiu, P.S. et al. (2008). A Meaningful Learning based U-learning Evaluation Model. 2008 Eighth IEEE International

Conference on Advanced Learning Technologies (pp.77-81). Santander, Cantabria, Spain.

Jacobs, M. (1999). Situated Cognition: Learning and Knowledge Relates to Situated Cognition. Retrieved from http://www.gsu.edu/~mstswh/courses/it7000/papers/situated.htm.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Maboe, K.A. (2017). Use of Online Interactive Tools in an Open Distance Learning Context: Health Studies Students' Perspective. Health SA Gesondheid, 22(1), pp.221-227.

Majumdar, A. (2017). Getting Started with Video-Based Learning. Retrieved from https://elearningindustry.com/video -based-learning-getting-started.

Morton, K. (2018). 4 Ways to Make Your Sales Training Videos Work Harder. Retrieved from https://www.td.org/insights/4-ways-to-make-your-sales-training-videos-work-harder.

Phadke, S. (2017). 4 Examples Of Using Scenarios To Create Context For Learning. Retrieved from https:// elearningindustry.com/scenarios-to-create-context-for-learning-4-examples.

SnapApp, Inc. (2018). Interactive Video Transform Videos into Engaging Conversation. Retrieved from https://www.snapapp.com/platform/interactive-content-types/interactive-video.

Spencer, R. (2015). Using Real Life Scenarios In eLearning: 5 Advantages. Retrieved from https://elearningindustry.com/using-real-life-scenarios-in-elearning-5-advant.