เทคนิคการแปลผลการใช้สถิติพาราเมตริกและนันพาราเมตริกในการวิจัยทางสังคมศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถิติพาราเมตริก เป็นสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐานและประมาณค่าคุณลักษณะของประชากร ที่เรียกว่า พารามิเตอร์ สถิตินันพาราเมตริก เป็นสถิติทดสอบสมมติฐานที่ไม่ได้ทดสอบค่าพารามิเตอร์ และ การแจกแจงของประชากรไม่จำเป็นต้องเป็นแบบปกติ สถิติพาราเมตริกที่นิยมใช้ในการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน สหสัมพันธ์และการถดถอย สถิติ นันพาราเมตริกที่นิยมใช้ คือ ไคสแควร์ การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลพิจารณาจาก วัตถุประสงค์การวิจัย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลที่ได้จากการวัด การแปลผลมีหลักการสำคัญคือ แปลผลให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การวิจัย ใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจง่าย แปลผลตามตัวเลขที่ปรากฏ และแปลเฉพาะประเด็น สำคัญ นักวิจัยจึงควรมีความรู้ความเข้าใจข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติและการแปลผลข้อมูลให้ถูกต้อง เทคนิคการแปลผลการใช้สถิติในการวิจัย จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะจะทำให้ผลงานวิจัยมีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือ
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2558). สถิติพาราเมตริก: การทดสอบค่าเฉลี่ย ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา (หน่วยที่ 11, หน้า 1-50). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2557). การวิจัยทางสังคมศาสตร์: การประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอ้างอิง ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติประยุกต์ทางนิเทศศาสตร์ (หน่วยที่ 9, หน้า 1-105). สาขาวิชานิเทศศาสตร์: นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2558). สถิตินันพาราเมตริก ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา (หน่วยที่ 13, หน้า 1-79). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบุญศิริการพิมพ์ จำกัด.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, J.W. & Kahn, J.V. (1986). Research in education. (5thed). New Jersey: Prentice-Hall.
Kerlinger, F.N. (1988). Foundations of behavioral research. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.
Roger, E.K. (1999). Statistics: An introduction. 4thed. New York: Harcourt Brace College Publish.