การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสกัดโลหะมีค่าจากขยะแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของ บริษัท เอส (ประเทศไทย) จากัด จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ปวิตรา ฤกษ์บางพลัด

บทคัดย่อ

          การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกระบวนการผลิตแผ่นวงจรประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษารูปแบบและทางเลือกทางด้านเทคนิคของโครงการเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน ผลการศึกษา พบว่า การผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ประกอบในโรงงานเกิดของเสียที่ต้องกำจัดทิ้งโดยเฉลี่ยปีละ 70.8 ตันต่อปี ปัจจุบันมีการกำจัดโดยการชั่งน้ำหนักจำหน่ายตันละ 2 แสนบาทซึ่งเป็นมูลค่าที่ต่ำเมื่อเทียบกับปริมาณโลหะมีค่าภายในขยะแผ่นวงจรที่สกัดจำหน่ายได้ในราคาตันละ 4.9 แสนบาท ดังนั้นการสกัดโลหะมีค่าจากซากแผ่นวงจรสามารถเพิ่มมูลค่าได้ ทั้งนี้โครงการมีการลงทุนกระบวนการสกัดโลหะมีค่าแบบครบวงจรเพื่อให้โลหะมีค่าที่สกัดได้มีค่าความบริสุทธิ์ตามมาตรฐานของตลาด การประมาณการต้นทุนและผลตอบแทนใช้อัตราคิดลดจากการหาต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 8.73 ผลการวิเคราะห์ทางการเงินเมื่อกำหนดอายุโครงการ 10 ปีพบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิมีค่าเท่ากับ -5,997,915 บาท อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 6.68 อัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าแล้วเท่ากับร้อยละ 7.52 และดัชนีความสามารถในการทำกำไรเท่ากับ 0.89 สรุปได้ว่าโครงการนี้ไม่น่าลงทุนเมื่อเปรียบค่าของตัวชี้วัดจากประมาณการกับหลักเกณฑ์การตัดสิน และผลทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนพบว่าผลตอบแทนต้องเพิ่มร้อยละ 4.09 ด้านต้นทุนการดำเนินงาน ต้นทุนการลงทุน หรือต้นทุนรวมต้องลดลงร้อยละ 6.23, 10.64 หรือ 3.93 ตามลำดับ จึงทำให้คุ้มค่าในการลงทุน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอตุสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. 2556. เทคโนโลยีการแยกสกัดโลหะมีค่าและโลหะพื้นฐานจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Online). https://www.dpim.go.th/service/download., 6 สิงหาคม 2559
กรมอตุสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. 2556. เทคโนโลยีรีไซเคิลทองคำจากซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Online). https://www.dpim.go.th/purchase/article.,6 สิงหาคม 2559
จุไร ทัพวงษ์, วิชญะ นาครักษ์, วิโรจน์ นรารักษ์, สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก และสุภาสินี ตันติศรีสุข.2555. การวิเคราะห์โครงการและแผนงาน (Project and Program Analysis).
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. 2554. เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์
แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.2559.ราคาดัชนีผลตอบแทนรวม(Online). https://www.set.or.th/th/market/tri.html., 30 พฤศจิกายน 2559
บริษัท เอส (ประเทศไทย) จำกัด. 2559. ฝ่ายวางแผนการผลิต. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.
บริษัท เอส (ประเทศไทย) จำกัด. 2559. ฝ่ายการผลิตแผ่นวงจรประกอบอิเล็กทรอนิกส์. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.
บริษัท เอส (ประเทศไทย) จำกัด. 2559. ฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี.
เปรมฤดี กาญจนปิยะ. 2544. E-Waste การรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีกายภาพ. ปทุมธานี: บริษัท ไทยเอฟเฟคท์สตูดิโอ จำกัด.
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. 2554. เทคโนโลยีการจัดการซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Online). https://nstda.or.th/cyberbookstore/ewaste%20vol%202.pdf., 7 ตุลาคม 2559
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. 2557. ลดขยะล้นโลกกับงานวิจัยรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Online). https://www.energysavingmedia.com/news/page.php., 7 ตุลาคม 2559
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2556. e-Wasteการรีไซเคิลซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Online). https://infofile.pcd.go.th/haz/8waste.pdf., 7 ตุลาคม 2559
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2559. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Online). https://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/2559-nicha.pdf, 7 ตุลาคม 2559
หฤทัย มีนะพันธ์. 2550. หลักการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด