การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในตลาดค้าบริการทางเพศ

Main Article Content

ปฐมพงศ์ โอภาโส
ทองใหญ่ อัยยะวรากูล

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในตลาดค้าบริการทางเพศ
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราค่าตอบแทน และปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้ค้าบริการทางเพศ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มผู้ค้าบริการทางเพศทั้งเพศชายและเพศหญิงรวมกันจำนวน 409 ราย
มาวิเคราะห์ในเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบจำลอง Hedonic Price มาประยุกต์ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหรือลักษณะต่างๆ ด้วยการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญของตัวแปรที่มีผลต่อรายได้ต่อเดือนและอัตราค่าตอบแทนต่อครั้งของผู้ค้าบริการทางเพศ จากการศึกษาพบว่า ผู้ค้าบริการเพศหญิงได้รับรายได้จากการค้าบริการทางเพศเฉลี่ยต่อเดือนและอัตราค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อครั้งมากกว่าผู้ค้าบริการเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราค่าตอบแทนต่อครั้งของผู้ค้าบริการเพศหญิง ได้แก่ รายได้ต่อเดือนจากอาชีพอื่น ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ประเภทของลูกค้า ความถี่ในการให้บริการทางเพศ ประสบการณ์การค้าบริการทางเพศ ช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเพื่อให้บริการทางเพศ และการมีหลักเกณฑ์ในการเลือกลูกค้า ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออัตราค่าตอบแทนต่อครั้งของผู้ค้าบริการเพศชาย ได้แก่ รายได้ต่อเดือนจากอาชีพอื่น ปัจจัยทางด้านร่างกายและขนาดอวัยวะเพศชาย ประเภทของลูกค้า ความถี่ในการให้บริการทางเพศ ประสบการณ์การค้าบริการทางเพศ และช่องทางการติดต่อกับลูกค้าเพื่อให้บริการทางเพศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. 2550. ธุรกิจบริการทางเพศ. รายงานทบทวนและสังเคราะห์ สถานการณ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการทางเพศในประเทศไทย, 4-5 ตุลาคม 2550 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำประเทศไทย
จารุวรรณ จันทร์อินทร์. 2540. ปัจจัยกำหนดการเปลี่ยนแปลงของความแตกต่างระหว่างรายได้แรงงานชาย และหญิง. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ชารินทร์ พลภาณุมาศ. 2559. เปิดเปลือยข้อมูลโสเภณีเมืองกรุงแบบ Data Analysis, 14 พฤศจิกายน2559. https://thematter.co/byte/data-analysis-of-bangkoks-prostitute/5345
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์. 2551. ธุรกิจนอกระบบ: ศึกษากรณีการค้าบริการทางเพศในสังคมไทย. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ธรีรัตน์ เชมนะสิริ. 2545. โสเภณี การค้าประเวณี นักศึกษา ค่านิยม สังคมประกิต ปัญหาสังคม. วิทยานิพนธ์, มานุษยวิทยามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ
อาลิสา ทรัพย์เสริมศรี. 2550. ความแตกต่างของรายได้และปัจจัยที่กำหนดรายได้ระหว่างแรงงานหญิงและ แรงงานชาย. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.
อัญชลี พินิจรักษ์ธรรม, 2544. การค้าประเวณี: กรณีนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์, เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ
ไทยรัฐ ออนไลน์. 2558. รับได้ไหม? ค้ากามเสรี ล้วงที่มาไทยเซ็กซ์ทัวร์ อาชีพแอบซ่อนฟันปีละหมื่นล้าน, 31 ตุลาคม 2559. https://www.thairath.co.th/content/512120
Alexander, P. and Delacoste, F. (1987). Sex Work: Writings by Women in the sex industry. New York: Prometheus Books.
Amnesty International. (2014). Decriminalisation of Sex Work. London: Amnesty International Ltd.
Boonchalaksi, W. and Guest, P. (1994). Prostitution in Thailand. Nakhon Pathom: Institution for Population and Social Research, Mahidol University, 171, 5-100
Chang, H.H. and Weng, Y. (2012). What is more important for prostitute price? Physical appearance or risky sex behavior?. Economics Letters, 117, 480–483.
Chapkis, W. (1997). Live Sex Acts: Women Performing Erotic Labor. New York: Routledge.
Cunningham, S. (2011). Monopolistic competition with product differentiation in prostitution markets: explaining the returns to BMI. Retrieved November 14, 2016, From https://econfaculty.gmu.edu/pboettke/workshop/Fall2011/Obesity_2.0.pdf
Cunningham, S. and Kendall, T.D. (2014). Prostitution, Education, and Moonlighting: A Demonstration of the Importance of Fixed and Variable Costs in Sex Worker Labor Supply, 11-38
Freedman, D.A., Pisani, R. and Purves, R.A. (1998). Statistics. 3rded. New York: W.W. Norton Inc.
Garofalo, G. (2002). Towards an economic theory of prostitution. United State: University of Siena.
Reynolds, H. (1986). The Economics of Prostitution. United State: C. C. Thomas.
Rosen, S. (1974). Hedonic prices and implicit markets: Product differentiation in pure competition. Journal of Political Economy, 82(1), 34-55.