การประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายต่อธุรกิจสถานดูแลผู้ศูงอายุของผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จิตติมา จิตราภิรมย์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้ตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ใช้การประเมินมูลค่าโดยการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า (Contingent Valuation Method: CVM) เทคนิคคำถามปิดแบบสองชั้น (Double-bounded dichotomous choice) ในการประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่าย (willingness to pay) ของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ ผลการศึกษา พบว่า ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุเฉลี่ยเท่ากับ 26,878.79 บาท/คน/เดือน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจจ่ายต่อธุรกิจกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย รายได้ ภาวะสุขภาพ ที่อยู่ในบั้นปลายชีวิต สวัสดิการสังคม และค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2559. จำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ปี 59. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dop.go.th. (29 กันยายน 2560).

คมสัน สุริยะ. 2547. เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยค่าตอบแทนสำหรับบริการด้านสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. 2559. จำนวนประชากรจังหวัดเชียงใหม่. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php (5 กันยายน 2560).

ลภัส อัครพันธุ์. 2558. เจาะธุรกิจขานรับผู้สูงอายุ. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.scbeic.com/th/detail/product/1675 (5 กันยายน 2560).

วราภรณ์ ปัญญาวดี. 2553. การประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ม.ป.พ.