การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรภาคเกษตรและประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

Main Article Content

วีรนุช วิจิตร
นิโรจน์ สินณรงค์
เกศสุดา สิทธิสันติกุล
กฤตวิทย์ อัจฉริยะพาณิชกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของเกษตรกรต่อประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งใช้ข้อมูลการผลิตข้าวและยางพาราในปีการผลิต 2554/2555 2555/2556  และ 2556/2557 จากสำมะโนประชากรครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 400 ครัวเรือน แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2  ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ 20-59 ปี และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตด้วยวิธีเส้นพรมแดน การผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพทางเทคนิคโดยรวมและการเปลี่ยนแปลงค่าประสิทธิภาพทาง เทคนิคของข้าวแต่ละช่วงอายุ พบว่าช่วงอายุ 20-59 ปี การเปลี่ยน แปลงค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคที่ระดับ(-8.80)  และช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไป การเปลี่ยนแปลงค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคที่ระดับ (-0.67) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคนิคในช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีประสิทธิภาพสูงกว่า ช่วงอายุ 20-59 ปี เนื่องมาจากมีเทคโนโลยีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการผลิตมากขึ้น คนรุ่นหลังขาด ความรู้ความเข้าใจกระบวนการเกษตรเท่ากับผู้สูงอายุ และเนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ปลูกรายปีซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาสั้นจึงส่งผลให้ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตสูงกว่าเพียงเล็กน้อยในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปอายุของแรงงานจึงส่งผลได้ไม่ ชัดเจนมากนัก ซึ่งแตกต่างกับ ประสิทธิภาพทางเทคนิคโดยรวมและการเปลี่ยนแปลงค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคของยางพารา พบว่า ช่วงอายุ 20-59 ปี การเปลี่ยนแปลงค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคที่ระดับ (15.14) และช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไป การเปลี่ยนแปลงค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคที่ระดับ (0.00) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคนิคในช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ช่วงอายุ 20-59 ปี แสดงให้เห็นชัดเจนว่าอายุที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ประสิทธิ ภาพการผลิตลดลง เนื่องมาจากยางพารามีเทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามาช่วยผลิตน้อยและเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้ผลผลิตทำให้อายุแรงงานส่งผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตสูง   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bozoglu, M., and Ceyhan, V. 2007. “Measuring technical efficiency and exploring the inefficiency
determinants of vegetable farms in Samsun province, Turkey” Journal of Agricultural Systems 94: 649–656.
Coelli, T. J., D. S. P. Rao., C. J. O’Donnell and G. E. Battese. 2005. An Introduction to Efficiency
and Productivity Analysis. 2nd ed. The United State of American: Springer.
Coelli, T. J., S. Perelman and E. Romano. 1999. “Accounting for Environmental Influences in
Stochastic Frontier Models: With Application to International Airlines.” Journal of Productivity Analysis. 11: 251-273.
Malinga, N.G., M.B. Masuku and M.O. Raufu. 2015. “Comparative analysis of technical
efficiencies of smallholder vegetable farmers with and without credit access in Swazil and case of the HHOHHO region.” International Journal of Sustainable Agricultural Research. 2(4): 133-145.
Mustapha, N. H. N. 2011. “Technical Efficiency for Rubber Smallholders Under RISDA’S
Supervisory System Using Stochastic Frontier Analysis.” Journal of Sustainability Science and Management. 6(1): 156-168.
Poungchompu, S. and S. Chantanop, 2015. “Factor Affecting Technical Efficiency of Smallholder
Rubber Farming in Northeast Thailand.” American Journal of Agricultural and Biological
Sciences. 10(2), 83-90.
ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์. 2554. การประมาณค่าประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของการผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 15(2): 45-68.
กรวิทย์ ตันศรี และสิรีธร จารุธัญลักษณ์. (2556). ความไม่สมดุลของตลาดแรงงานไทย นัยของการขาดแคลน
แรงงาน. ขอนแก่น: ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2557). แรงงานไทยในบริบทใหม่เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์
2559, จาก http://tdri.or.th/tdri-insight/thai-labour-in-aec-context/
เนตินัย พระไตรยะ. (2551). ประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยโดย
วิธีเส้น พรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม. ค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. (2554). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรภาคการเกษตรและผลกระทบ
ต่อความมั่นคงทางอาหารของไทย. ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. ข้อมูลสถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2558. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/download/download_journal/2559/yearbook58 .pdf [21 พฤษภาคม 2559].
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. ข้อมูลสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2558. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.oae.go.th/download/document_tendency/
journalofecon2558.pdf [4 กรกฎาคม 2559].