ศักยภาพการแข่งขันรายกลุ่มสินค้า: กรณีศึกษาการค้าระหว่างไทย สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร

Main Article Content

กวีพจน์ สัตตวัฒนานนท์
สารี วรวิสุทธิ์สารกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพการแข่งขันรายกลุ่มสินค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา และไทยกับสหราชอาณาจักร เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมการค้า การส่งออก และการนำเข้า ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2560 และใช้ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ในการวิเคราะห์ร่วมกับดัชนีความชำนาญทางการค้า (TSI) เพื่อจัดกลุ่มสินค้าในระดับพิกัด 2 หลัก ที่ไทยมีศักยภาพการแข่งขันโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าในระดับต่าง ๆ และสามารถระบุรายการสินค้าที่ไทยมีศักยภาพและรายการสินค้าอ่อนไหวของไทยในตลาดคู่ค้าทั้งสอง ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของไทย และมีบริบทด้านการส่งเสริมให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้าในลำดับต้นของไทยมาโดยตลอด ในขณะที่สหราชอาณาจักรกำลังจะออกจากการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป หรือ Brexit ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สหราชอาณาจักรสามารถเจรจาการค้าเสรีระดับทวิภาคีได้อย่างอิสระ


ผลการศึกษาในกรณีไทยกับสหรัฐอเมริกา พบว่า กลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพสูงสุด ได้แก่ เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู (พิกัด 22) ยางและของทำด้วยยาง (พิกัด 40) ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า (พิกัด 73) และเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบ (พิกัด 85) และสำหรับกรณีไทยกับสหราชอาณาจักร พบว่า กลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพสูงสุด ได้แก่พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก (พิกัด 39) ไม้และของทำด้วยไม้ ถ่านไม้ (พิกัด 44) ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า (พิกัด 73) และเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบ (พิกัด 85) ทั้งนี้ หากมีการเจรจา FTA ระหว่างไทยกับ 2 ประเทศคู่ค้านี้ กลุ่มสินค้าที่ไทยมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบเชิงบวกดังกล่าว ควรได้รับความสำคัญในการพิจารณาเชิงลึกอย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าอย่างเหมาะสม ในขณะที่ภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและกำหนดมาตรการรองรับสำหรับกลุ่มสินค้าอ่อนไหวของไทยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2562). เวทีการเจรจา FTAs. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562, จากhttp://www.dtn.go.th/index.php/forum/ftas.html
กระทรวงพาณิชย์. (2562). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2562, จากhttp://tradereport.moc.go.th/Tradethai.aspx?chk=0
ญามินตา โชคนันทกิจ และธิฏิรัตน์ ทิพรส. (2559). ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏของอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยกับคู่แข่งขันในกลุ่มอาเซียน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 222-234.
ทีมข่าว Breaking News. (2561, 4 เมษายน). ไทย-สหราชอาณาจักรหารือความสัมพันธ์ทางการค้า. Independent News Network. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก
https://www.innnews.co.th/breaking-news/news_53402/
ทีมข่าว News Report. (2562, 15 มีนาคม). สหราชอาณาจักรวางเป้าผู้นำของโลกในด้านการค้าเสรี. สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน (Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy, London). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก http://www.thaitradelondon.com/สหราชอาณาจักรวางเป้าผู/
ทีมข่าวโลกธุรกิจ. (2561, 11 พฤษภาคม). ไทยกล่อมอังกฤษลงทุน EEC - เปิดเขตการค้า FTA. แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก https://www.naewna.com/business/338090
ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2561, 10 เมษายน). พาณิชย์เผยผลการหารือรัฐมนตรีการค้าไทย-สหราชอาณาจักร ให้ความสำคัญการค้าต้องราบรื่นหลัง UK ออกจาก EU. RYT9. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จากhttps://www.ryt9.com/s/beco/2810721
นิโลบล เรืองเต็ม. (2557). ศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดจีน. วารสารวิเทศศึกษา, 4(2), 57-78.
วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์. (2560). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของไทยกับคู่ค้าหลักด้านการส่งออกในสินค้าศักยภาพ. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 6(2), 82-108.
สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน (Office of Commercial Affairs, Royal Thai Embassy, Washington D.C.). (2562,). รายงานวิเคราะห์การค้าไทย-สหรัฐ มกราคม 2562.
สุวพิมพ์ เลี่ยมมินฟุล และรสริน โอสถานันต์กุล. (2556). การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 17(2), 54-70.
Athukorala, P., and Kohpaiboon, A. (2011). Australian-Thai trade: Has the free trade agreement made a difference?. Australian Economic Review, 44(4), 457-467.
Cuyvers, L., Steenkamp, E., Viviers, W., Rossouw, R., & Cameron, M. (2017). Identifying Thailand’s high-potential export opportunities in ASEAN. Journal of International Trade Law and Policy, 16(1), 2-33.
Hui, T., และชินาพัชร์ ราชบริรักษ์. (2557). ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 6(2), 181-198.
International Trade Center. (2019). TRADE MAP. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2562, จากhttps://www.trademap.org/Index.aspx
Jongwanich, J., and Kohpaiboon, A. (2017). Exporter responses to FTA tariff preferences: Evidence from Thailand. Asian-Pacific Economic Literature, 31(1), 21-38.
Kuldilok, K., Dawson, P. J., and Lingard, J. (2013). The export competitiveness of the tuna industry in Thailand. British Food Journal, 115(2-3), 328-341.
Laosutsan, P., Shivakoti, G. P., and Soni, P. (2017). Comparative advantage and export potential of Thai vegetable products following the integration into the ASEAN Economic Community. International Food and Agribusiness Management Review, 20(4), 575-590.
Rozana, N. M., Suntharalingam, C., and Othman, M. F. (2017). Competitiveness of Malaysia's fruits in the global market: Revealed comparative advantage analysis. Malaysian Journal of Mathematical Sciences, 11(S), 143-157.
Suwannarat, P. (2017). Ascertaining the competitiveness of Thai exports to PRC. Competitiveness Review, 27(3), 275-299.