การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรทางเศรษฐกิจกับการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวของตัวแปรทางเศรษฐกิจ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้แก่ GDP ของสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อัตราแลกเปลี่ยน CPI ของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไทย โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลาเริ่มไตรมาส 3 ปี 2540 ถึงไตรมาส 4 ปี 2561 โดยใช้แบบจำลอง Vector Autoregressive (VAR) ร่วมกับวิธีทางเศรษฐมิติ Co-integration, Granger Causality, Impulse Response, Variance Decomposition ผลการวิเคราะห์เชิงดุลยภาพในระยะยาวชี้ให้เห็นว่าตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงดุลภาพในระยะยาวทั้งการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน GDP ของสหรัฐอเมริกา CPI ของไทยและ CPI ของสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากการส่งออกไปญี่ปุ่นมีเพียงอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น ที่ส่งผลต่อการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการวิเคราะห์ Impulse Response พบว่าหากเกิด Shock ของอัตราแลกเปลี่ยน และ CPI ของไทยส่งผลด้านลบต่อการส่งออกกล้วยไม้ไปสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันหากเกิด Shock ของ CPI ของไทยและ CPI ญี่ปุ่น จะส่งผลด้านลบต่อการส่งออกกล้วยไม้ไปญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน การวิเคราะห์ Variance Decomposition พบว่าในระยะยาวความแปรปรวนของคาดเคลื่อนเกิดจากมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐอเมริการ้อยละ 56.43 และร้อยละ 43.57 เกิดจากตัวแปรเศรษฐกิจที่ใช้ร่วมศึกษา ขณะที่การส่งออกไปญี่ปุ่นความแปรปรวนของคาดเคลื่อนเกิดจากมูลค่าการส่งออกร้อยละ 76.81 และร้อยละ 23.19 เกิดจากต้วแปรเศรษฐกิจที่ใช้ร่วมศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช
References
ณมณ ศรหิรัญ. (2563). การวิเคราะห์การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภทพันธะอนุพันธ์. ในเอกสารการสอนชุดวิชา, การวิเคราะห์ตราสารทางการเงินและการจัดการสินเชื่อ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น. 2-6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐชยาพร บุรัสการ. (2548). แนวโน้มปริมาณการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกของประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา (สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันทา เพิ่มรุ่งเรือง. (2552). ศึกษาศักยภาพการส่งออกกล้วยไม้สดของประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่น (สารนิพนธ์ปริญญา เศรษฐตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิมพ์ภัทรา สิทธินนท์ธนา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกกล้วยไม้ของไทยไปประเทศจีน (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร. (2559). แนวคิดทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา, เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น. 1-6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรพงษ์ ชาติวรพงศา. (2550). การวิเคราะห์ศักยภาพการส่งออกกล้วยไม้ของไทยไปประเทศญี่ปุ่น (สารนิพนธ์ปริญญา
เศรษฐตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพร สัจจานันท์. (2556). ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา, ธุรกิจระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น. 3-10,3-16). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริพร แสงงาม. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกของไทย (สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุภาวีร์ แก้วกุล. (2550). ปัจจัยที่กำหนดความต้องการนำเข้ากล้วยไม้จากประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา (สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุกัญญา เชษฐโชติรส. (2545). ศึกษาความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อการส่งออกของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2559). รายได้ประชาชาติและการวัดรายได้ประชาชาติ.ในเอกสารการสอนชุดวิชา, หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). (น. 9-26, 9-33). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมจินต์ สันถวรักษ์. (2559). การค้าและการเงินระหว่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา, หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). (น. 14-4). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมชาย รัตนโกมุท. (2559). ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ (1). ในเอกสารการสอนชุดวิชา, เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น. 2-8, 2-12). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมศรี ศิกษมัต. (2561). การปริวรรตเงินตราต่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา, ธุรกิและการเงินระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 7). (น. 9-39, 9-44). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิญญา วนเศรษฐ. (2553). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงินในระบบเศรษฐกิจปิด. ในประมวลสาระชุดวิชา, เศรษฐศาสตร์การเงินและการจัดการทางการเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น. 8-50, 8-52). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิญญา วนเศรษฐ. (2559). อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินตราต่างประเทศ และระบบการเงินระหว่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา, เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (น.7-20, 7-21). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อมรรัตน์ บุญทอง. (2553). ศักยภาพการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกของประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
B. Gururaj, M. Satishkumar, and M.K. Aravinde Kumar. (2016). Analysis of factors affecting the performance of exports in India. International Journal of Agriculture, Environment and Biotechnology, (IJAEB), 9(4), 613 – 616
Mohammadreza Zare Mehrjerdi, Asiyeh Azizi and Zahra Korooni. (2016). Factors Affecting Pistachio Export Earnings Instability and its Effect on Agricultural Exports. International Journal of Agricultural Management and Development, 6(3): 281-289.
Thitaporn Leelawattanapan and Chukiat Chaiboonsri. (2012). Factors Affecting Thailand Major Agricultural Exports Using Panel Cointegration Method. 4th International Conference on Humanities and Social Sciences. Songkla. Prince of Songkla University.
Özgur Uysal, Abdulakadir Said Mohamoud. (2018). Determinants of Export Performance in East Africa Countries. Chinese Business Review. (Vol. 17, No. 4, pp 168-178).
Joshua Mabeta. (2015). Determinants of Non-Traditional Agricultural Exports Growth in Zambia, A Case of Cotton and Tobacco (A Thesis of the Master of Science Degree in Agricultural and Applied Economics). Kenya: Egerton University