การเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับความเต็มใจที่จะจ่ายค่าตอบแทนส่วนเพิ่มของผู้ประกอบการในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

Pimpavee Maneewong

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ 2) ความเต็มใจที่จะจ่ายค่าตอบแทนของผู้ประกอบการตามการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นแบบชั้นภูมิ และใช้วิธีการสมมุติเหตุการณ์ประเมินค่า โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดสองราคา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ได้แก่  ประเภทธุรกิจ ทุนจดทะเบียน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์การทำงาน ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ด้านภาษีอากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ และ 2) ความเต็มใจที่จะจ่ายค่าตอบแทนของผู้ประกอบการเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 12,590.39  บาทต่อเดือน  ความเต็มใจจะจ่ายค่าตอบแทนเมื่อมีลักษณะงานต่างกันจากการทำงานในหน่วยงานเอกชน 1,552.11 บาทต่อเดือน ความเต็มใจจะจ่ายค่าตอบแทนเมื่อมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นจาก           การขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดทำบัญชี 2,275.18  บาทต่อเดือน และมีความเต็มใจจะจ่ายค่าตอบแทนตามการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีผ่าน ความสามารถปิดบัญชีได้ 2,461.19  บาทต่อเดือน และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ 3,143.24 บาทต่อเดือน


ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาบุคลากรทางวิชาชีพบัญชีด้วยการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ และสะท้อนค่าตอบแทนที่ผู้ประกอบการเต็มใจจ่ายนั้นน้อยกว่าค่าแรงงานขั้นต่ำ เป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจรวมถึงวิกฤติด้านโรคระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา และหน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางในการกำหนดค่าแรงงานตามขอบเขตพื้นที่การศึกษาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Armstrong, M. and Baron, A. (1998). Strategic Human Resource Management: A Guide to Action. United Kingdom: Kogan Page.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

(3) : 607-610.

Dessler, Gary. (2004). A Framework for Human Resource Management. New Jersey: Pearson Education.

El-Farra, M. M., & Badawi, M.B. (2012). Employee Attitudes toward Organizational Change in the Coastal Municipalities Water Utility in

the Gaza Strip. Euro Med Journal of Business, 7(2), 161-184.

Hackman, J.R.; Lawler, Edword E. and Porter, Lyman W. (1977). Perspectives on Behavior in Organizations, New York: McGraw-Hill.

Hackman, J.R. and Oldham, G. R. (1980). Work Redesign. New York: Addison-Wesley.

Hanemann et al. (1991). Contingent Valuation. Handbook of Environmental Economics, V(2) : 881-926.

Marwan, G. & Burcin, K. (2019). Brand Characteristics’ Effects on Yemeni Companies’ Willingness to Pay (WTP) a Price Premium for

Audit Services. IJASOS- International E-Journal of Advances in Social Sciences, V(14) : 878-889.

Michell and Carson. (1989). Using surveys to value public goods the contingent valuation method. Robert Cameron Mitchell Richard T.

Carson Resources for the Future. Parts of the text can be found online.

Mikovich, George, T.; Newman, Jerry M. and Gerhart, B. (2011). Compensation. 10th ed. New York: McGraw-Hill.

Smith, T.E.; Roland, C. C.; Havens, M. D. and Hoyt, j. A. (1992). The Theory and Practice of Challenge Education. Dubuque, IO: Kendall-

Hunt.

กัลยรัศมิ์ ทิณรัตน์. (2559). ผลกระทบของการบริหารค่าตอบแทนที่มีต่อความกระตือรือร้นในการทำงานของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช

มงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 8(2) : 157-165.

จิรเมธ จันทโชติ, จิรัฏฐภัทร ทราฤทธิ์ และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). จากมุมมองการบริหารผลงานการบริหารคนเก่งสู่แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์.

Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12) : 450-465.

ฐณดม ราศีรัตนะ. (2557). ผลกระทบของนโยบายภาครัฐ (เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท) กับการตัดสินใจจ้างพนักงานบัญชีของธุรกิจ SMEsในเขตภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 9(29) : 72-84.

ณฐา ธรเจริญกุล. (2561). สมรรถนะของพนักงานบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงาน กรณีศึกษา สถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม อำเภอเมือง จังหวัด

สมุทรปราการ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1).

พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์ ทวีพร ตรีผอง และวิจิตรรัตน์ บุญทอง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรับรองประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน :

กรณีศึกษา ธุรกิจโรงแรม ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล.

พรทิวา ศฤงคารรัตนะ และดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). การสร้างมูลค่าเพิ่มของนักวิชาชีพบัญชี. สูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ทศพร ณุวงศ์ศรี และกฤตกร นวกิจไพฑูรย์. (2564). ปัจจัยด้านระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานและการบริหารค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติ

งานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัทพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(3) : 151-162.

พิมพ์ ฉัตรเงิน และกุสุมา ดําพิทักษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพและแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชี รัฐวิสาหกิจแห่ง

หนึ่ง, วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2) : 162-171.

พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1) : 493.

รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง. (2556). มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน. เวทีวิชาการ : วิกฤติ P4P “ระดมพลังปัญญาร่วมหาทางออก”

มูลนิธีสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง, 27 พฤษภาคม 2556.

เรณู สุขารมณ์. (2541). วิธีการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินสินค้าที่ไม่ผ่านตลาด. วารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 16(4): 89-117.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566, จาก https://www.tfac.or.th/

สุรารักษ์ สุพัฒนมงคล และวันทนา เนาว์วัน. (2562). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทนิโปร (ประเทศไทย)

จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1) : 17-24.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). สำมะโนอุตสาหกรรม ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2

พฤศจิกายน 2565, จาก http://ittdashboard.nso.go.th/

อาภาพร ผลมี พัฒน์ พัฒนรังสรรค์ และศรีอร สมบูรณ์ทรัพย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างงานแรงงานไร้ทักษะในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานประกอบการ

ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(18) : 35-48.

อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง. (2557). การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานกับวัฒนธรรมการทำงานของคนไทย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 7 (1) :

-38.