ความเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญอื่น

Main Article Content

อภิญญา วนเศรษฐ
รัชนี โตอาจ

บทคัดย่อ

  การศึกษาความเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญอื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญ 2) ศึกษาดุลยภาพระยะยาวและความสัมพันธ์ของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญที่นำมาศึกษา โดยเป็นการศึกษาผ่านการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ 5 ประเทศ ได้แก่ ดัชนีดาวโจนส์ (DJI) ในตลาดนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา ดัชนีนิเกอิ (Nikkei) ในตลาดโตเกียวของญี่ปุ่น ดัชนีฮั่งเส็ง (HSI) ของฮ่องกง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (STI) และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายวันซึ่งเป็นราคาปิดในแต่ละตลาดช่วง มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การทดสอบความนิ่งของข้อมูล (unit root test) การหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวตามวิธี cointegration และการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลตามวิธี causality


             ผลการศึกษาพบว่า 1) การเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่นำมาศึกษาในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวในลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยดัชนีดาวโจนส์และดัชนีนิเกอิสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าดัชนีฮั่งเส็ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ทั้ง 5 ตลาดมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและมีความเชื่อมโยงกัน โดยดัชนีดาวโจนส์มีอิทธิพลสูงสุดต่อทุกตลาดหลักทรัพย์ที่นำมาศึกษา รองลงมา คือ ดัชนีนิเกอิ (Nikkei) และดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามดัชนีฮั่งเส็งไม่มีอิทธิพลต่อตลาดหลักทรัพย์อื่นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาที่ศึกษา สำหรับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ได้รับอิทธิพลจาก 3 ตลาด ได้แก่ ดัชนีดาวโจนส์ ดัชนีนิเกอิ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ตามลำดับ


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cheng, H. and Glascock, J. (2006). Stock Market Linkages Before and After the Asian Financial Crisis: Evidence from Three Greater China

Economic Area Stock Markets and the US. Review of Pacific Basin Financial Markets and Policies. vol. 9, no. 02, pp. 297-315.

Chowdhury, A. R. (1994). Stock market interdependencies: Evidence from the Asian NIEs. Journal of Macroeconomics. vol.16, Issue

, pp.629-651.

Dickey, D.A. and Fuller, W.A. (1979). Distribution of the Estimators for Autoregressive Time Series with A Unit Root. Journal of the

American Statistical Association, vol.74, pp.427–431.

Dickey, D.A. and Fuller, W.A. (1981). Likelihood Ratio Statistics for Autoregressive Time Series with A Unit Root. Econometrica vol.49,

pp.1057–1072.

Grange, C.W. (1969) Investigating Causal Relations by Econometric Model and Cross-spectral Method. Econometrica, vol.37,

pp. 424-438.

Johansen, S. and K. Juselius (1990). Maximum Likelihood Estimation and Inference on Cointegration with Applications to Demand for

Money. Oxford Bulletin of Economics and Statistics. vol.52, pp.169-210.

Palamalai, S.; Kalaivani M. and Devakumar, C. (2013). Stock Market Linkages in Emerging Asia-Pacific Markets. SAGE Open. October-

December, pp. 1-15.

Raj, J. and Dhal, S. (2008). Integration of India’s Stock Market with Global and Major Regional Markets. BIS Papers no. 42, pp. 202-236.

Valadkhani, A. and Chancharat, S. (2008). Dynamic linkages between Thai and international stock markets. Journal of Economic

Studies. September. pp.

Wong, W. et al. (2004). The Relationship between Stock Markets of Major Developed Countries and Asian Emerging Markets. Journal of

Applied Mathematics and Decision Sciences. vol.8, no.4, pp. 201-218.