การทดสอบความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ระหว่างราคาเนื้อไก่ ราคาเนื้อสุกร และราคาเนื้อโค

Main Article Content

พิจิตร เอี่ยมโสภณา
อดิศักดิ์ ลำดวน
วรัญญา สุขสว่าง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ทดสอบความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ระหว่างราคาเนื้อไก่ ราคาเนื้อสุกร และราคาเนื้อโค โดยใช้ข้อมูลราคาเนื้อสัตว์มีชีวิตมาเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นข้อมูลรายไตรมาสของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เราใช้ Augmented Dickey-Fuller Test  และคัดเลือก Vector Autoregression (VAR) มาทดสอบความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อและราคาโคเนื้อขนาดกลางส่งผลกระทบต่อราคาสุกรมีชีวิตผ่านผลทางการทดแทน ในขณะที่ราคาสุกรมีชีวิตไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อและราคาโคเนื้อขนาดกลาง นอกจากนี้ เรายังไม่พบว่าราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อกับราคาโคเนื้อขนาดกลางมีความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ระหว่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akin, A.C., Cevrimli, M.B., Arikan, M.S., and Tekindal, M.A. (2019). Determination of the Causal Relationship Between Beef Prices and the

Consumer Price Index in Turkey. Turkish Journal of Veterinary and Animal Sciences, 43, 353-358.

Breimyer, H.F. (1961). Demand and Prices for Meat: Factors Influencing Their Historical Development. Washington D.C.: U.S.

Department of Agriculture.

MacKinnon, J.G. (1996). Numerical Distribution Functions for Unit Root and Cointegration Tests. Journal of Applied Econometrics, 11(6),

-618.

Zhao, J. (2022). Analysis of the Rise and Fall of Pork Prices and Prediction of the Future Pork Market. Proceedings of the 2022 7th

International Conference on Financial Innovation and Economic Development (ICFIED 2022). Zhengzhou, China: Atlantis Press

International B.V.

กรมปศุสัตว์ และศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2561). ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2561-2565. กรุงเทพมหานคร: กรมปศุสัตว์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ดาลัด วิบูลย์ชัย. (2538). การวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิยม ชื่นนิรันดร์. (2527). การวิเคราะห์อุปสงค์การบริโภคเนื้อสุกรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประสิทธิชัย นรากรณ์ ระพีพรรณ พิริยะกุล และวิไลวรรณ ทองประยูร. (2555). ปัจจัยที่กำหนดอุปทานและอุปสงค์เนื้อสุกรในประเทศไทย. วารสารการจัดการ,

(1), 63-70.

ปิยะวงศ์ ปัญจะเทวคุปต์. (2565). เศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเรื่องหมูแพง. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก

http://www.setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/580

ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์. (2559). เศรษฐมิติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสดา เวษฎาพันธุ์. (2539). การวิเคราะห์แบบจำลองอุปทานและอุปสงค์ไก่เนื้อของไทย. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 17(1), 1-11.

รุ่งรัตน์ สังข์ศร. (2541). การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานโคเนื้อในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.